การพัฒนาทักษะการพูดของเด็กปฐมวัยในโรงเรียนสังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 44 โครงการพระดำริในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ด้วยนิทานพื้นบ้านมุสลิมสองภาษา

Main Article Content

ยุพดี ยศวริศสกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) สร้างนิทานพื้นบ้านมุสลิมสองภาษาให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 และเปรียบเทียบประสิทธิภาพของนิทานพื้นบ้านมุสลิมสองภาษาในโรงเรียนที่มีเด็กปฐมวัยเป็นไทยพุทธและไทยมุสลิม และโรงเรียนที่มีเฉพาะเด็กปฐมวัยไทยมุสลิม 2) ประเมินทักษะการพูดของเด็กปฐมวัย จากการใช้นิทานพื้นบ้านมุสลิมสองภาษา 3) เปรียบเทียบทักษะการพูดของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังใช้นิทานพื้นบ้านมุสลิมสองภาษา 4) เปรียบเทียบทักษะการพูดของเด็กปฐมวัย จากการใช้นิทานพื้นบ้านมุสลิมสองภาษา โดยมีคะแนนทักษะการพูดก่อนเรียนเป็นตัวแปรร่วม 5) ศึกษาความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยที่มีต่อการสอนโดยใช้นิทานพื้นบ้านมุสลิมสองภาษา ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ เด็กปฐมวัย ทีกำลังศึกษาชั้นอนุบาล 2 ในโรงเรียนสังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 44 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 141 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดประสบการณ์ 2) นิทานพื้นบ้านมุสลิมสองภาษา 3) แบบวัดทักษะการพูดสำหรับเด็กปฐมวัย และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ One-Samples test การทดสอบ Paired sample test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม


ผลการวิจัยพบว่า 1) นิทานพื้นบ้านมุสลิมสองภาษามีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 75/75 โดยโรงเรียนที่มีเด็กปฐมวัยเป็นไทยพุทธและไทยมุสลิมมีประสิทธิภาพ 78.35/84.06 และโรงเรียนที่มีเฉพาะเด็กปฐมวัยไทยมุสลิมมีประสิทธิภาพ 78.49/81.43 2) ทักษะการพูดของเด็กปฐมวัยสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 3) เด็กปฐมวัยทุกโรงเรียนมีทักษะการพูดหลังใช้นิทานพื้นบ้านมุสลิมสองภาษามากกว่าก่อนใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) คะแนนสอบก่อนเรียนไม่มีความสัมพันธ์กับทักษะการพูดของนักเรียนหลังใช้นิทานพื้นบ้านมุสลิมสองภาษา 5) ความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยที่มีต่อการสอนโดยการใช้นิทานพื้นบ้านมุสลิมสองภาษาอยู่ในระดับมาก

Article Details

How to Cite
ยศวริศสกุล ย. (2022). การพัฒนาทักษะการพูดของเด็กปฐมวัยในโรงเรียนสังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 44 โครงการพระดำริในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ด้วยนิทานพื้นบ้านมุสลิมสองภาษา. Journal of Information and Learning, 33(3), 88–100. https://doi.org/10.14456/jil.2022.32
บท
บทความวิจัย

References

Akkaratanayavamon, W., Khanaphan, P., & Srisopa, G. (2020, May 29). The storytelling experience to develop language ability of Kindergarten skill of Ban Koanoy school, Samrong district, Ubon Ratchathani province [Conference session]. The 5th National Conference (RTUNC 2020), Ubon Ratchathani, Thailand.

Bureau of Academic Affairs and Educational Standards. (2017). Pre-primary education curriculum guide, B.E. 2560 (Age 3-6). Ministry of Education.

Dewey J. (1897). My pedagogic creed. The School Journal, 54, 77-80. http://www.infed.org/archives/e-texts/e-dew-pc.htm

Ditthasuwan, N. (2019). Effectiveness of bilingual storytelling with multimedia on Thai listening and speaking of young children using Malayu dialect as a mother tongue [Master's thesis, Thaksin University]. IR TSUS. http://ir.tsu.ac.th/jspui/bitstream/123456789/121/1/Nipa%2000208866.pdf

Hadkhanthung, K. (2018). The development of learning experiences by storytelling with various techniques to enhance listening and speaking skills for preschool children who do not use Thai as a mother tongue [Master's thesis, Naresuan University]. DCMS. http://dcms.lib.nu.ac.th/dcms/TDC2563/KednipaHadkhanthung.pdf

Keawcomsri, W. (2017). The effects of storytelling with twitch puppet on speaking ability of preschool children at Udon Wittaya School in Udon Thani province. Udon Thani Rajabhat University Academic Journal, 5(1), 127-138.

Khanongdet, K. (1999). Language development and language teaching for children of different cultures. Yala Rajabhat Institute.

Komvong, P., & Tongthaworn, R. (2021). Use of storytelling to promote communication skills of early childhood children who use Thai as a second language. Journal of Education Naresuan University, 23(1), 214-222.

Papol, K. (2019). Story telling ativities through a large story book to premote speaking skills for early chldhood in the 21st century. Journal of Graduate Studies Valaya Alongkron Rajabhat University, 13(2), 30-45.

Piaget, J. (1990). The children's conception of the world. Littlefield Adam.

Sarapan, P. (2017). Development of speech skills of early childhood kindergarten 3 years old Child Development Center in Buri Kindergarten using storytelling activities [Bachelor of education early childhood education), Suan Dusit University.

Songtaya, U. (2020). The learning experiences by using the book to read more, rhyme, composition to improve listening and speaking skills for kindergarten students, 2nd Year, Journal of Educational Technology and Communications Faculty of Education Mahasarakham University, 3(8), 183-195.

Southern Border Provinces Administration Centre. (2018). Follow-up supervision report teaching results of Thai teachers in school under the Border Patrol Police Division 44. Yala printing.

Tantipalachiwa, K. (1998). Storytelling. Journal of Early Childhood Education, 2(2), 10-19.

The Thailand Research Fund. (2006). “Mother tongue”, the key to reconciliation. Office of the Prime Minister.

Tongkham, M., & Vonganusit, V. (2017). Development of illustrated story books to promote English vocabulary ability of early childhood students. Journal of Curriculum and Instruction Sakon Nakhon Rajabhat University, 9(25), 133-143.

Vygotsky, L .(1978). Mind in society. Harvard University Press.

Wannakit, N. (2016). Literature for children. Inthanil. Yoswarissakul, Y. (2017). A study of Muslim folktales in Pattani province. Academic Services Journal, Prince of Songkla University, 28(3), 185-195.