สภาพปัญหาและข้อเสนอแนะการแก้ไขปัญหาการออกกลางคันของนักเรียนสาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยการอาชีพห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • รจนา เอกวงษา สาขาวิชาบริหารธุรกิจศึกษา ภาควิชาอาชีวศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • เมธินี วงศ์วานิช รัมภกาภรณ์ สาขาวิชาบริหารธุรกิจศึกษา ภาควิชาอาชีวศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • วิกร ตัณฑวุฑโฒ สาขาวิชาการศึกษานอกระบบเพื่อพัฒนาสังคม ภาควิชาอาชีวศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

ปัญหา, การออกกลางคัน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการออกกลางคันของนักเรียนสาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยการอาชีพห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ และข้อเสนอแนะการแก้ไขปัญหาการออกกลางคันของนักเรียนสาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยการอาชีพห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนประจำสาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ นักเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจที่ออกกลางคันและกำลังศึกษา ปีการศึกษา 2558 จำนวน 90 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานประชากรผลการการวิจัยพบว่า

1. สภาพปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการออกกลางคันของนักเรียนสาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยการอาชีพห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอน ความคิดเห็นของนักเรียนที่ออกกลางคัน และความคิดเห็นของนักเรียนปัจจุบัน ภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง

2. ข้อเสนอแนะการแก้ไขปัญหาการออกกลางคันของนักเรียนสาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยการอาชีพห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ มีดังนี้ 1) วิทยาลัยการอาชีพห้วยผึ้ง ควรนำข้อมูลสภาพปัญหาการออกกลางคัน มาพิจารณา และกำหนดแนวนโยบายที่ชัดเจนในการรับนักเรียน โดยนำข้อมูลการออกกลางคันมาพิจารณาควบคู่ไปกับแนวทางการจัดการเรียนการสอน หรือการจัดสรรงบประมาณเพื่อนำมาพัฒนาสถานศึกษา ให้มีความพร้อมในการผลิตนักเรียน 2) ครูผู้สอน ควรพัฒนาระบบการเรียนการสอน หรือวิธีการสอนแบบใหม่ๆ โดยใช้หลักจิตวิทยาในการสอนให้สอดคล้องกับความแตกต่างระหว่างบุคคล อาจารย์ควรให้ความสนใจและ เอาใจใส่ต่อตัวนักเรียนอย่างจริงจัง เข้าใจถึงนักเรียนให้มากขึ้น 3) นักเรียนควรพิจารณาถึงความสามารถของตนเองว่าตนมีความถนัดในเรื่องใด เมื่อมีปัญหาในการเรียนก็ควรปรึกษากับผู้ปกครอง หรือครูที่ปรึกษา และควรให้ความสำคัญแก่สังคมภายนอก รวมถึงการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่วิทยาลัยจัดขึ้น เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ในหมู่คณะนักเรียนด้วยกัน สำคัญที่สุดคือต้องเอาใจใส่ในการเรียนไม่ขาดเรียนมากเกินความจำเป็น

 

Downloads