องค์ความรู้ชุมชน: ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านชุมชนบาราโหม ปัตตานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) องค์ความรู้ชุมชน: ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านชุมชนบาราโหม และ 2) รูปแบบการถ่ายทอดและการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านชุมชนบาราโหม อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการ การสังเกตการณ์ การสัมภาษณ์ สื่อสารสนเทศ นำมาวิเคราะห์และสังเคราะห์จนเกิดองค์ความรู้สามารถนำไปบูรณาการใช้ประโยชน์และต่อยอดได้ในอนาคต
ผลการวิจัยพบว่า 1) ปราชญ์ชาวบ้านเป็นบุคคลต้นแบบในการสร้างองค์ความรู้ชุมชนซึ่งเป็นองค์ความรู้: ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านชุมชนบาราโหม ปัตตานี โดยวิธีการ (1) การส่งเสริมการมีส่วนร่วมในชุมชน (2) การส่งเสริมการเรียนรู้ในชุมชน (3) การส่งเสริมในการจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเป็นระบบและยั่งยืน (4) การส่งเสริมวัฒนธรรมที่ดีงามของชุมชน (5) การส่งเสริมการสร้างจิตสำนึกรักชุมชน และ (6) การส่งเสริมค่านิยมร่วมเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรมในชุมชน ซึ่งองค์ความรู้ของปราชญ์ชาวบ้านในชุมชนที่มีความหลากหลายตามความถนัดที่ได้ส่งต่อกันมารุ่นต่อรุ่นและยังคงอนุรักษ์ไว้ถึงปัจจุบัน จัดเป็นองค์ความรู้ทางสังคมและความรู้ส่วนบุคคลทั้งแบบฝังลึกในตัวคนและความรู้ที่ปรากฏชัดแจ้ง 2) รูปแบบการถ่ายทอดและการจัดการความรู้ พบว่า รูปแบบการถ่ายทอดผ่านองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นใน 2 ลักษณะ คือ (1) ภูมิปัญญาดั้งเดิม และ (2) ความรู้ใหม่ที่ผสมผสานระหว่างภูมิปัญญาดั้งเดิมกับวิทยาการสมัยใหม่ ทำให้เกิดการพัฒนากระบวนการจัดการความรู้ ประกอบด้วย การกำหนดความรู้ โดยผ่านการพิจารณาว่าเป็นความรู้ดั้งเดิมหรือความรู้ใหม่ที่ประยุกต์จากภูมิปัญญาเดิม การแสวงหาความรู้ที่มาจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในชุมชน และการแลกเปลี่ยนความรู้อย่างไม่เป็นทางการ ผ่านการพูดคุยและปรึกษาหารือทำให้เกิดเป็นความรู้ที่สำคัญ ได้แก่ 1) การจัดการความรู้ชุมชน 2) วัฒนธรรม/วิถีชุมชน 3) ผู้นำชุมชน และ 4) ทรัพยากรท้องถิ่นที่สามารถบูรณาการใช้และต่อยอดได้ในอนาคต
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Journal of Information and Learning ดำเนินการโดยสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ โดยเจ้าของลิขสิทธิ์จะมีสิทธิในการทำซ้ำ ดัดแปลง และเผยแพร่งานบทความ ทั้งรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ การทำฉบับสำเนา การแปล และการผลิตซ้ำในรูปแบบต่างๆ ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนและสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตีพิมพ์ตามความเหมาะสม รวมทั้งการตรวจทานแก้ไข การปรับข้อความ หรือขัดเกลาภาษาให้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด สำหรับผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เขียน
References
Duanguppama, S., & Pharanak, P. (2013). Transfer of local wisdom on Suea KoK (Reed Mat) weaving. Journal of Community Development and Life Quality, 1(3), 195-203. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JCDLQ/article/view/134029
Nantasuwan, V., & Raekpinit, C. (1998). Botbāt khō̜ng chumchon kap kānsưksā rāingān kānsưksā wičhai sē nō̜ nakngān khana kammakān kānsưksā hǣng chāt [The role of community and education. Research of Office of the Basic Education Commission]. Prime Minister's Office.
Office of the National Economics and Social Development Board. (2004). Sētthakit phō̜phīang khư̄ ʻarai? [What is sufficiency economy?]. Office of the National Economics and Social Development Board.
Patcharametha, T. (2016). Handicraft products and the development into the OTOP products. Silpakorn University Journal, 36(1), 67-80. https://doi.org/10.14456/sujthai.2016.6
Piyasakulkiat, O., Khiewphakdi, S., Yanatharo, P. J., Phonsiriwatcharasin K., & Priyakorn P. (2018). The role of local scholars in self-management of community. Kasem Bundit Journal, 19(Special Edition), 218-229. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jkbu/article/view/110059
Pootes, U. (2017). Process of transferring local wisdom wicker in Ban Dongchapu, Bang Maplor Sub-District, Krok Phok Phra District, Nakhon Sawan Province. Journal of MCU Social Science Review, 6(4), 180-188. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/245636
Seodee, U., (2006). A study of local wisdom transmission of making tile ceramic in Songkhla Province [Unpublished master’s thesis]. Chulalongkon University.
Somprajob, P. (2014). Phuen basketry handicraft: Knowledge management model of local wisdom for local art and culture identity value by community participation. Faculty of Liberal Arts, Rajamangala University of Technology Thanyaburi.
Songkhla Community Enterprise. (2020). Community enterprise group. SMCE-Doae. https://smce.doae.go.th/ProductCategory/SmceCategory.php
Watcharakiettisak, T. (2016). Community economic strengthening by developing community enterprise group at tambonpol songkram administration organization Nonsung District, Nakhon Ratchasima Province. Journal of Business Administration The Association of Private Higher Education Institutions of Thailand, 5(1), 43-54. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/apheitvu/article/view/95225
Wherry, F. F. (2004). Making culture work: Handicraft village in the global market [Unpublished doctoral dissertation]. Princeton University.