การพัฒนาแอปพลิเคชันบนมือถือผ่านระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ เรื่อง ฟังก์ชัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันบนมือถือผ่านระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ที่เสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ฟังก์ชัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการใช้แอปพลิเคชันบนมือถือผ่านระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ที่เสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ฟังก์ชัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ผ่านการเรียนเนื้อหา เรื่อง ฟังก์ชัน ของโรงเรียนรุ่งอรุณ และมีผลคะแนนน้อยกว่าร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) เครื่องมือสำหรับเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ 2) เครื่องมือสำหรับวัดผลและประเมินผลความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และ 3) เครื่องมือสำหรับวัดความพึงพอใจในการใช้แอปพลิเคชันบนมือถือผ่านระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ผลการวิจัย พบว่า 1) แอปพลิเคชันบนมือถือผ่านระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ที่เสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ฟังก์ชัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 78.04/73.98 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ และ 2) ความพึงพอใจในการใช้แอปพลิเคชันบนมือถือผ่านระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ที่เสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ฟังก์ชัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.96 และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.68 อยู่ในเกณฑ์พึงพอใจมาก ซึ่งผลจากการศึกษาดังกล่าว พบว่า แอปพลิเคชันที่ผู้วิจัยสร้างและพัฒนาขึ้นจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สามารถใช้ในการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนโดยสามารถนำไปใช้ร่วมกับการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ เรื่อง ฟังก์ชัน ได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Journal of Information and Learning ดำเนินการโดยสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ โดยเจ้าของลิขสิทธิ์จะมีสิทธิในการทำซ้ำ ดัดแปลง และเผยแพร่งานบทความ ทั้งรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ การทำฉบับสำเนา การแปล และการผลิตซ้ำในรูปแบบต่างๆ ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนและสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตีพิมพ์ตามความเหมาะสม รวมทั้งการตรวจทานแก้ไข การปรับข้อความ หรือขัดเกลาภาษาให้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด สำหรับผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เขียน
References
BBC NEWS THAILAND. (2017, April 14). Prathēt thī kānsưksā dī thīsut nai lōk sip ʻandap [The ten best educated countries in the world]. BBC. https://www.bbc.com/thai/international-39599359
Best, J. W. (1977). Research in education. Prentice Hall. Boonrod, V. (2020). The development of the application for basic chord aural skill practice for undergraduate students. Journal of Education Naresuan University, 22(1), 204-219. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/194681/160628
Brahmawong, C. (2013). Developmental testing of media and instructional package. Journal of Silpakorn Educational Research, 5(1), 1-20. http://www4.educ.su.ac.th/2013/images/stories/081957-02.pdf
Chaiyaprom, P., Nantasri, W., & Phengsawat, W. (2019). Development of training curriculum to enchance problem-solving skills of Bannontae school students under Sakon Nakhon primary educational service area office 3. Journal of Roi Et Rajabhat University, 13(1), 69-78. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/reru/article/view/185965/130885
Charles, R., Lester, F., & O’Daffer, P. (1987). How to evaluate progress in problem solving. The National Council of Teachers of Mathematics.
Hensberry, K. R., & Jacobbe, T. (2012). The effects of Polya’s heuristic and diary writing on children’s problem solving. Mathematics Education Research Journal, 24(1), 59-85. https://doi.org/10.1007/s13394-012-0034-7
The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology [IPST]. (2012). Thaksa læ krabūankān thāng khanittasāt [Mathematical skills and processes]. 3Q Media.
JobsDB by SEEK. (2014). Hā hētphon thammai nakphatthana lư̄ak Android [5 reasons why develipers choose Android]. JobsDB. https://th.jobsdb.com/th-th/articles/nakphatthana lư̄ak-android
Kaewsomtong, A., & Udomvech, A. (2017). The development of Android application for learning of the moment of force for secondary students. Journal of Thaksin, 20(3), 228-235. https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/tsujournal/article/view/102163/79068
Krulik, S. (1980). Problem solving in school Mathematics: Yearbook of the national council of teacher of Mathematics. NCTM.
Maneenin, A., Niramol, K., & Topithak, K. (2016). The development of mobile application in mathematics for computer subject about base number system for second year students of vocational certificate majoring in business computer. Journal of Faculty of Education Pibulsongkram Rajabhat University, 3(1), 22-33. https://doi.org/10.14456/edupsru.2016.3
Maslow, A. H. (1970). Motivation and personality (2nd edition). Harper & Row.
Pejchang, T., & Suksern, S. (2015, July 23). The development of mathematics achievement on probability for Mattayom 5 students by the Polya process [Paper presentation]. National and International Conference on Interdisciplinary Research for Sustainable Community 15th, Nakhon Sawan, Thailand.
Polya, G. (1957). How to solve it. Princeton. Princeton University Press.
Samnakngān khana kammakān kānsưksā hǣng chāt. (2017). Māttrathān kānrīanrū læ tūa chī wat (chabap prapprung Phō̜.Sō̜. 2560) tām laksūt kǣn klāng kānsưksā naphư̄n thān Phutthasakkarāt 2551 [Learning standards and indicators (revised edition 2017) according to the core curriculum of basic education 2008]. Prime Minister’s Office.
Samnakngān khana kammakān kānsưksā naphư̄n thān. (2019). Phrarātchabanyat kānsưksā hǣng chāt Phō̜.Sō̜. 2542 kǣkhaiphœ̄mtœ̄m chabap thī 2 Phō̜.Sō̜. 2545 chabap thī 3 Phō̜.Sō̜. 2553 læ chabap thī 4 Phō̜.Sō̜. 2562 [National education act, 1999, edition 2, 2002, edition 3, 2010, and edition 4, 2019]. Prime Minister’s Office.
Semertzidis, K. (2013). Mobile application development to enhance higher education lectures [Unpublished master's thesis, The University of York]. https://www.cs.uoi.gr/~ksemer/docs/theses/msc-ksemer.pdf
Sukbanjong, J. (2016). Khwāmrū thūapai kīeokap ʻǣp phlikhēchan [General Knowledge about Application]. Jiranun Sukbunjong. https://sites.google.com/site/jiranunsuk571031217/khwam-ru-thawpi-keiyw-kab-exeph-phli-khechan
Sukoriyanto, S., Nusantara, T., Subanji, S., & Chandra, T. D. (2016). Students’s errors in solving the permutation and combination problems based on problem solving steps of Polya. International Education Studies, 9(2), 11-16. http://doi.org/10.5539/ies.v9n2p11
Sungcharaen, K. (2013). Khūmư̄ khīan iPhone Apps samrap phū rœ̄mton [Guidebook to write iPhone Apps for Beginner]. Pro-Vision.
Suwannaparsop, C. (2018). The development of VDO interaction web applications for learning for undergraduate students, Srinakharinwirot University [Master’s thesis]. DSpace at Srinakharinwirot University. http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/bitstream/123456789/350/1/gs571130115.pdf
Thailand Creative & Design Center [TCDC]. (2017). Kān khit chœ̄ng ʻō̜kbǣp: Rīanrū dūai kān longmư̄ tham [Design thinking: Learning by doing]. TCDC resource center. http://resource.tcdc.or.th/ebook/Design.Thingking.Learning.by.Doing.pdf
Witchavut, S. (2011). Čhittawitthayā kānrīanrū [Psychology of learning]. Thammasat University.
Yayuk, E., & Hussamah, H. (2020). The difficulties of prospective elementary school teachers in item problem solving for Mathematics: Polya’s steps. Journal for the Education of Gifted Young Scientists, 8(1), 361-378. https://doi.org/10.17478/jegys.665833