การประยุกต์เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเพื่อจัดทำฐานข้อมูลและวิเคราะห์รูปแบบการกระจายตัว ความหนาแน่น ของที่ตั้งช่างทำชุดโนราและเครื่องดนตรีโนรา กรณีศึกษา: จังหวัดพัทลุง

Main Article Content

โชติกา รติชลิยกุล
เอมอร อ่าวสกุล
นรเทพ ศักดิ์เพชร

บทคัดย่อ

เนื่องจากในพื้นที่จังหวัดพัทลุงเป็นแหล่งกำเนิดโนราและมีช่างที่มีฝีมือในการทำชุดโนราและเครื่องดนตรีโนราอยู่ในพื้นที่ แต่เมื่อผู้วิจัยได้ทำการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับช่างทำชุดโนราและเครื่องดนตรีโนรา พบว่า ข้อมูลมีอยู่น้อยมาก ไม่เป็นปัจจุบัน และยังไม่มีการจัดเก็บอย่างเป็นระบบ งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศในการสำรวจและจัดทำฐานข้อมูลของช่างทำชุดโนราและเครื่องดนตรีโนรา รวมถึงการศึกษารูปแบบการกระจายตัว ความหนาแน่นของที่ตั้งช่างทำชุดโนราและเครื่องดนตรีโนราในจังหวัดพัทลุง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ การสำรวจข้อมูลผู้วิจัยใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเพื่อเก็บข้อมูลพิกัดที่ตั้งกลุ่มร่วมกับการสัมภาษณ์และการจัดเวทีสนทนากลุ่ม จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) เพื่อจัดทำเป็นฐานข้อมูลรวมถึงการวิเคราะห์รูปแบบการกระจายตัว และความหนาแน่นของที่ตั้งช่างทำชุดโนราและเครื่องดนตรีโนรา


ผลการศึกษาพบว่า จังหวัดพัทลุงมีช่างทำชุดโนราและเครื่องดนตรีโนราทั้งหมด 24 แห่ง แบ่งเป็นช่างทำชุดโนรา 21 แห่งและช่างทำเครื่องดนตรีโนรา 3 แห่ง โดยช่างทำชุดโนราส่วนใหญ่กระจายตัวอยู่ในอำเภอเมือง และอำเภอควนขนุน ส่วนช่างทำเครื่องดนตรีโนราส่วนใหญ่กระจายตัวอยู่ในอำเภอเมือง ข้อมูลทั้งหมดที่ได้จากการสำรวจผู้วิจัยได้จัดเก็บไว้ในฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศ โดยแบ่งเป็นข้อมูลเชิงพื้นที่กับข้อมูลเชิงคุณลักษณะและเชื่อมต่อข้อมูลทั้งสองส่วนไว้ด้วยกัน สำหรับการศึกษาลักษณะการกระจายตัวของช่างทำชุดโนราและเครื่องดนตรีโนรา พบว่า มีรูปแบบการกระจายตัวแบบทั่วไป และส่วนใหญ่จะกระจายตัวอยู่ที่อำเภอเมืองพัทลุง ส่วนการศึกษาความหนาแน่น พบว่า มีระดับความหนาแน่นมากอยู่บริเวณตอนกลางของอำเภอและบริเวณที่มีถนนตัดผ่าน การศึกษาครั้งนี้ช่วยให้หน่วยงานหรือผู้เกี่ยวข้องสามารถนำข้อมูลที่มีความเป็นปัจจุบันไปใช้วางแผนบริหารจัดการและอนุรักษ์ศิลปะการทำชุดโนราและเครื่องดนตรีให้คงอยู่ตลอดไป

Article Details

How to Cite
รติชลิยกุล โ., อ่าวสกุล เ., & ศักดิ์เพชร น. (2022). การประยุกต์เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเพื่อจัดทำฐานข้อมูลและวิเคราะห์รูปแบบการกระจายตัว ความหนาแน่น ของที่ตั้งช่างทำชุดโนราและเครื่องดนตรีโนรา กรณีศึกษา: จังหวัดพัทลุง. Journal of Information and Learning, 33(3), 108–118. https://doi.org/10.14456/jil.2022.34
บท
บทความวิจัย

References

Bunnoi, N. (2019). Prawat khwāmpenmā khō̜ng manōrā [History of the Manora fort]. 77kaoded. https://www.77kaoded.com/news/sakboon/908793

Damrung, P., & Skar, L. (2020). Nōrā: sinlapa kān rō̜ng ram thī phūkphankap chīwit [Nora: a living dance tradition of Southern Thailand]. The Department of Cultural Promotion, The Ministry of Culture.

Dechasiri, T. (2007). Distribution of factors affecting location selection and factors influencing selection car rental business A case study of Chiang Mai District Chiang Mai province [Undergraduate dissertation, Chiang Mai university]. Chiang Mai university.

Geo-informatics and space technology development agency (public organization). (2009). Space technology and geo-informatics. Geo-Informatics and Space Technology Development Agency (public organization).

Geo-Informatics Technology Division, Engineering and Geological Survey Bureau, Royal Irrigation Department. (2018). Kānčhat thā thānkhō̜mūn phūm sārasonthēt [Creating a geo-informatics database]. Engineering and Geological Survey Bureau Royal Irrigation Department.

Manora. (n.d.). AjanThus. https://sites.google.com/site/ajanthus/mo

Netthip, K. (2015). Spatial distribution of student apartments and factors influencing to resident: A case study of Naresuan university [Unpublished undergraduate dissertation]. Naresuan university.

Phatthalung Provincial Cultural Centre. (2017). Thamnīap khana nak sadǣng phư̄nbān praphēt nōrā čhangwat Phatthalung [nora band list of Phatthalung provincial]. Phatthalung Provincial Cultural Office.

Petkaew, C. (2016). Nora: Conservation and development. Asian Journal of Arts and Culture, 16(1), 1-27.

Samansuk, P. (2016). The transmission of Nora for the preservation of folk culture: a case study of Yok Chubua [Master's thesis, Chulalongkorn university]. Chulalongkorn University Intellectual Repository. http://cuir.car.chula.ac.th/bitstream/123456789/52366/1/5783345227.pdf

Silverman, B. W. (1986). Density estimation for statistics and data analysis. Chapman and Hall.

Thinthai-ngam, P. (2016). High risk areas of property crime in amphur muang Phitsanulok [Unpublished undergraduate dissertation]. Naresuan University.

Thongtip, U. (2013). The development of the prototype of geographic information database for communal by integration and community participation approach: a case study of sooksan pattana village. Academic Journal Phranakhon Rajabhat University, 8(2), 38-60.

Yiampisan, M., & Srivanit, M. (2010). Using the kernel density estimation surface for criminal pattern: A case study in Phranakhon district, Bangkok [Unpublished master's thesis]. Thammasat university.