องค์ประกอบของระบบการจัดการเรียนโดยบูรณาการแหล่งเรียนรู้ในชุมชนเพื่อการสร้างนวัตกรรมเชิงพาณิชย์สำหรับโรงเรียนขยายโอกาส อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย

Main Article Content

สุภาณี เส็งศรี
ธงชัย เส็งศรี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของระบบการจัดการเรียนโดยบูรณาการแหล่งเรียนรู้ในชุมชน เพื่อการสร้างนวัตกรรมเชิงพาณิชย์สำหรับโรงเรียนขยายโอกาส อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ผู้ทรงคุณวุฒิ ครูภูมิปัญญาและผู้นำชุมชน ที่เกี่ยวข้องกับองค์ความรู้และแหล่งเรียนรู้ในชุมชน โดยคัดเลือกแบบเจาะจงจากผู้นำชุมชน ในอำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย จำนวน 15 คน และ 2) ครูและบุคลากรการศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนขยายโอกาส อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย ทุกกลุ่มสาระวิชาการเรียนรู้ และเป็นรายวิชาที่สามารถจัดการเรียนโดยบูรณาการแหล่งเรียนรู้ในชุมชนเพื่อการสร้างนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ได้ จำนวน 7 โรงเรียน โดยเป็นการคัดเลือกแบบเจาะจง และ 3) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินความสอดคล้องระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ของระบบ โดยเป็นการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง เพื่อค้นหาแหล่งเรียนรู้ องค์ความรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่นของอำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย และ 2) แบบสอบถามเพื่อยืนยันความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ เพื่อประเมินความสำคัญขององค์ประกอบ มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยสรุปว่า องค์ประกอบของระบบการจัดการเรียนโดยบูรณาการแหล่งเรียนรู้ในชุมชน เพื่อการสร้างนวัตกรรมเชิงพาณิชย์สำหรับโรงเรียนขยายโอกาส อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) การวิเคราะห์บริบท 2) ปัจจัยนำเข้า 3) สื่อสังคมออนไลน์และเทคโนโลยีสนับสนุนการเรียนรู้ 4) กระบวนการจัดกิจกรรมจัดการเรียนโดยบูรณาการแหล่งเรียนรู้ในชุมชนเพื่อการสร้างนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ และ 5) การประเมินผล โดยผู้เชี่ยวชาญประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบและการนำไปใช้ประโยชน์ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X}=4.70)

Article Details

How to Cite
เส็งศรี ส., & เส็งศรี ธ. (2022). องค์ประกอบของระบบการจัดการเรียนโดยบูรณาการแหล่งเรียนรู้ในชุมชนเพื่อการสร้างนวัตกรรมเชิงพาณิชย์สำหรับโรงเรียนขยายโอกาส อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย. Journal of Information and Learning, 33(2), 1–10. https://doi.org/10.14456/jil.2022.13
บท
บทความวิจัย

References

Ban Thap Phueng School. (2019). Academic year 2018 report of Ban Thap Phueng School. Ban Thap Phueng School.

Burnett, B., & Evan, D. (2016). Krabūankān khit chœ̄ng ʻō̜k bǣp [Design Thinking]. Design Science. https://dscience.com/use-human-centered-design-get-jump-usability/

Chaemchoy, S. (2017). Secondary school management innovation for creating innovators. Journal of Education Naresuan University, 2(12), 193-213.

Department of Curriculum and Instruction Development. (2001). Basic education curriculum A.D. 2001. Secretariat Office of the Teachers’ Council of Thailand.

HR Note Thailand. (2019). Design thinking. HRNOTE Thailand. https://th.hrnote.asia/orgdevelopment/190702-design-thinking/

Independent Commission for Education Reform. (2019). The Ministry of Education reform in Thailand report. Office of the Education Council.

Keepanawattana, S. (2005). Study principles and curriculum. Faculty of Education, Chiang Mai University.

Keesukkapan, E. (2019). School children expand opportunities to reduce the severity of the problem. Thairath Online. https://www.thairath.co.th/news/society/1617406

Ministry of Education. (2017). Early childhood curriculum A.D. 2017. Bureau of Academic Affairs and Educational Standards Office of the Basic Education Commission, Ministry of Education.

Natakuatoong, O. (2019, July 11-12). Integrated course design and instructional model development [Conference session]. Teacher Professional Development Network Association and Higher Education Organizations of Thailand, Bangkok.

Office of the National Education Commission. (2002). Participate in learning reforms with model teachers “Organizing the learning process that focuses on learners is important”. n.p.

The Secretariat of the Council of Education. (2019). National education standards B.E. 2018. The Secretariat of the Council of Education.

Tantayanon, R. (2022). Commercial innovation process [Krabūankānnawattakam chœ̄ng phānit]. bangkokbiznews. https://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/126203

Trakulhiranphadung, W. (2016). Sustainable development and investment in Thai industries. Thai Industrial Standards Institute.

Watthanakuljaroen, T. (2018). Development of a model for knowledge management of local wisdom via virtual learning community for instructional management at the primary education level in the lower central region. Sukhothai Thammathirat Open University.