แนวทางการส่งเสริมการจัดตั้งหน่วยงานให้ข้อมูลการนำเข้า-ส่งออก เพื่อให้เป็นหน่วยงานในการสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก

Main Article Content

ชนเนษฎ์ ศรีพุทธรินทร์
ศุภสิทธิ์ เลิศบัวสิน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริม การจัดตั้งหน่วยงานให้ข้อมูลการนำเข้า-ส่งออก เพื่อสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้างที่แน่นอน กลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม ได้แก่ ตัวแทนจากสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ตัวแทนของอุตสาหกรรมจังหวัดชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา และผู้ประกอบการที่มีความต้องการใช้ข้อมูล รวม 14 ท่าน โดยใช้วิธีเลือกการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เพื่อศึกษาถึงแนวทางหรือวิธีการในการจัดตั้งหน่วยงานให้ข้อมูลการนำเข้า-ส่งออก โดยผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาในการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ เพื่อตอบวัตถุประสงค์ของการวิจัย


ผลการศึกษาพบว่า แนวทางการส่งเสริมการจัดตั้งหน่วยงานให้ข้อมูลการนำเข้า-ส่งออก แบ่งออกได้เป็น 5 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการส่งเสริมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลสำหรับรองรับการจัดตั้งหน่วยงานให้บริการฐานข้อมูลการนำเข้า-ส่งออกผ่านระบบดิจิทัล 2) ด้านการส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพบุคลากรของหน่วยงาน โดยจัดทำแผนการพัฒนาเจ้าหน้าที่หรือบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถและทักษะในการจัดการฐานข้อมูลด้านการนำเข้า-ส่งออกที่สำคัญได้ 3) ด้านการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาหน่วยงาน โดยเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางการพัฒนาฐานข้อมูลการนำเข้า-ส่งออกได้ 4) ด้านการส่งเสริมการขับเคลื่อนและใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมฐานข้อมูล มุ่งเน้นให้หน่วยงานกระบวนการทำงานเสมือนเป็นองค์กรเดียว และ 5) ด้านการส่งเสริมการบริการฐานข้อมูลการนำเข้า-ส่งออกของวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ไปสู่ความยั่งยืน

Article Details

How to Cite
ศรีพุทธรินทร์ ช., & เลิศบัวสิน ศ. (2022). แนวทางการส่งเสริมการจัดตั้งหน่วยงานให้ข้อมูลการนำเข้า-ส่งออก เพื่อให้เป็นหน่วยงานในการสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก. Journal of Information and Learning, 33(2), 126–133. https://doi.org/10.14456/jil.2022.23
บท
บทความวิจัย

References

Bank of Ayudhya Research Center. (2021, January 11). Trends of Thai business and industry in 2021-2023. Bank of Ayudhya. https://www.krungsri.com/th/research/industry/summary-outlook/industry-summary-outlook-2021-2023

Boonprateep, A., & Pathomsirikul, Y. (2015). The model of one stop service center and integrated marketing communication affecting service achievement of the Royal Thai Police to prepare for ASEAN community. Chulalongkorn Business Review, 37(143), 56-75.

Borisuthipandit, R. (2012). Customers satisfaction towards one-stop service center of International College, Chiang Mai University. [Unpublished Master of Business Administration]. Chiang Mai University.

Chanchai, P. (2008). Efficiency of one-stop service system, Laem Chabung Subdistrict Municipality Civil Registration Office, Sriracha District, Chonburi Province [Unpublished Master of Public Administration]. Khon Kaen University.

Charalabidis, Y., Lampathaki, F., Sarandis, D., Sourouni, A., Mouzakitis, S., Gionis, G., Koussouris, S., Ntanos, C., Tsiakaliaris, C., & Toundopoulos, V. (2008). The greek electronic government interoperability framework: Standards and infrastructures for one-stop service provision. ATC S.A.

Gallouj, F. (2002). Innovation in. services and the attendant old and new myths. Journal of Socio-Economics, 31, 137-154.

Hammer, M., & Champy, J. (1996). Reengineering the corporation: A manifesto for business revolution. Harper Collins.

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60.

Rupdee, C. (2009). One-stop service model of Udon Thani Municipality. [Unpublished Master of Public Administration]. Khon Kaen University.

Wimmer, A. (2002). Nationalist exclusion and ethnic conflict: Shadows of modernity. Contemporary Political Theory, 2, 251–253.