กระบวนการพัฒนาอาจารย์ผู้สอนในการทําวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน

ผู้แต่ง

  • ชาตรี ฝ่ายคําตา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน, อาจารย์ผู้สอน, อุดมศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาอาจารย์ในการทำวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนและนวัตกรรมการเรียนการสอน ผลของการใช้แนวทางการพัฒนาอาจารย์ในการทำวิจัยและปัจจัยที่สนับสนุนหรือเป็นอุปสรรคในการพัฒนาอาจารย์ในการทำวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนและนวัตกรรมการเรียนการสอน โดยใช้รูปแบบการวิจัย คือ การวิจัยปฏิบัติการแบบร่วมมือ (Collaborative Action Research) เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ การสังเกตการอภิปรายกลุ่ม การบันทึกภาคสนามของผู้วิจัย แบบสอบถาม และแบบบันทึกการวิเคราะห์รายงานการวิจัยของผู้เข้าร่วมโครงการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์แบบอุปนัย โดยอ่านข้อมูล แปลความหมาย จัดกลุ่ม และสรุปประเด็น ผลการวิจัยพบว่าแนวทางการพัฒนาอาจารย์ในการทำวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนได้แก่ 1) การทำงานร่วมกันระหว่างผู้บริหาร ผู้วิจัยและผู้เข้าร่วมโครงการ 2) การส่งเสริมให้อาจารย์ได้ทำงานร่วมกันเพื่อแลกเปลี่ยนความเข้าใจเกี่ยวกับการวิจัยปฏิบัติการ 3) การติดตามการดำเนินการเป็นระยะ 4) การใช้สื่ออนไลน์ในการติดต่อสื่อสาร และ 5) การให้ทุนสนับสนุนการวิจัยจากคณะศึกษาศาสตร์ ทั้งนี้พบว่าเมื่ออาจารย์ผู้สอนเข้าร่วมโครงการทำให้อาจารย์ผู้สอนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนมากขึ้น ส่วนใหญ่เข้าใจว่าการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเป็นการหาความรู้เพื่อใช้แก้ไขและพัฒนาการเรียนการสอน โดยเกิดขึ้นขณะปฏิบัติการสอน อาจารย์ผู้สอนมองเห็นคุณค่าของการวิจัยมากขึ้น และมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมของโครงการ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-10-2020