โมเดลระบบการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การทำนาข้าวสำหรับยุวเกษตรกร ในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • เนติรัฐ วีระนาคินทร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
  • ทรงเกียรติ ซาตัน สาขาวิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
  • อรวรรณ รักสงฆ์ สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
  • มานิตย์ อาษานอก สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • พงษ์พิพัฒน์ สายทอง สาขาวิชาสื่อนฤมิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ศาสตรา มุลวิไล แผนกเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

โมเดลระบบการเรียนอิเล็กทรอนิกส์, การทำนาข้าว, ยุวเกษตรกรในประเทศไทย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายของการวิจัยเพื่อศึกษาและพัฒนาโมเดลระบบการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ เรื่องการทำนาข้าว สำหรับยุวเกษตรกรในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำแนกตามระยะการวิจัย ดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาความต้องการรูปแบบและเนื้อหาของระบบการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ เรื่องการทำนาข้าว ของยุวเกษตรกรในประเทศไทย โดยการแจกแบบสอบถาม ยุวเกษตรกรในประเทศไทย จำนวน 400 คน และสัมภาษณ์ชาวนาที่ประสบความสำเร็จจำนวน 8 คน ระยะที่ 2 การพัฒนาโมเดล โดยการสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความครอบคลุมองค์ประกอบของระบบ จากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 15 คน นำข้อมูลจากระยะที่ 1 และ 2 มาวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสร้างโมเดลตามหลักการจัดระบบทางการศึกษา ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ โมเดลระบบการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ เรื่องการทำนาข้าว สำหรับ ยุวเกษตรกรในประเทศไทย ประกอบด้วย บริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการดำเนินการผลลัพธ์ และข้อมูลป้อนกลับ ซึ่งแต่ละส่วนมีองค์ประกอบและความสัมพันธ์กัน ดังนี้ บริบท ได้แก่ 1) การวิเคราะห์ผู้เรียน 2) การวิเคราะห์ผู้สอน 3) การวิเคราะห์การเรียนอิเล็กทรอนิกส์รูปแบบการศึกษาตามอัธยาศัย ปัจจัยนำเข้า มี 3 ปัจจัย ได้แก่ 1) กำหนดปรัชญา วิสัยทัศน์ 2) พัฒนาหลักสูตรผลิตโปรแกรมบทเรียน 3) การถ่ายทอดความรู้ 3) พัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้ (LMS) กระบวนการดำเนินการ มี 4 กระบวนการ ได้แก่ 1) การ ผลลัพธ์ คือ คุณลักษณะของยุวเกษตรกรที่พึงประสงค์ 3 ด้าน ได้แก่ พุทธิพิสัย ทักษะพิสัย จิตพิสัย และระบบข้อมูลป้อนกลับ 1 ระบบ คือ ระบบการประกันคุณภาพ

ระยะที่ 3 ประเมินโมเดลโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ผลการวิจัยพบว่า โมเดลมีองค์ประกอบที่ครอบคลุมครบถ้วน ระบบมีความเหมาะสมและมีความสอดคล้องกัน โมเดลมีความคุ้มค่า เป็นประโยชน์และตอบสนองความต้องการของชุมชนเกษตรในประเทศไทย

 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-31