การบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศในหลักสูตรประถมศึกษา: กรณีศึกษาโรงเรียนวัดม่วง สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
การพัฒนาหลักสูตรบูรณาการ, เทคโนโลยีสารสนเทศบทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินคุณภาพหลักสูตรบูรณาการโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นฐาน ระดับประถมศึกษาของโรงเรียนวัดม่วง สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร การดำเนินงานแบ่งเป็น ขั้นการพัฒนาและขั้นการประเมินคุณภาพหลักสูตร ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย มี 2 ชุด ขุดแรก คือ กลุ่มประชากรโรงเรียนวัดม่วง ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 10 คน และคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตร จำนวน 31 คน ชุดที่สอง คือกลุ่มตัวอย่างผู้เขี่ยวชาญ 8 คนที่ได้รับการสุ่มแบบง่าย จากศึกษานิเทศก์ 8 กลุ่มสาระฯ สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ความต้องการพัฒนาหลักสูตรบูรณาการฯ แบบประเมินคุณภาพหลักหลักสูตรบูรณาการฯ และ แบบสัมภาษณ์ปลายเปิด การ
วิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่า S.D. และการเขียนเรียบเรียงเชิงพรรณนา
ผลการวิจัย พบว่า 1) กลุ่มประชากรโรงเรียนวัดม่วง มีความต้องการการพัฒนาหลักสูตรบูรณาการฯ ในระดับมาก ( 4.19 ) ผู้บริหารและครูผู้สอนมีความคิดเห็นสอดคล้องกันถึงความสำคัญจำเป็นในการพัฒนา หลักสูตรบูรณาการฯ 2) หลักสูตรบูรณาการ ฯ โรงเรียนวัดม่วงมีรูปแบบการบูรณาการแบบสอดแทรกและคู่ขนาน และมีโครงสร้างหลักสูตรเป็นแบบแยกส่วน 8 กลุ่มสาระฯ ที่มีการบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศในทุกรายวิชาของทุกกลุ่มสาระฯ แทนการมีรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คำอธิบายรายวิชาของทุกหลักสูตร จำนวน 48 รายวิชา ได้รับการปรับปรุง โดยใช้แนวคิดของโมเดล SAMR สำหรับการบูรณาการไอซีที ระดับที่ 1 และ 2 (ขั้นต่อยอดและแทนที่) ในชั้นประถมศึกษาตอนต้น และบูรณาการ ระดับที่ 3 และ 4 (ขั้นดัดแปลงและจำกัดความใหม่) ในชั้นประถมศึกษาตอนปลาย แผนหน่วยการเรียนทั้งหมดจำนวน 693 แผน ได้รับการปรับจุดประสงค์ กิจกรรมการเรียนการสอนและการประเมิน ตามแนวคิดของโมเดล TPACK ที่ผนวก 3 กลุ่มความรู้เข้าด้วยกัน คือ เนื้อหา (CK) เทคนิควิธีสอน (PK) และ เทคโนโลยี (TK) คลังแหล่งทรัพยากรการศึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศได้รับการพัฒนาขึ้นสำหรับแผนหน่วยการเรียนรู้ทั้งหมด และนำเสนอในรูปแบบเว็บบล็อกไว้ที่ URL: http://ictwatmueng.blogspot.com 3) ผลการประเมินคุณภาพหลักสูตรบูรณาการ ของกลุ่มตัวอย่างผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในระดับดี คิดเป็นค่าเฉลี่ย 4.20 และ 4.18 ตามลำดับ
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ (Kasetsart Educational Review)