การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลจริยธรรมทางดิจิทัล โดยใช้แนวคิดการศึกษาแบบเน้นผลลัพธ์และการเรียนรู้แบบกรณีศึกษาเป็นฐาน สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

Main Article Content

วิวัฒน์ ทัศวา
ยศวีร์ สายฟ้า

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้โปรแกรมตามแนวคิดการศึกษาแบบเน้นผลลัพธ์และการเรียนรู้แบบกรณีศึกษาเป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการให้เหตุผลจริยธรรมทางดิจิทัลของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยผู้วิจัยใช้การเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) จากนักเรียนที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาชุมนุมพลเมืองยุคดิจิทัล ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 37 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือโปรแกรมส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลจริยธรรมทางดิจิทัลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และแบบทดสอบการให้เหตุผลจริยธรรมทางดิจิทัล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการหาคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ (Relative gain scores) และการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเลขคณิต


ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้โปรแกรมส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลจริยธรรมทางดิจิทัลตามแนวคิดการศึกษาแบบเน้นผลลัพธ์และการเรียนรู้แบบกรณีศึกษาเป็นฐานมีความสามารถในการให้เหตุผลจริยธรรมทางดิจิทัลหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้โปรแกรมส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลจริยธรรมทางดิจิทัลตามแนวคิดการศึกษาแบบเน้นผลลัพธ์และการเรียนรู้แบบกรณีศึกษาเป็นฐานมีพัฒนาการสัมพัทธ์ของการให้เหตุผลจริยธรรมทางดิจิทัลคิดเป็นร้อยละ 21.06

Article Details

How to Cite
ทัศวา ว., & สายฟ้า ย. (2021). การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลจริยธรรมทางดิจิทัล โดยใช้แนวคิดการศึกษาแบบเน้นผลลัพธ์และการเรียนรู้แบบกรณีศึกษาเป็นฐาน สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. Journal of Information and Learning, 32(1), 1–16. https://doi.org/10.14456/jil.2021.1
บท
บทความวิจัย

References

Asarat, Ch., Seehamongkon, Y., & Poolpholamnoey, W. (2014). The development of key core competency indicators in ability to use technology of the basic education core curriculum 2551 for High School Students. Journal of Education Measurement Mahasarakham University, 20(1), 49-64.

Charoenwanit, S. (2017). Cyber bullying: Impacts and preventions in adolescents. Thai Journal of Science and Technology, Thammasat University, 25(4), 640-648.

Dricoll, A., & Wood, S. (2007). Developing outcomes-based assessment fo learner-centered education. Verginia: Starling.

Kohlberg. (1967). The cognitive-development approach to socialiization. In D.A. Goslin (E.d.), Handbook of socialization theory and research (pp. 347-480). Chicago: Rand McNally.

Vinijnaiyapak, N. (2017, March 22). Thatsanakhati khō̜ng dek læ yaowachon Thai tō̜ phrưttikamkān klanklǣng bon lōk sai bœ̄ [Attitudes of Thai Children and Youth on Cyber Bullying Behavior]. Retrieved from http://27.254.57.147/file_upload/poll/document/20170322084506.pdf

Sompuet, P. (2013). Development of a blended learning model with case-based learning using yonisomanasikara approach to develop reflective thinking and professional media ethics decision making for undergraduate students of rajabhat university (Doctoral thesis). Chulalongkorn University, Bangkok.

Suwannakit, M. (2017). Legal measures to protect child and juvenile from cyber-bullying. Naresuan University Law Journal, 10(2), 49-70.

Techataweewan, W., & Prasertsin, A. (2013). Digital literacy assessment of the Undergraduate Students to the Universities in Bangkok and Its Vicinity. Journal of Information Science, 34(4), 1-28.

Spady, W. (1994). Outcomes-based education. Belconnen, ACT: Australian Curriculum Student Association.