แนวทางการดำเนินงานห้องสมุดมีชีวิตของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • รุ่งรัตน์ รุ่งเรืองชนบท สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • วรรณวิศา สืบนุสรณ์ คล้ายจำแลง ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • พร้อมพิไล บัวสุวรรณ ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

ห้องสมุดมีชีวิต, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี

บทคัดย่อ

 การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ 1) เพื่อศึกษารูปแบบและวิธีการดำเนินงานห้องสมุดมีชีวิต 2) เพื่อศึกษาปัจจัยความสำเร็จและอุปสรรคของการดำเนินงานของห้องสมุดมีชีวิต และ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางที่ทำให้การดำเนินงานห้องสมุดมีชีวิตประสบความสำเร็จ ใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกที่หลากหลายจากผู้ให้ข้อมูลหลักที่เป็นผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดปทุมธานีจำนวน 12 คน

พบผลการวิจัย 3 ข้อ คือ 1) ห้องสมุดมีชีวิตในพื้นที่ห้องสมุดกลางทั่วไป พื้นที่ในห้องสมุดหมวดวิชา/กลุ่มสาระการเรียนรู้ มุมห้องสมุดในห้องเรียน และ ในพื้นที้อื่น ๆ 2) ครูบรรณารักษ์เป็นปัจจัยความสำเร็จที่ทำให้ห้องสมุดมีชีวิตเป็นพื้นที่การเรียนรู้นอกห้องเรียน ในขณะที่การขาดแคลนทรัพยากรสารสนเทศเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงานที่สำคัญที่ทำให้การดำเนินงานของห้องสมุดในบางสถานศึกษาไม่ประสบความสำเร็จ และ 3) แนวทางการดำเนินงานห้องสมุดมีชีวิต มี 6 ประการ คือ 1) ผู้บริหารควรสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน 2) คุณภาพการให้บริการของครูบรรณารักษ์ 3) ครูผู้สอนส่งเสริมนักเรียนให้รักการอ่าน 4) นักเรียนมีความใฝ่รู้ 5) ห้องสมุดมีกิจกรรมที่ดึงดูดความสนใจของนักเรียน 6) การสร้างเครือข่ายระหว่างโรงเรียนที่มีห้องสมุดมีชีวิต

References

Bureau of Academic Affairs and Educational Standards. (2005). School library manifesto: The school library in teaching and learning for all. Bangkok: UNESCO. [in Thai]

Chavalit, M. (1997). Guideline for the development of library services for academic journals. Bangkok: Thai Library Association (TLA). [in Thai]

Kongsin, W. (2019). Managing the library in the new era. Bangkok :S.R. Printing Mass Production. [in Thai]

Laping, W., Yawiratcha, P., & Toonkao, S. (2021). The administration of learning resources based on the King’s Philosophy of Rajaprajanugroh School 15 (Wiangkaosaenpuwittayaprasat). Journal of Education Academic Chiang Rai Rajabhat University, 5(1), 1-12. [in Thai]

Leenaraj, B. (2017). Digital literacy skill for developing learning quality. T.L.A. Bulletin, 61(2), 76-92. [in Thai]

Neumyu, T. (2019). The library in the new context. Bangkok: Thai Library Association (TLA). [in Thai]

Office of the Basic Education Commission. (2018). The library standards and indicators for improving school libraries under the Office of the Basic Education Commission. Bangkok: OBEC. [in Thai]

Panlynark, K. (2019). The work operation of school library. Bangkok: Suweeriyasarn.

Satjanan, C., & Phomaphan, B. (2010). Research monitoring, project evaluation and the living library contests. (2nd ed.). Bangkok: TK Park. [in Thai]

Tanaphon, S. (2007). The new dimensions of managing and operating the library based on the user-centered approach. T.L.A. Bulletin, 51(1), 40-48. [in Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-12-2023