บทปริทัศน์หนังสือ: การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะและการจัดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปัจจุบันหลักสูตรของประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงจากหลักสูตรอิงมาตรฐานที่มีการกำหนดมาตรฐานตัวชี้วัดระบุองค์ความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะที่ผู้เรียนต้องบรรลุไว้อย่างชัดเจน โดยมุ่งเน้นการวัดและประเมินผลหลักสูตรตามตัวชี้วัดที่กำหนดขึ้น ไปสู่หลักสูตรฐานสมรรถนะที่มุ่งเน้นพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะโดยการบูรณาการความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะไปใช้ในการปฏิบัติงานให้ประสบผลสำเร็จ และเน้นการวัดและประเมินผลหลักสูตรตามสภาพจริงที่เกิดขึ้นโดยใช้วิธีการวัดและประเมินผลที่หลากหลายเพื่อใช้ในการพัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะตามที่หลักสูตรกำหนด ซึ่งในการที่จะสามารถสร้างหลักสูตรฐานสมรรถนะที่มีประสิทธิภาพหรือนำหลักสูตรฐานสมรรถนะไปใช้ได้อย่างเต็มศักยภาพ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาไม่ว่าจะเป็นผู้จัดทำหลักสูตรหรือครูผู้สอนที่เป็นผู้ใช้หลักสูตรจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรฐานสมรรถนะเพื่อที่จะสามารถนำข้อมูลไปจัดทำหลักสูตรฐานสมรรถนะในระดับต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง ซึ่งหนังสือ “การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะและการจัดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย” เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรฐานสมรรถนะในด้านของพื้นฐานแนวคิด ความเป็นมาของหลักสูตรฐานสมรรถนะ และแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้จัดทำหลักสูตรและครูผู้ใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะต่อไปได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Journal of Information and Learning ดำเนินการโดยสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ โดยเจ้าของลิขสิทธิ์จะมีสิทธิในการทำซ้ำ ดัดแปลง และเผยแพร่งานบทความ ทั้งรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ การทำฉบับสำเนา การแปล และการผลิตซ้ำในรูปแบบต่างๆ ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนและสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตีพิมพ์ตามความเหมาะสม รวมทั้งการตรวจทานแก้ไข การปรับข้อความ หรือขัดเกลาภาษาให้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด สำหรับผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เขียน
References
McClelland, D. C. (1973). Testing for competence rather than for "intelligence". American Psychologist, 28(1), 1-14. https://doi.org/10.1037/h0034092
Mezirow, J. (1978). Perspective transformation. Adult Education, 28(2), 100-110. https://doi.org/10.1177/074171367802800202
Office of the Education Council. (2019). Nǣothāng kānphatthanā samatthana phū rīan radap kānsưksā naphư̄n thān [Guidelines for developing learner competency at basic education level]. 21Centuryprint. http://backoffice.onec.go.th/uploads/Book/1686-file.pdf
Office of the Education Council. (2020). Kānčhatkān rīanrū thān samatthana chœ̄ng ruk [Proactive competency-based learning management]. 21Centuryprint. http://backoffice.onec.go.th/uploads/Book/1801-file.pdf
Piaget, J. (1964). The early growth of logic in the child. Routledge and Kegan Paul.
Poompanich, S., Kaewurai, W., Sutthirat, C., & Savagpun, P. (2019). The development of curriculum to enhance learning design competence on coaching and mentoring for municipalities teachers. Journal of Education Naresuan University, 21(1), 261-276. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/79521
Prommaboon, T., Intakanok, P., Homjan, W., Boongthong, S., Imboonta, B., Yodsara, S., & Raungsit, W. (2020). The development of testing system of core competency for learners at the primary school to enhance the quality of learner in the 21st century. Office of the Official Information (OIC). http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER6/DRAWER059/GENERAL/DATA0000/00000379.PDF
Sanguanrat, S., & Parunggul, C. (2021). Curriculum and competency-based teaching in school. The Journal of Sirindhornparidhat, 22(2), 351-364. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jsrc/article/view/251951
Sarerat, B. (2021). Competency based curriculum. http://bit.ly/3tVI3Hs
Sutthinarakorn, W., Abdulsata, P., & Sutthinarakorn, S. (2021). Development of competency-based curriculum and meaningful learning management. Siamparitut Publishing.