การพัฒนาแบบประเมินความสามารถในการคิดที่เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนระดับชั้นอนุบาล 3 สหวิทยาเขตเมืองชลบุรี 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรีเขต 1

ผู้แต่ง

  • วาสนา อันทะมา สาขาวิจัยและประเมินทางการศึกษา ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ธนนันท์ ธนารัชตะภูมิ ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • สรียา โชติธรรม ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

ความสามารถในการคิดที่เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้, แบบประเมินความสามารถในการคิดที่เป็นพื้นฐานการเรียนรู้

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อพัฒนาแบบประเมินความสามารถในการคิดที่เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ 2) เพื่อตรวจสอบคุณภาพแบบประเมินความสามารถในการคิดที่เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ 3) เพื่อสร้างเกณฑ์ปกติ (Norms) สำหรับการแปลความหมายคะแนนความสามารถในการคิดที่เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ 4) เพื่อสร้างคู่มือการใช้แบบประเมินความสามารถในการคิดที่เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนระดับชั้นอนุบาล 3 จำนวน 203 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมหน่วยต้นไม้ แบบประเมินความสามารถในการคิดที่เป็นพื้นฐานการเรียนรู้ และแบบสำรวจความพึงพอใจการใช้แบบประเมิน

ผลการวิจัย พบว่า 1) แบบประเมินที่พัฒนาขึ้นมี 3 องค์ประกอบคือ (1) ความสามารถในการคิดรวบยอด (2) ความสามารถในการคิดเชิงเหตผล และ (3) ความสามารถในการคิดแก้ปัญหา และตัดสินใจ 2) คุณภาพของแบบประเมิน มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.60 - 1.00 ค่าอำนาจจำแนก ตั้งแต่ 0.52 - 0.94 ความเที่ยงทั้งฉบับ มีค่า 0.90 3) เกณฑ์ปกติสำหรับแปลความหมายคะแนนแบบประเมิน องค์ประกอบที่ 1  2 และ 3 มีค่าเท่ากับ T30 - T59  T21-T60 และ T30-60 ตามลำดับ และรวมทั้งฉบับมีค่า T22-T64 และ 4) คู่มือประกอบด้วย ได้แก่ บทนำ นิยามความสามารถในการคิดที่เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้  ลักษณะแบบประเมิน  แบบประเมินความสามารถในการคิดที่เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้  วิธีดำเนินการ  การแปลความหมายคะแนน โดยใช้เกณฑ์ปกติ

References

Chaiso, P. (2002). Teaching documents for main subjects and assessing the results of higher education. Department of Education Faculty of Education Kasetsart University. [in Thai]

Issaraphongphao, P. (2016). The development of nature, environment, culture and cherishing thainess love characteristics test for preschool students in pathumthani primary education service area office 2. Master of Education Thesis. Department of Education Faculty of Education Kasetsart University. [in Thai]

Kanchanawasee, S. (2011). Appraisal theory. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House. [in Thai]

Ministry of Education. (2017). Early childhood education program 2017. Bangkok: Printing House Agricultural Cooperative Federation of Thailand. [in Thai]

Permsopa, W. (2020). Development of a scientific mind test for prathomsuksa 6 students under samutsongkharm primary educational service area. Master of Education Thesis. Department of Education Faculty of Education, Kasetsart University. [in Thai]

Rungsiri, S. (2017). The Development of evaluation form for basic skill thai flute performance. Master of Education Thesis. Department of Education, Kasetsart University. [in Thai]

Sukhsawang, S. (2018) 7 Thinking skills. Retrieved from http://www.sasimasuk.com/16761107/7-thinking-skills.

Susaoraj, P. (2013) Thinking development. Bangkok: Printing House Limited Partnership 9119 Technic Printing. [in Thai]

Thammawon, N. (1997). Evaluation of early childhood development. Bangkok: Chulalongkorn University. [in Thai]

Thanonbun, T. (2018). The development of a competency evaluation form for accident emergency professional nurses. Master of Nursing Thesis. Chulalongkorn University. [in Thai]

Yimyoo, R. (2019). Development of a palliative care competency assessment form of professional nurses Tertiary Hospital. Master of Nursing Thesis. Chulalongkorn University. [in Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-12-2023