ผลการใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่านออกเสียงพยัญชนะภาษาอาหรับของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

รุสดี แวนาแซ
วิชัย นภาพงศ์
โอภาส เกาไศยาภรณ์
อิบรอเฮม เต๊ะแห

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบทเรียนเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม เรื่อง การอ่านออกเสียงพยัญชนะภาษาอาหรับของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนระหว่างกลุ่มควบคุมกับกลุ่มทดลอง เพื่อศึกษาคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ของกลุ่มทดลอง และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 60 คน ซึ่งแบ่งเป็น 2 กลุ่ม 1) กลุ่มทดลอง 30 คน 2) กลุ่มควบคุม 30 คน แบ่งกลุ่มโดยพิจารณาจากคะแนนระหว่างเรียนวิชาภาษาอาหรับ โดยวิธีสุ่มอย่างง่ายด้วยวิธีการจับฉลาก


ผลการวิจัยพบว่า บทเรียนเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่านออกเสียงพยัญชนะภาษาอาหรับได้พัฒนาออกมา 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านเนื้อหา เรื่อง การอ่านออกเสียงพยัญชนะภาษาอาหรับ 2) ด้านสื่อการเรียนการสอน คือ เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม 3) ด้านแผนการจัดการเรียนรู้ ซึ่งมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ของกลุ่มทดลอง พบว่า คะแนนเพิ่มขึ้นร้อยละ 70 และความพึงพอใจของผู้เรียนต่อบทเรียนเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด

Article Details

How to Cite
แวนาแซ ร., นภาพงศ์ ว., เกาไศยาภรณ์ โ., & เต๊ะแห อ. (2020). ผลการใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่านออกเสียงพยัญชนะภาษาอาหรับของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. Journal of Information and Learning, 31(3), 11–24. https://doi.org/10.14456/jil.2021.13
บท
บทความวิจัย

References

Azuma, R. T. (1997). A survey of augmented reality. Retrieved from http://citeseerx.ist.psu.edu/viewdoc/download? doi=10.1.1.444.4990&rep=rep1&type=pdf.

Chaijaroen, S. (2008). Education technology: Principles theories to practices. Khon Kaen: Klungnana Vitthaya Press.

Chaijaroen, S. (2014). Instructional design: Principles and theories to practices. Khon Kaen: Penprinting Press.

Dr.Chanvit (pseud.). (2015). Thamkhwām rūčhak dek yuk Generation Alpha [Get to know Generation Alpha children]. Retrieved from http://www1.si.mahidol.ac.th/Healtygamer/information/article/85385

Laeheem, K., Semae, A., & Tehhae, I. (2004). The study of Arabic teaching model in the private Islamic school in three southern provinces of Thailand. Pattani: Yala Islamic University.

Leelitthum, C., & Tiantong, M. (2014). The development of flipped classroom techniques model with ubiquitous learning using collaborative learning techniques on internet. Graduate Research Conference (pp. 120-126), Khon Kaen University, Khon Kaen.

Ministry of Education. (2010). Laksūt kǣn klāng kānsưksā naphư̄ n thān Phutthasakkarāt 2551 (Phim khrang thī 2) [The basic education core curriculum 2008 (2nd ed.)]. Bangkok: The Agricultural operative federation of Thailand.

Nongruksa, P. (2002). Effects of content reviews in computer assisted instruction on graphic design learning achievement (Master’s Thesis). Prince of Songkla University, Pattani.

Ratanakomet, A. (2009). The use of information technology for academic adminitration in basic education expansion schools under Udonthani Education Service Area Office 3. Khon Kaen: Khon Kaen University.

Saichan, P. (2007) Factors affecting reading of grade 6 students, Schools under Uttaradit municipality (Master’s Thesis). Uttaradit Rajabhat University, Uttaradit.

Saiklin, P., & Butploy, P. (2016). The development of web-based instruction on computer system components by project-based learning. The 3rd Kamphaeng Phet Rajabhat University National Conference (pp.614-624). Kamphaeng Phet: Kamphaeng Phet Rajabhat University.

Soidoksun, N., Ingard, A., Khusuponcharoen, S., & Tengwiradec, R. (2010). Development of English teaching program for visually handicapped children. Journal of King Mongkut's University of Technology North Bangkok, 20(3), 581-590.

Thananuwong, R. (2015). Rīanrū saphāwa lōk rō̜n dūai STEM education bǣp būranā [Learning global warming by integration STEM education]. IPST Magazine, 41(182), 15-20.

Yuenyong, S., & Chaijaroen. S. (2019). Analytical thinking of student learning with constructivist web-based learning environment on topic substances and properties of substance for Grade 6 students. Academic Services Journal, Prince of Songkla University, 30(3), 36-45.