การศึกษาความเหมาะสมของการนำแบบทดสอบ Naglieri Nonverbal Ability Test: Second Edition (NNAT2) มาใช้กับคนไทย

ผู้แต่ง

  • ดารณี อุทัยรัตนกิจ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ผกามาศ นันทจีวรวัฒน์ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • อรปวีณ์ เอื้อนิรันดร์ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการจัดการศึกษาพิเศษ “คุณพุ่ม” คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • สมพร หวานเสร็จ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  • ปนัดดา วงศ์จันตา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

คำสำคัญ:

แบบทดสอบ NNAT2, ความบกพร่องทางการเรียนรู้, ภาวะออทิซึมสเปกตรัม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเหมาะสมของการนำแบบสอบสติปัญญาที่ไม่ใช้ภาษาของ Naglieri (Naglieri Nonverbal Ability Test : Second edition (NNAT2)) มาใช้กับนักเรียนไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 1,237 คน จากการสุ่มให้เป็นตัวแทนของนักเรียนในจังหวัดกรุงเทพมหานคร และจังหวัดขอนแก่น นักเรียนได้รับการทดสอบด้วยแบบสอบ NNAT2 ด้วยกระบวนการบริหารการสอบตามมาตรฐานของ NNAT2แปลผลตามเกณฑ์ปกติของ NNAT2 และตรวจสอบความเหมาะสมของการใช้ NNAT2 ผลการวิจัยพบว่า แบบสอบ NNAT2 มีความเที่ยงและความตรงในระดับพอเพียง กลุ่มตัวอย่างนักเรียนไทยได้คะแนนมาตรฐาน NAI เฉลี่ยสูงกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างมาตรฐานเล็กน้อย และมีการแจกแจงของคะแนนไม่ปกติ แบบสอบ NNAT2 มีความเหมาะสมในการนำมาใช้ประเมินความสามารถทางสติปัญญาของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้และนักเรียนที่มีภาวะออทิซึมที่มีความสามารถสูง คะแนนที่ได้สอดคล้องกับความบกพร่องของรายบุคคล การแปลคะแนนมาตรฐานของคนไทยตามเกณฑ์ปกติของคนอเมริกันยังต้องทำการศึกษาซ้ำเพื่อดูความคงเส้นคงวาของคะแนนต่อไป

 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-31