พฤติกรรมการเรียนแบบออนไลน์และความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาฟิสิกส์ในช่วงโควิด-19 ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดนราธิวาส
Main Article Content
บทคัดย่อ
สถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ได้เปลี่ยนแปลงวงการการศึกษาทั่วโลก ส่งผลให้มีการปรับเปลี่ยนระบบการเรียนการสอนให้อยู่ในรูปแบบออนไลน์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเรียนฟิสิกส์ออนไลน์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาและความพึงพอใจต่อการเรียนในช่วงการระบาดของโควิด-19 กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 5 จำนวน 103 คน จากห้องเรียนฟิสิกส์ 4 ห้อง ของภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา พ.ศ. 2564 เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสอบถามออนไลน์และแบบการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมการเรียนรู้ออนไลน์อยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านเวลาที่ใช้สอน (=3.40) คือเปิดโอกาสให้นักเรียนซักถามและแสดงความคิดเห็น; 2) ความพึงพอใจต่อการเรียนออนไลน์โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือเทคโนโลยีและการสื่อสาร (=3.27) ตามด้วยเวลาและสถานที่ (=3.16) และด้านที่มีความพึงพอใจน้อยที่สุดคือตัวผู้เรียนเอง (=3.00) นักเรียนที่มีอายุที่แตกต่างกัน ไม่มีความแตกต่างกันในด้านความพึงพอใจในการเรียน นอกจากนี้ผลการสัมภาษณ์นักเรียนจำนวน 14 คน ยังพบว่าประเด็นที่มีผลต่อพฤติกรรมการเรียนออนไลน์ คือมีเสียงรบกวนขณะเรียนออนไลน์ พื้นที่ไม่เป็นสัดส่วนในการเรียน ยิ่งไปกว่านั้นยังพบอีกว่านักเรียนต้องการให้มีการเรียนการสอนในห้องเรียนมากกว่าการเรียนออนไลน์
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Journal of Information and Learning ดำเนินการโดยสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ โดยเจ้าของลิขสิทธิ์จะมีสิทธิในการทำซ้ำ ดัดแปลง และเผยแพร่งานบทความ ทั้งรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ การทำฉบับสำเนา การแปล และการผลิตซ้ำในรูปแบบต่างๆ ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนและสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตีพิมพ์ตามความเหมาะสม รวมทั้งการตรวจทานแก้ไข การปรับข้อความ หรือขัดเกลาภาษาให้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด สำหรับผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เขียน
References
Inthasorn, S. (2020). COVID-19 and online teaching case study: Web programming course. Journal of Management Science Review, 22(2), 203-214. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/244722/167805
Maneewongse, N. (2021). Students behaviors and factors achieving online teaching with Line application during COVID- 19. Journal of Educational Studies, 15(1), 161-173.
Panmuang, M. (1988). Components affecting teaching efficiency of primary school teachers under Phitsanulok Provincial Primary Education Office [Master's thesis, Naresuan University]. Thai Library Integrated System-ThaiLIS. http://uc.thailis.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00531935.
Pluemsamran, B., Sikkhabandit, S., & Theerawitthayalert, P. (2014). The teacher’s competencies development model for information technology learning management to the Asian community. Journal of Faculty of Physical Education, 17(1), 15-26. https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14458/NBU.the.2014.7
Punkhetnakorn, T., Nak-in, N., & Yongsoi, P. (2021). Design and development of online learning media o meet the learning behaviors of students in the digital age. Journal of Legal Entity Management and Local Innovation, 7(5), 327-335.
Somchok, A., & Suttiwan, W. (2021). A study of online learning management conditions of grade 6 students in Watdonmuang school. Journal of Modern Learning Development, 6(5), 194-208. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jomld/article/view/249925
Songkaew, N. (2015, April 09). Meaning of e-learning. ALL ABOUT KHEM. https://sites.google.com/site/khemromanov/khwam-hmay-khxng-e-learning
Thongthammachat, C. (1998). The relationship between school administrators’ use of power and the teaching efficiency of primary school teachers under the office of Yala provincial primary education [Master's thesis, Sukhothai Thammathirat Open University]. Thai Thesis Database. http://www.thaithesis.org/detail.php?id=58875
Tiyawong, J. (2021). The effects of students’ learning achievement and satisfaction through online instruction on Parallel Lines for Mathayomsuksa 2. Academic Journal of North Bangkok University, 10(2), 1-9. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/NBU/article/view/252612/169307