การพัฒนาบทเรียนมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ภาษาจีนสำหรับผู้เรียนระดับต้น
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ภาษาจีนสำหรับผู้เรียนระดับต้น 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์การใช้บทเรียนมัลติมีเดีย และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการใช้บทเรียนมัลติมีเดีย กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนโรงเรียนนวมินทราชูทิศ ทักษิณ จังหวัดสงขลา จำนวน 95 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 48 คน และกลุ่มควบคุม 47 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แบบประเมินคุณภาพของบทเรียนมัลติมีเดีย 2) บทเรียนมัลติมีเดีย ประกอบไปด้วย หนังสือมัลติมีเดียและสื่อคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย 3) แผนการจัดการเรียนรู้ที่เรียนโดยใช้บทเรียนมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ภาษาจีน 4) แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ 5) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาจีน และ 6) แบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อบทเรียนมัลติมีเดีย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่า t-test
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาคุณภาพและประสิทธิภาพของบทเรียนมัลติมีเดียมีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.76 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.37 และมีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 81.63/80.25 2) ผลการศึกษาผลสัมฤทธิ์การใช้บทเรียนมัลติมีเดียของกลุ่มทดลองที่เรียนโดยใช้บทเรียนมัลติมีเดีย สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่เรียนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยคะแนนของกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 41.79 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 6.50 และคะแนนของกลุ่มควบคุม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 36.81 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 6.12 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการใช้บทเรียนมัลติมีเดีย พบว่า ผู้เรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด โดยค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.52 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.65
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Journal of Information and Learning ดำเนินการโดยสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ โดยเจ้าของลิขสิทธิ์จะมีสิทธิในการทำซ้ำ ดัดแปลง และเผยแพร่งานบทความ ทั้งรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ การทำฉบับสำเนา การแปล และการผลิตซ้ำในรูปแบบต่างๆ ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนและสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตีพิมพ์ตามความเหมาะสม รวมทั้งการตรวจทานแก้ไข การปรับข้อความ หรือขัดเกลาภาษาให้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด สำหรับผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เขียน
References
Denonpho, M., Phetrit, N., & Pewdum, A. (2019). The development of multimedia lessons on subject of Chinese in daily life for Chandrakasem Rajabhat University students. SSRU Graduate Studies Journal, 12(1), 47-59.
Daowadung, P., Lekawipat, W., & Chansa, C. (2018). The development of multimedia website for basic Chinese conversation practice. Journal for Science and Technology Ubon Ratchathani University, 20(2), 28-41. https://li01.tci-thaijo.org/index.php/sci_ubu/article/view/182590/132967
Education Council Secretariat. (2016). Research report for the development of Chinese language teaching in Thailand synthesizes an overview. Prigwhan Company Limited.
Intharapak, A., Satiman, A., Jaroenjittakam, S., & Paiwithayasiritham, C. (2015). Effects of using problem solving multimedia lesson on the abilities of mathematics problem solving of pratomsuksa 5 students. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 8(3), 478-493.
Liyun, S. (2016). Develoment of basic Chinese Instructional activities package using cooperative learning approach for mathayom suksa 2 students at Aatit Phiboonbumpen school [Unpublished Master's thesis]. Burapha University.
Masantisuk, R. (2008). Teaching Chinese in Thailand at the primary-secondary level. Institute of Asian Studies Chulalongkorn University.
Office of the Basic Education Commission. (2020). Information system for educational administration. http://data.bopp-obec.info/emis/
Phromsorn, K. (2016). The results of the development of the use of multimedia lessons, Career and technology learning subject group (computer) grade 4, Story about creating an animated slogan story Pathum Thani as imagined with Microsoft PowerPoint 2016. Pathum Thani Primary Educational Service Area Office.
Sararak, P. (2013). The development of online multimedia by using cooperative learning activities on operating principles of the computer lesson for level 5 elementary school student, Watsrisudaram School. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 6(2), 151-166.
Sankaburanurak, S. (2017). Multimedia and technologies for teaching Chinese Language in 21st century. Veridian E-Journal, Silapakorn University, 10(3), 1239-1256.
Saenboonsong, S., Emrat, N., & Jantrasi, S. (2018). The development of multimedia for learning on search engine of seventh grade students at Wat Phrakhao School, Phranakhon Si Ayutthaya. Walailak Journal of Learning Innovations, 4(2), 1-15.
Suramanee, S., & Khwanamkham, I. (2015). Development of multimedia computer instruction entitled the ethics in the world of Information for Mathayomsuksa 5. Journal of Innovation Technology Management, 2(2), 56-63.
Tantrarungrot, P., & Jitcharoen, P. (2021, July 5). Technology support enhancing learning in the new normal. ThaiHealth Promotion Foundation. https://www.shorturl.asia/jr9EB
Thamrongthanyawonga, S., Kobjaiklang, C., & Renliang, L. (2016). Strategic partnership on economic relations. Journal of Social Development, 18(2), 127-154. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jsd/article/view/87483/69075
Waiyarat, S., Wattanachaiyot, M., & Cholwirot, B. (2014). The development of multimedia computer instruction on musical aesthetic appreciation entitled “Thai and Western music band” of faculty of humanities and social sciences Phetchaburi Rajabhat University. Journal of Humanities and Social Sciences Review, 16(2), 49-58.