การจัดการสารสนเทศด้านสุขภาพของผู้สูงอายุจังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

อมรรัตน์ แซ่กวั่ง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการรับรู้สารสนเทศด้านสุขภาพ และช่องทางการรับรู้สารสนเทศด้านสุขภาพ จากกลุ่มผู้สูงอายุติดบ้าน และแนวทางการจัดการสารสนเทศด้านสุขภาพจากเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานผู้สูงอายุ เป็นงานวิจัยแบบผสมผสานระหว่างงานวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ งานวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามและแบบประเมินในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีเลือกแบบเจาะจงจากผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านร้อยละ 10 ของแต่ละอำเภอในจังหวัดสุราษฎร์ธานี 19 อำเภอ 477 คน ส่วนงานวิจัยเชิงคุณภาพใช้ข้อมูลจากการวิจัยร่วมกับแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545-2564) กลุ่มตัวอย่าง คือ เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานผู้สูงอายุในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาล สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ 19 อำเภอ 40 คน และใช้ดุลยพินิจของสาธารณสุขอำเภอเลือกกลุ่มตัวอย่างในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 19 อำเภอ 19 คน


ผลการวิจัยพบว่า ด้านพฤติกรรมการรับรู้ของผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่เพศหญิง อายุ 60-69 ปี มีโรคประจำตัว การศึกษาระดับประถมศึกษา รายได้ต่ำกว่า 5,000 บาท/เดือน ไม่ได้ประกอบอาชีพมีสถานภาพสมรส สืบค้นและรับรู้สารสนเทศด้านสุขภาพกระทำเดือนละ 1-2 ครั้ง เกี่ยวกับสิทธิการรักษา ใช้ช่วงเวลา 06.01-12.00 น. ปัจจัยทัศนคติสนับสนุนพฤติกรรม คือ มีห้องครัวที่ถูกสุขลักษณะ ครอบครัวให้การสนับสนุน ช่วยลดขั้นตอนในการพบแพทย์ และดูแลสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนการรับรู้ภาวะสุขภาพตนเองพบว่า ครอบครัวมีความอบอุ่น สุขภาพจิตดี และพึงพอใจในชีวิตดี ด้านช่องทางการรับรู้ พบว่า ใช้สื่อโสตทัศน์ประเภทโทรทัศน์ สื่อบุคคลประเภทเจ้าหน้าที่/อาสาสมัครสาธารณสุข สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทแผ่นพับ และสื่อบนอินเทอร์เน็ตประเภทไลน์ และด้านแนวทางการจัดการสารสนเทศ ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่เพศหญิง การศึกษาระดับปริญญาตรี สายงานนักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติงาน 16 ปีขึ้นไป พบว่า แนวทางการดำเนินการตามภารกิจใช้การส่งเสริมสุขภาพป้องกันการเจ็บป่วยและดูแลตนเอง ส่วนการสนับสนุนสื่อสารสนเทศพบว่า ใช้สื่อบนอินเทอร์เน็ตประเภทไลน์ สื่อโสตทัศน์ประเภทสมาร์ทโฟน สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทโปสเตอร์ และสื่อบุคคลประเภทอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ความเหมาะสมของแนวทางการจัดการสารสนเทศด้านสุขภาพและการสนับสนุนสื่อสารสนเทศด้านสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

How to Cite
แซ่กวั่ง อ. (2022). การจัดการสารสนเทศด้านสุขภาพของผู้สูงอายุจังหวัดสุราษฎร์ธานี. Journal of Information and Learning, 33(2), 108–125. https://doi.org/10.14456/jil.2022.22
บท
บทความวิจัย

References

Boonchuay, K., Patcharasit, K., & Intaramo, R. (2020, January 8-9). Seeking and using health information of the elderly living in slum communities, Songkhla Province [Conference session]. 10th PULINET National Academic Conference: Library Transformation in Disrupted World, Songkhla, Thailand.

Cheunwattana, A., Trelojwong, N., Wareesa-ard., A., & Warunyanugrai, S. (2012). Information literacy behaviors of Srinakharinwirot university students. Srinakharinwirot University.

Department of Mental Health, Ministry of Public Health. (2015). Guidelines for social and mental care for elderly to prevent mental health problems (4th ed.). Agricultural Cooperatives of Thailand.

Kaeodumkoeng, K., & Thummakul, D. (2015). Health literacy promoting in aging population. Journal of Health Science Research, 9(2), 1-8.

Lamsakul, M. (2015). Information of information management and informatics in Instructional materials of basic informatics (5th ed.). Sukhothai Thammathirat University.

National Committee for the Elderly, Ministry of Social Development and Human Security. (2010). National plan for the elderly no. 2 (2002-2021). Thepphenwanis Printing Factory.

Office of Policy and Strategy, Office of the Permanent Secretary of the Ministry of Public Health. (2017). Strategic plan of the Ministry of Public Health 2017-2021. Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health.

Phonchai, B. (2014). Dissemination of health information in the community. Payap University Journal, 24(2), 21-38.

Phonchai, B., & Phrom Na Sakonnakhon, N. (2017). Media for disseminating health information. Nakhon Phanom University Journal, Special Edition for 25th Anniversary of Academic Conference, 269-275.

Puttapithakpon, S. (2015). Unit 9 Information users in Teaching documents introduction to information science course (5th ed.). Sukhothai Thammathirat University.

Surat Thani Provincial Public Health Office. (2018). Summary of care for elderly in 2018. Public Health Office.

Surat Thani Provincial Public Health Office. (2020). The population of the civil registration by age and sex, health area 11, Surat Thani Province, 2020. HDC - Report. https://bit.ly/3A06Aie

Thipkanjanarekha, K., Yingrengreng, S., Khiaokaew, C., Ubonwan, K., Jamtim, N., & Phromsuan, W. (2017). Health information seeking behavior from online and social media of the elderly according to health perception level. Journal of Health Science Research, 11(Special Edition), 12-22. https://www.tci-thaijo.org/index.php/JHR/article/view/107898

Upatham, P. (2016). Health information seeking behavior of the elderly. Parichart Journal Thaksin University, 29(2), 72-87. https://www.tci-thaijo.org/index.php/parichartjournal/issue/view/6576.

Venkatesh, V., Morris, M. G., Davis, G. B., & Davis, F. D. (2003). User acceptance of information technology: Toward a unified view. MIS Q, 27(3), 425-478. https://www.jstor.org/stable/30036540

Wilson, T. D. (1999). Models in information behavior research. Journal of Documentation, 55(3), 249-270.

Yaree, U., & See kiew, M. (2019). Using social media and elderly health care in Thailand 4.0 Era. Lampang University Journal, 8(1), 222-238. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JLPRU/article/view/198457/138673