กรอบแนวคิดการออกแบบสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมบนเครือข่ายตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ เรื่อง การสร้างแอนิเมชัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

จีรนันท์ สุสิงห์
สุมาลี ชัยเจริญ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์กรอบแนวคิดทฤษฎีการออกแบบสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมบนเครือข่ายตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ เรื่อง การสร้างแอนิเมชัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนนารีนุกูล ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 40 คน และผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบกรอบแนวคิดทฤษฎีการออกแบบสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ฯ จำนวน 7 คน รูปแบบการวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเอกสาร และการวิจัยเชิงสำรวจ มีขั้นตอน ดังนี้ 1) ศึกษาหลักการทฤษฎี 2) การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง 3) ศึกษาบริบทที่เกี่ยวข้อง 4) สังเคราะห์กรอบแนวคิดทฤษฎี และกรอบแนวคิดการออกแบบสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ฯ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสำรวจความคิดเห็นของผู้เรียน แบบบันทึกการสังเคราะห์กรอบแนวคิดเชิงทฤษฎี แบบบันทึกการสังเคราะห์กรอบแนวคิดการออกแบบ แบบประเมินสำหรับผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการสรุป ตีความ และบรรยายเชิงวิเคราะห์


ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีมีพื้นฐานเชิงทฤษฎีที่สำคัญ 5 พื้นฐาน ดังนี้ 1) พื้นฐานจิตวิทยาการเรียนรู้ 2) พื้นฐานศาสตร์การสอน 3) พื้นฐานบริบท 4) พื้นฐานการคิดสร้างสรรค์ 5) พื้นฐานทฤษฎีสื่อและเทคโนโลยี และกรอบแนวคิดการออกแบบ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน 1) การกระตุ้นโครงสร้างทางปัญญาและการคิดสร้างสรรค์ 2) การสนับสนุนการปรับสมดุลทางปัญญา 3) การส่งเสริมการสร้างความรู้และการคิดสร้างสรรค์ 4) การช่วยเหลือการสร้างความรู้ และสังเคราะห์เป็นองค์ประกอบของสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ฯ ที่ประกอบด้วย 1) สถานการณ์ปัญหา 2) แหล่งการเรียนรู้ 3) ห้องเครื่องมือทางปัญญา 4) ห้องแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 5) ห้องส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ 6) ฐานการช่วยเหลือ 7) การโค้ช

Article Details

How to Cite
สุสิงห์ จ., & ชัยเจริญ ส. (2020). กรอบแนวคิดการออกแบบสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมบนเครือข่ายตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ เรื่อง การสร้างแอนิเมชัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. Journal of Information and Learning [JIL], 31(2), 1–9. https://doi.org/10.14456/jil.2020.1
บท
บทความวิจัย

References

Brown, J. S., Collins, A., & Duguid, P. (1989). Situated cognition and the culture of learning. Educational Researcher, 18(1), 32–42.

Chaijaroen, S. (2014). Kānʻō̜kbǣp kānsō̜n: Lakkān thritsadī sū kān patibat [Instructional design: Principles and theories to practices]. Khon Kaen: Anna offset.

Guilford, J. P. (1967). The nature of human intelligence. New York: McGrawHill.

Hannafin, M. J. (1999). Open learning environments: Foundations, methods, and models. In Charles M. Reigeluth (Ed). Instructional design theories and models: A new paradigm of instructional theory: Volume II. London: Lowrence Erbaum Associate.

Hemklang, P., & Chaijaroen, S. (2017). Synthesis of designing framework of web-based learning environment to enhance learner’s analytical thinking of students on the structure of our earth for grade VIII students. Humanity and Social Science Journal, Ubon Ratchathani University, 8(2), 1-18.

Herrington, J. & Oliver, R. (1995). Critical characteristics of situated learning: Implications for the instructional design of multimedia. In J. Pearce & A. Ellis (Eds.), Learning with technology (pp. 235-262). Parkville, Vic: University of Melbourne.

Herrington, J., & Oliver, R. (1999). Using situated learning and multimedia to investigate higher-order thinking. Journal of Interactive Learning Research, 10(1), 3-24.

Herrington, J., & Oliver, R. (2000). An instructional design framework for authentic learning environments. Educational Technology Research and Development, 48(3), 23-48.

Klausmeier, H. J. (1985). Educational Phychology (5th ed.). New York: Harper & Row.

Maneeratan, A., & Chaijaroen, S. (2016). Designing the framework of constructivist web-based learning environment to enhance the analytical thinking. Academic Services Journal, Prince of Songkla University, 27(1), 1-8.

Mayer, R. E. (1996). Designing instruction for constructivist learning. instructional design theories and models: A new paradigm of instructional Ministry of Education Thailand. (2006). Rāingān phon kānwičhai tittām phon khō̜ng kanpatirū kānrīanrū tāmpha ra rāt banyat kānsưksā hǣng chāt 1999 [The research report follows up the results of learning reform according to National Education Act 1999]. Bangkok: Office of the Education Council, Ministry of Education Thailand.

Office for National Education Standards and Quality Assessment. (2012). Khūmư̄ kānpramœ̄n khunnaphāp phāinō̜k rō̜p sām (2011-2015) radap ʻudomsưksā chabap sathān sưksā kǣkhai phœ̄mtœ̄m November 2011 [Third round external quality assessment guide (2011-2015) Higher education School edition Amended November 2011]. Bangkok: Office for National Education Standards and Quality Assessment.

Office of the Education Council. (2016). Saphāwa kānsưksā Thai pī 2014/2015 “čha patirūp kānsưksā Thai hai than lōk nai satawat thī yīsipʻet dai yāngrai” [Thai Education Conditions 2014/2015 “To reform Thai education to how to catch up with the world in the 21st century?”]. Bangkok: Pimdee Karnpim.

Piaget, J. (1964). Part I: Cognitive development in children: Piaget development and learning. Journal of Research in Science Teaching, 2, 176–186.

Techapornpong, O., & Chaijaroen, S. (2017). Framework of constructivist web-based learning environment model to enhance creative thinking: Integration pedagogy and neuroscience. Academic Services Journal, Prince of Songkla University, 28(1), 118-129.

Vygotsky, L.S. (1978). Mind in Society. Cambridge MA: Harvard University Press.