ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อรูปแบบในชุดบทเรียนออนไลน์เรื่องการเรียนรู้การออกเสียงสัทอักษรภาษาจีน (พินอิน) บนคลังบทเรียน JFK Online Course

Main Article Content

ทิพาวรรณ ศิลวัฒนานุสานติ์
นารีรัตน์ วัฒนเวฬุ
ปิยวรรณ ปิยะกาญจน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อรูปแบบในชุดบทเรียนออนไลน์เรื่องการเรียนรู้และการออกเสียงสัทอักษรภาษาจีน (พินอิน) ได้แก่ ชุดบทเรียนสระเดี่ยวและพยัญชนะ ชุดบทเรียนสระประสมและสระพิเศษ และชุดบทเรียนสระเสียงนาสิก ที่จัดเก็บในคลังบทเรียน JFK Online Course การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ผู้ใช้ข้อมูลในการวิจัยได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และผู้สนใจ ปีการศึกษา 2/2560 จำนวน 93 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบในชุดบทเรียนออนไลน์เรื่องการเรียนรู้และการออกเสียงสัทอักษรภาษาจีน (พินอิน) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบบทเรียนทั้ง 3 ชุดบทเรียน ในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก ชุดบทเรียนที่มีความพึงพอใจเฉลี่ยสูงสุด คือ สระเดี่ยวและพยัญชนะ รองลงมาคือ สระประสมและสระพิเศษ และสระเสียงนาสิก และมีความพึงพอใจมากที่สุดในองค์ประกอบหลัก 5 ด้านของรูปแบบบทเรียน ได้แก่ 1) ด้านผลการเรียนรู้ 2) ด้านการออกแบบโครงสร้างเนื้อหา 3) ด้านการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ 4) ด้านรูปแบบสื่อการเรียนการสอน และ 5) ด้านการนำไปใช้

Article Details

How to Cite
ศิลวัฒนานุสานติ์ ท., วัฒนเวฬุ น., & ปิยะกาญจน์ ป. (2020). ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อรูปแบบในชุดบทเรียนออนไลน์เรื่องการเรียนรู้การออกเสียงสัทอักษรภาษาจีน (พินอิน) บนคลังบทเรียน JFK Online Course. Journal of Information and Learning, 31(2), 37–44. https://doi.org/10.14456/jil.2020.5
บท
บทความวิจัย

References

Chacon-Beltran, R. (2017). The role of MOOCs in the learning of languages: Lessons from a beginners’ English course. Porta Linguarum, 28, 23-35.

Google Open Online Education. (2019). Course Builder 1.10. Retrieved from https://edu.google.com/openonline/course-builder/docs/1.10/index.html

Manning, C., Morrison, B. R., & McIlroy, T. (2014). MOOCs in language education and professional teacher development: Possibilities and potential. Studies in Self-Access Learning Journal, 5(3), 294-308.

Motzo, A., & Proudfoot, A. (2017). MOOCs for language learning–opportunities and challenges: the case of the Open University Italian Beginners’ MOOCs. In Q. Kan & S. Bax (Eds), Beyond the language classroom: researching MOOCs and other innovations (pp. 85-97). Research-publishing.net. Retrieved from https://doi.org/10.14705/rpnet.2017.mooc2016.673

Phanphinit, S. (2011). Research techniques in social science (2nd ed.). Bangkok: Witthayaphat.

Phrarātchabanyat kānsưksā hǣng chāt 2542 [National education act 1999]. (1999). Retrieved from https://person.mwit.ac.th/01-Statutes/NationalEducation.pdf

Prakāsok ra sūang sưksāthikān rư̄ang lakkēn kān khō̜ poēt læ damnoēnkān laksūt radap parinyā nai rabop kānsưksā thāng klai [Announcement of the Ministry of Education on criteria for opening and executing degree courses in the distance education system]. (2005). Retrieved from http://www.education.mju.ac.th/fileDownload/50.pdf

Silanoy, L., Tungkasamit, A., & Silanoy, O. (2007). The effect of e-learning use on 5 year program sutudents in teacher and esarn society course. KKU Research Journal, 12(1), 90-98.

Theeraroungchaisri, A. (2007). MOOC kap ʻanākhot kānsưksā Thai nai yuk dičhithan [MOOC with the future of Thai education in the digital age]. Retrieved from https://www.nectec.or.th/ace2016/pdf/session7_01Anuchai.pdf

Wipawin, N., & Wittayawuttikul, R. (2014). Massive open online course (MOOC) with the challenges of the university library. TLA Research Journal, 7(1) 78-89.

Yuan, L. & Powell, S. (2013). MOOCs and open education: Implications for higher education (A white paper). JISC Centre for Educational Technology & Interoperability Standards (CETIS). Retrieved from https://publications.cetis.org.uk/wp-content/uploads/2013/03/MOOCs-and-Open-Education.pdf