การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยใช้ความเป็นจริงเสริมและการเรียนรู้การออกแบบนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการออกแบบเครื่องประดับเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและความต้องการจัดการเรียนการสอน 2) สร้างรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยใช้ความเป็นจริงเสริมและการเรียนรู้การออกแบบนวัตกรรม 3) การทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอน 4) รับรองรูปแบบการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาปริญญาตรี สาขาวิชาเครื่องประดับอัญมณีและโลหะรูปพรรณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ จำนวน 16 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสำรวจสภาพและความต้องการ 2) รูปแบบการเรียนการสอน 3) สื่อเครื่องประดับความเป็นจริงเสริม 4) แบบประเมินผลงานออกแบบ 5) แบบประเมินรับรองรูปแบบสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันเทคโนโลยีส่วนใหญ่นักศึกษาใช้ คือ Line ร้อยละ 80.4 และเทคโนโลยีส่วนใหญ่คณาจารย์ใช้ คือ Line และ Google Docs ร้อยละ 77.3 ความต้องการจัดการเรียนการสอนให้ความสำคัญกับการพัฒนาสื่อที่ใช้ได้ทั้งแบบในชั้นเรียนและแบบออนไลน์ 2) ผลการสร้างรูปแบบการเรียนการสอน 3 ขั้นตอน คือ 1) การแนะนำการเรียนรู้ 2) การเรียนรู้การออกแบบเครื่องประดับเชิงสร้างสรรค์ ประกอบด้วย แนวความคิดการออกแบบเครื่องประดับ การสร้างแบบร่างการออกแบบเครื่องประดับ การพัฒนาการออกแบบเครื่องประดับ การนำเสนองานออกแบบเครื่องประดับ การผลิตต้นแบบเครื่องประดับ และการตรวจสอบคุณภาพเครื่องประดับ 3) การวัดและประเมินผล 3) ผลการทดลองใช้รูปแบบ พบว่า คะแนนความสามารถในการออกแบบเครื่องประดับมีระดับคุณภาพดี 4) ผลคะแนนความสามารถในการออกแบบเครื่องประดับของนักศึกษาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Journal of Information and Learning ดำเนินการโดยสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ โดยเจ้าของลิขสิทธิ์จะมีสิทธิในการทำซ้ำ ดัดแปลง และเผยแพร่งานบทความ ทั้งรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ การทำฉบับสำเนา การแปล และการผลิตซ้ำในรูปแบบต่างๆ ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนและสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตีพิมพ์ตามความเหมาะสม รวมทั้งการตรวจทานแก้ไข การปรับข้อความ หรือขัดเกลาภาษาให้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด สำหรับผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เขียน
References
Benham, C. (2015). Augmented reality for jewelers enhances the customer experience. Inspired. https://www.theinspiredcollection.com/inspired-jewellery-news-and-media/november-2015/augmented-reality-for-jewelers-enhances-the-custom
Graham, C. R. (2006). Blended learning systems: Definition, current trends, and future directions. https://shorturl.asia/ICMqU
Jamornmarn, S. (2013). A Model of constructivist web-based learning environment managemen using inquiry learning process to enhance systems thinking for sustainable product design of undergraduate students [Unpublished doctoral thesis]. Chulalongkorn University.
Khawloueng, D., & Anukulwech, A. (2019). The development of virtual reality interactive 3D learning materials by using augmented reality (AR) technology for enhance critical thinking skill’s vocational education students with different critical thinking levels. DSpace Repository. http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3742
Khumthanhom, J. (2020). The effect of learning activities using augmented reality in the drawing style to enhance multi-view drawing abilities of mathayomsuksa 2 of sukhondheerawidh school [Unpublished master’s thesis]. Silpakorn University.
Meesuwan, W. (2013). Development of the instructional package together with augmented reality. http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/493
National Education Act B.E. 1999. (1999). the Government Gazette. Volume 116. Section 74a. August 19. p.64, p7.
Podjanapimol, P. (2019). The study on jewelry design trends in the 21st century to create value added for raw stone by the design process. The Journal of Social Communication Innovation, 7(2), 180-193.
Raber, C. (2015). Design-based learning for the elementary school classroom. https://core.ac.uk/download/pdf/55286549.pdf
Sinthaworn, W. (2010). Development of a cooperative blended learning model using resource-based learning to enhance information literacy and team learning skills for rajabhat university preservice teachers [Doctor’s thesis]. Chulalongkorn University.
Staker, H. (2011) The rise of K-12 blended learning: Profiles of emerging models. https://www.christenseninstitute.org/wp-content/uploads/2013/04/The-rise-of-K-12-blended-learning.emerging-models.pdf
Wisetsat, C. (2019). The development of teaching model to promote innovative teaching skills for pre-service teachers. Humanities and Social Sciences Journal, Ubon Ratchathani Rajabhat University, 10(2), 305-320. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/humanjubru/article/view/179909/157113