การจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมวิธีการคิดเชิงระบบด้วยเครื่องมือเพื่อการเรียนรู้ของ Microsoft Office 365
Main Article Content
บทคัดย่อ
ในยุคสังคมแห่งเทคโนโลยีดิจิทัลการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เกิดทักษะความคิดในการสร้างสรรค์นวัตกรรมเป็นโจทย์สำคัญในภาคการศึกษา การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนจึงเป็นการจัดเพื่อให้เกิดการพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อผู้เรียนเอง จากการบูรณาการด้วยสาระที่หลากหลาย และสามารถเชื่อมโยงกับบริบทชีวิตในปัจจุบันตามความถนัดของผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะที่สามารถพัฒนาตนเองเป็นนวัตกร การสร้างผู้เรียนดังกล่าวมีความจำเป็นให้ผู้เรียนทราบถึงกระบวนการคิดเชิงระบบ (Systems thinking) ที่เป็นกระบวนการเริ่มต้น มาพัฒนารูปแบบต่างๆ ในการเรียนรู้ สร้างข้อสรุป ความรู้และเก็บสะสมความรู้นั้นไว้ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการเรียนรู้ปัญหา เปรียบเทียบตัดสินใจในการค้นหาวิธีการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสมตามสถานการณ์ที่พบเจอ การฝึกให้ผู้เรียนเป็นนักคิดที่สามารถใช้วิธีการคิดเชิงระบบได้นั้น ผู้สอนจำเป็นต้องทำความเข้าใจในเนื้อหาในเป้าหมายการศึกษา และตัวตนของผู้เรียนให้ท่องแท้ เพื่อที่สามารถสร้างกรอบในการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมวิธีการคิดเชิงระบบ และเลือกใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับผู้เรียน ในบทความนี้เป็นการศึกษาเพื่อเสนอวิธีนำเครื่องมือเพื่อการเรียนรู้ของ Microsoft Office 365 มาใช้สนับสนุนการจัดการเรียนรู้และเพื่อส่งเสริมวิธีการคิดเชิงระบบตามบริบทความต้องการที่อ้างอิงสถานการณ์นั้นๆ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Journal of Information and Learning ดำเนินการโดยสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ โดยเจ้าของลิขสิทธิ์จะมีสิทธิในการทำซ้ำ ดัดแปลง และเผยแพร่งานบทความ ทั้งรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ การทำฉบับสำเนา การแปล และการผลิตซ้ำในรูปแบบต่างๆ ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนและสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตีพิมพ์ตามความเหมาะสม รวมทั้งการตรวจทานแก้ไข การปรับข้อความ หรือขัดเกลาภาษาให้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด สำหรับผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เขียน
References
Chidmanongkon, R., & Chidmanongkon, S. (2017). Systems thinking, teaching for improving systems thinking. Journal of Education Studies, 45(2), 209-224.
Elmansy, R. (2016). What does the systems thinking teach us about the problems of problem-solving practice. Retrieved from https://www.designorate.com/systems-thinking-problem-solving-practice
Goodman, M. (1997). System thinking: What, why, when, where and how. THE SYSTEMS THINKER, 8(2), 6-7. Retrieved from https://www.appliedsystemsthinking.com/supporting_documents/Intro4WsandHow.pdf
Goodman, M., & Karash, R. (1995). Six steps to thinking systemically.THE SYSTEM THINKER, 6(2), 16-18.
Judharasaka, M. (2013). Systematic thinking: How to apply in instructional. Nonthaburi: khrōngkān sawatdikān wichākān Sathāban Phrabō̜rommarātchanok.
Karash, R. (1995). How to see “Structure”. Retrieved from https://thesystemsthinker.com/how-to-see-structure
Kongmanus, K. (2018). Digital learning tools: ways of digital education era. Journal of Education Naresuan University, 20(4), 279-289.
Langworthy, M., & Neufeld, P. (2017). Futures challenge, and 21C learning design fresno personalized learning initiative: Year 1 Report. Retrieved from http://edudownloads.azureedge.net/msdownloads/Fresno_PLI_Analytics_Report_Year_1_2017.pdf
Microsoft. (2019). Education help center. Retrieved from https://support.office.com/th-th/education?omkt=th-TH
Na-Songkhla, J. (2018). Digital learning design. Bangkok: The Publishing of Chularongkorn University.
National Strategy Secretariat Office. (2018). National strategy 2018-2037 (Summary). Retrieved from https://www.nesdb.go.th/download/document/SAC/NS_SumPlanOct2018.pdf
O'Connor, J., & McDermott, I. (2001). Huačhai nak khit=The art of systems thinking (W. Makasiranon & N. Ketmaris, Trans.). Bangkok: Exper Net Books.
Office of Knowledge Management and Development (Public Organization). (2017). Shine opportunities from learning. Retrieved from http://www.okmd.or.th/okmd-opportunity/FutureLearningPlatform/817
Phothong, W., & Yamkasikorn, M. (2016). Systems thinking: Operation part. Journal of Research and Curriculam Developmemt, 5(1), 1-14.
Reyna, J., & Meier, P. (2018). Learner-Generated Digital Media (LGDM) as an assessment tool in tertiary science education: A review of literature. IAFOR Journal of Education, 6(3), 93-109.
Senge, P. (2018). Creating the world anew. Retrieved from https://thesystemsthinker.com/creating-the-world-anew
Tisana, K., Kanjanavasri, S., Dachakupt, P., Withayasirinun, S., Chawakirtipoon, N., & Theeranuruk, P. (2001). Thinking methodology. Bangkok: The Master Group Management.
Warasilchai, L. (2017). Personalized learning: Solution of education. Retrieved from http://ifit.bu.ac.th/2018/personalized-learning-การศึกษาที่มีทางออก
Yamkasikorn, M. (2003). The development of system thinking instructional model for Ungraduated Student in Educational Technology Program (Doctoral thesis), Srinakarin viroj University, Bangkok.
Yamwagee, N. (2015). Instructional management in digital era. Retrieved from https://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=43633&Key=hotnews