การพัฒนากระบวนการนิเทศการสอนตามแนวคิดการให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อเสริมสร้างชุดความคิดเติบโตด้านการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษาครู

Main Article Content

รัชนี นกเทศ
ชาริณี ตรีวรัญญู
ยศวีร์ สายฟ้า

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการนิเทศการสอนตามแนวคิดการให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อเสริมสร้างชุดความคิดเติบโตด้านการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษาครู และศึกษาผลของการใช้กระบวนการที่พัฒนาขึ้น การวิจัยและพัฒนานี้มี 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การวิจัยเพื่อศึกษาสภาพและปัญหาในการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษาครู ระยะที่ 2 การพัฒนากระบวนการฉบับร่าง ระยะที่ 3 การวิจัยเพื่อทดลองใช้กระบวนการ และระยะที่ 4 การพัฒนากระบวนการฉบับสมบูรณ์ กรณีศึกษาเป็นนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู จำนวน 10 คน ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดชุดความคิดเติบโตด้านการจัดการเรียนการสอน แบบสังเกตพฤติกรรมการจัดการเรียนการสอน และการสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติ Wilcoxon Matched Pairs Sign-Rank Testและการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยสรุปได้ว่ากระบวนการนิเทศการสอนที่พัฒนาขึ้น ดำเนินการเป็น 3 วงจร โดยในแต่ละวงจรมี 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1 สร้างแรงบันดาลใจให้นักศึกษาครูตระหนักในเป้าหมายการสอน 2 สังเกตชั้นเรียนแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และ 3 เสริมพลังการเรียนรู้สู่การนำตนเอง ซึ่งกระบวนการที่พัฒนาขึ้นส่งผลให้นักศึกษาครูมีค่าเฉลี่ยคะแนนชุดความคิดเติบโตด้านการจัดการเรียนการสอนในช่วงหลังเข้าร่วมกระบวนการสูงกว่าก่อนเข้าร่วมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และโดยภาพรวมนั้นนักศึกษาครูทุกคนแสดงพฤติกรรมที่สะท้อนชุดความคิดเติบโตด้านการจัดการเรียนการสอนชัดเจนมากขึ้นทั้งพฤติกรรมที่สะท้อนถึงแนวความคิดต่อนักเรียน และแนวความคิดต่อตนเองในฐานะครู

Article Details

How to Cite
นกเทศ ร., ตรีวรัญญู ช., & สายฟ้า ย. (2022). การพัฒนากระบวนการนิเทศการสอนตามแนวคิดการให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อเสริมสร้างชุดความคิดเติบโตด้านการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษาครู. Journal of Information and Learning [JIL], 33(3), 60–72. https://doi.org/10.14456/jil.2022.30
บท
บทความวิจัย

References

Acheson, K., & Gall, M. (2003).Clinical supervision and teacher development preservice and inservice applications. John Wiley & Sons.

Boyan, N., & Copeland, W. (1978). Instructional supervision training program. Charles E. Merrill Publishing Company.

Brown, S., & Gillis, M. (1999). Using reflection thinking to develop personal philosophies. Journal of Nursing Education, 38(4), 171-175.

Bunphirom, S. (2014). Classroom management. Triple Education. Carter, B. (2012). Facilitating preservice teacher induction through learning in partnership. Australian Journal of Teacher Education, 37(2), 99-113. http://dx.doi.org/10.14221/ajte.2012v37n2.1

Chokpaisarn, P. (2010). Supervisory behaviors affecting the change in teachers' teaching behaviors [Unpublished master’s thesis]. Chulalongkorn University.

Dweck, C. S. (2006). Mindset: The new psychology of success. Random House.

Dweck, C. S. (2020, March 20). How self beliefs affect motivation and thus achievement. Self Theories. http://www.learning-knowledge.com/self-theories.html

Glickman, C. D. (2010). Supervision and instructional leadership: A developmental approach. Allyan and Bacon.

Goldstein, S., & Brooks, R. (2007). Understanding and managing children’s classroom behavior: Creating sustainable, resilient schools. John Wiley & Sons.

Goytha, M. (2003). Teaching behaviors of teachers in the Thai language course under the office of primary Education Saraburi [Unpublished doctoral dissertation]. Kasetsart University.

Gutshall, C. A. (2013). Teachers' mindsets for students with and without disabilities. Psychology in the Schools, 50(10), 1073-1083.

Hattie, J., & Timperley, H. (2007). The power of feedback. Review of Educational Research, 77, 81-112.

Khaocharoen, P. (2018). Development of supervision model by using coaching and mentoring of mentor student teachers Faculty of Education, Phranakhon Si Ayutthaya Rajabhat University. Journal of Education, 19(1), 125-136.

Kranikit, P. (2009). E-Portfolios for the student teachers. Journal of Education Studies, 38(1), 65-81.

Laoriandee, W. (2013). Supervision of teaching and coaching: professional development, theory, strategic implementation. Silpakorn University publisher, Sanamchandra Palace Campus.

Lumthong, D. (2010). The effects of feedback styles on visual art development: an application of feedback and feedforward approaches [Unpublished master’s thesis]. Chulalongkorn University.

Milintra, K. (2014). Research and development of a coaching process based on tranformative learning theory for changing the mindset in instruction of elementary school teachers [Unpublished doctor dissertation]. Chulalongkorn University.

Rheinberg, F. (2001, April). Teachers reference-norm orientation and student motivation for learning [Conference session]. AERA Conference, Michigan, United States.