การพัฒนารูปแบบกิจกรรมพัฒนาทักษะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูโรงเรียนเทศบาล สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดยะลา

Main Article Content

พิมพ์ปวีณ์ สุวรรณโณ
พิชญ์สินี ไสยสิทธิ์
รุ้งลาวัณย์ จันทรัตนา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นด้านทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 2) เพื่อพัฒนารูปแบบกิจกรรมพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบกิจกรรมพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูโรงเรียนเทศบาล สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดยะลา จำนวน 288 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบทดสอบ แบบประเมินทักษะ และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที


ผลการวิจัยพบว่า
1. ความต้องการจำเป็นด้านทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 พบว่า ครูมีความต้องการด้านเทคโนโลยีสนับสนุนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เป็นอันดับแรก (PNImodified=0.31) ด้านการเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียนการสอน (PNImodified=0.25) และด้านพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของครู (PNImodified=0.21) ตามลำดับ
2. รูปแบบกิจกรรมพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ การวิเคราะห์ การวางแผน การฝึกอบรม และการประเมินผล เรียกชื่อย่อว่า APTE Model ผลการประเมินรูปแบบมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก สามารถนำไปใช้ได้จริง
3. ผลการนำรูปแบบกิจกรรมไปใช้ พบว่า ครูมีคะแนนเฉลี่ยความรู้และคะแนนทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหลังฝึกอบรมสูงกว่าก่อนฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีความพึงพอใจต่อรูปแบบกิจกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X}=4.91, S.D.=0.29)

Article Details

How to Cite
สุวรรณโณ พ., ไสยสิทธิ์ พ., & จันทรัตนา ร. (2022). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมพัฒนาทักษะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูโรงเรียนเทศบาล สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดยะลา. Journal of Information and Learning [JIL], 33(1), 24–34. https://doi.org/10.14456/jil.2022.3
บท
บทความวิจัย

References

Aktaruzzaman, M. D., Rashedul Huq Shamim, M. D., & Clement, C. K. (2011). Trends and Issues to integrate ICT in teaching learning for the Future World of Education. International Journal of Engineering & Technology IJET-IJENS, 11(3), 114-119.

Bangmo, S. (2014). Training and meeting techniques (4th ed.). Wittayapat.

Bindu, C. N. (2016). Impact of ICT on teaching and learning: A literature review. International Journal of Management and Commerce Innovations, 4(1), 24-31.

Chantakul, P., & Chatrupracheewin, C. (2017). A model enhancing teacher competency in using information and communication technology for learning management of the 21st century. Journal of Education Naresuan University, 19(3), 225-237.

Cowling, A., & Mailer, C. (1998). Managing human resources (3rd ed.). Butterworth-Heinemann.

Juito, S. (2011). Systematic training: A new theory of learning (4th ed.). Sukhothai Thammathirat Open University.

Khiaoying, K. (2007). Human resource management (6th ed.). Dejkamol Offset.

Ministry of Education. (2011). Master plan of information and communication technology for education, ministry of education A.D. 2011-2013. Office of the Permanent Secretary, Ministry of Education.

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60.

Sinlarat, P. (2017). Education 4.0 is more than education (4th ed). Chulalongkorn University.

Smithikrai, C. (2013). Training of personnel in the organization. Chulalongkorn University.

Wirachchai, N., & Wongvanich, S. (2007). Research of need assessment. Ordinary Press.