การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการออกแบบฐานข้อมูลระหว่างการเรียนแบบออนไลน์และแบบออนไซต์

Main Article Content

ชาญยศ ปลื้มปิติวิริยะเวช

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างการเรียนแบบออนไลน์และแบบออนไซต์ และเพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้เรียนที่เรียนแบบออนไลน์และแบบออนไซต์ โดยกลุ่มเป้าหมายคือนักศึกษาชั้นปีที่ 3 และ 4 ที่เลือกเรียนวิชาการออกแบบฐานข้อมูล ในปีการศึกษาที่มีการเรียนแบบออนไซต์และแบบออนไลน์ วิธีการที่ใช้ในงานวิจัยนี้คือการประมวลผลและวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาดังกล่าวของผู้เรียน และการสอบถามความเห็นของผู้เรียน เครื่องมือที่ใช้วัดผลสัมฤทธิ์ ได้แก่ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เครื่องมือที่ใช้วัดผลสำรวจความคิดเห็น ได้แก่ มาตรวัดของลิเคิร์ทและมาตราส่วนประมาณค่าของลิเคิร์ท


ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนที่เรียนแบบออนไซต์สูงกว่าแบบออนไลน์ 10.55, 8.54, 0.60, 10.86 และ 0.84 คะแนนตามลำดับ การปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนจากออนไซต์มาเป็นแบบออนไลน์ส่งผลกระทบต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนจำนวนมาก ในการเรียนแบบออนไลน์เมื่อเทียบการเรียนแบบออนไซต์ ผู้เรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ในระดับดีมากถึงดีเยี่ยมมีจำนวนลดลงร้อยละ 3.59 และผู้เรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ในระดับปานกลางถึงดีมีจำนวนลดลงร้อยละ 36.14 ในขณะที่ผู้เรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์ถึงพอใช้มีจำนวนเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.73 ผลการสำรวจความคิดเห็นของผู้เรียนต่อการเรียนการสอนแบบออนไลน์และแบบออนไซต์ พบว่าผู้เรียนให้คะแนนความคิดเห็นโดยรวมต่อการเรียนการสอนทั้งสองแบบอยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะคะแนนความคิดเห็นในด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียนการสอนแบบออนไลน์และแบบออนไซต์มีค่าไม่แตกต่างกันมาก และผู้เรียนเห็นด้วยอย่างยิ่งว่าการเรียนแบบออนไลน์มีสภาพแวดล้อมที่สามารถเข้าถึงเนื้อหาหลักสูตรได้ทุกที่ทุกเวลา ง่าย สะดวก และรวดเร็วกว่าการเรียนแบบออนไซต์

Article Details

How to Cite
ปลื้มปิติวิริยะเวช ช. (2022). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการออกแบบฐานข้อมูลระหว่างการเรียนแบบออนไลน์และแบบออนไซต์. Journal of Information and Learning, 33(2), 45–56. https://doi.org/10.14456/jil.2022.17
บท
บทความวิจัย

References

Aguilera-Hermida, A. P. (2020). College students’ use and acceptance of emergency online learning due to COVID-19. International Journal of Educational Research Open, 1(100011), 1-8. https://doi.org/10.1016/j.ijedro.2020.100011

Almanar, M. A. (2020). The shifting of face-to-face learning to distance learning during the pandemic Covid-19. Globish (An English-Indonesian Journal for English, Education and Culture), 9(2). http://dx.doi.org/10.31000/globish.v11i1

Aragon, S. R., Johnson, S. D., & Shaik, N. (2002). The influence of learning style preferences on student success in online versus face-to-face environments. American Journal of Distance Education, 16(4), 227–243.

Artino, A. R. (2010). Online or face-to-face learning? Exploring the personal factors that predict students’ choice of instructional format. Internet and Higher Education, 13, 272-276.

Bali, S., & Liu, M. C. (2018, November). Students’ perceptions toward online learning and face-to-face learning courses. Journal of Physics: Conference Series, 1108(1), 12094-12100. https://iopscience.iop.org/article/10.1088/1742-6596/1108/1/012094

Belenkova, N. (2020). Learning online in lockdown Russian students’ opinion [Paper presentation]. 13th International Conference Innovation in Language Learning Virtual Edition. https://conference.pixel-online.net/ICT4LL/files/ict4ll/ed0013/FP/1006-EMO4826-FP-ICT4LL13.pdf

Castle, S. R., & McGuire, C. J. (2010). An analysis of student self-assessment of online, blended, and face-to-face learning environments: Implications for sustainable education delivery. International Education Studies, 3(3), 36-40.

Johnson, S. D., Aragon, S. R., & Shaik, N. (2000). Comparative analysis of learner satisfaction and learning outcomes in online and face-to-face learning environments. Journal of interactive learning research, 11(1), 29-49.

Joshi, A., Kale, S., Chandel, S., & Pal, D. K. (2015). Likert scale: Explored and explained. British Journal of Applied Science & Technology, 7(4), 396.

Julien, G., & Dookwah, R. (2020). Students' transition from face-to-face learning to online learning at higher education: A case study in Trinidad and Tobago. Educational Research and Reviews, 15(8), 487-494.

Kushnir, L. P., & Berry, K. C. (2014). Inside, outside, upside down: New directions in online teaching and learning [Paper presentation]. International Association for the Development of the Information Society, Lisbon, Portugal. https://eric.ed.gov/?id=ED557256

McCutcheon, K., Lohan, M., Traynor, M., & Martin, D. (2014). A systematic review evaluating the impact of online or blended learning vs. face-to-face learning of clinical skills in undergraduate nurse education. Journal of Advance Nursing, 71(2), 255-270.

Nemoto, T., & Beglar, D. (2014). Developing Likert-scale questionnaires. In N. Sonda & A. Krause (Eds.), JALT2013 Conference Proceedings, Tokyo, Japan. https://jalt-publications.org/files/pdf-article/jalt2013_001.pdf

Otter, R.R., Seipel, S., Graef, T., Alexander, B., Boraiko, C., Gray, J., Perersen, K., & Sadler, K. (2013). Comparing student and faculty perceptions of online and traditional courses. Internet and Higher Education, 19, 27-35.

Schwartz, D. A. (2012). Effectiveness of learning in online versus on-campus accounting classes: A comparative analysis. Journal of Research in Innovative Teaching, 5(1), 63-77.

Van Wart, M., Ni, A., Rose, L., McWeeney, T., & Worrell, R. (2019). A literature review and model of online teaching effectiveness integrating concerns for learning achievement, student satisfaction, faculty satisfaction, and institutional results. Pan-Pacific Journal of Business Research, 10(1), 1-22.