การพัฒนาชุดกิจกรรมการเล่านิทานร่วมกับการใช้ละครสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมทักษะการสร้างสัมพันธภาพของนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนต้น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมการเล่านิทานร่วมกับการใช้ละครสร้างสรรค์ที่มีต่อทักษะการสร้างสัมพันธภาพของนักเรียน กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเอกชนขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดลพบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 13 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินทักษะการสร้างสัมพันธภาพ ซึ่งใช้ควบคู่กับศูนย์การประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้คะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติทดสอบวิลคอกซัน
ผลการวิจัยปรากฎว่า 1) ชุดกิจกรรมการเล่านิทานร่วมกับการใช้ละครสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมทักษะการสร้างสัมพันธภาพของนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนต้น ประกอบด้วยกิจกรรม 8 กิจกรรม ที่ใช้การเล่านิทานด้วยเทคนิคการเล่านิทานรูปแบบต่างๆ เพื่อให้นักเรียนเข้าใจเรื่องราวและเชื่อมโยงมุมมองของนักเรียนกับมุมมองของตัวละคร ประกอบกับการใช้กระบวนการของละครสร้างสรรค์เพื่อให้นักเรียนได้ปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน เน้นการแสดงออกทางอารมณ์ ความรู้สึก ท่าทาง และการทำงานร่วมกับผู้อื่นผ่านการแสดงละครจากเรื่องราวของนิทานที่ได้รับฟังองค์ประกอบสำคัญของชุดกิจกรรม ได้แก่ (1) แนวคิดและลักษณะสำคัญ (2) วัตถุประสงค์ (3) กิจกรรม (4) ขั้นตอนการจัดกิจกรรม (5) แนวทางการใช้ชุดกิจกรรม และ (6) แนวทางการประเมินผล 2) นักเรียนมีค่าเฉลี่ยของคะแนนการมีทักษะการสร้างสัมพันธภาพสูงกว่าก่อนการใช้ชุดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาตามองค์ประกอบ พบว่า ทุกองค์ประกอบมีคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นการทำงานร่วมกันเป็นทีมที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้นอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Journal of Information and Learning ดำเนินการโดยสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ โดยเจ้าของลิขสิทธิ์จะมีสิทธิในการทำซ้ำ ดัดแปลง และเผยแพร่งานบทความ ทั้งรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ การทำฉบับสำเนา การแปล และการผลิตซ้ำในรูปแบบต่างๆ ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนและสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตีพิมพ์ตามความเหมาะสม รวมทั้งการตรวจทานแก้ไข การปรับข้อความ หรือขัดเกลาภาษาให้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด สำหรับผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เขียน
References
Azlina, S., Ahmad, M. F., & Abdullah, Z. (2021). Creative Drama as a teaching tool in the classroom. International Journal of Academic Research in Business and Social Sciences, 11(3), 1-6. http://dx.doi.org/10.6007/IJARBSS/v11-i3/8912
Brummelman, E., Nevicka, B., & O’Brien, J. M. (2021). Narcissism and leadership in children. Psychological Science, 32(3), 354-363. https://doi.org/10.1177/0956797620965536
Collaborative for Academic, Social and Emotional Learning [CASEL]. (2017). Sample teaching activities to support core competencies of social and emotional learning. Chicago, IL: Collaborative for Academic, Social and Emotional Learning. CASEL. https://www.casel.org/wp-content/ uploads/2017/08/Sample-Teaching-Activities-to-Support-Core-Competencies -8-20-17.pdf
Collaborative for Academic, Social and Emotional Learning [CASEL]. (2019). What is SEL?.Chicago, IL: Collaborative for Academic, Social and Emotional Learning. CASEL. https://casel.org/casel-sel-framework-11-2020/
Chungwiwaatthanaphon, P. (2004). La khǭn sāngsan samrap dek [Creative Drama for Children]. Institute of Academic Development.
Coie, J. D. (2004). The impact of negative social experiences on the development of antisocial behavior. In J. B. Kupersmidt & K. A. Dodge (Eds.), Children's peer relations: From development to intervention (243-267). American Psychological Association.https://doi.org/10.1037/10653-013
Gestwicki, C. (2014). Developmentally appropriate practice: Curriculum and development in early education (5th ed). Wardsworth.
Gordon, A. M., & Browne, K. W. (2014). Beginnings and beyond: Foundations in early childhood education. Wadsworth.
Guerra, V. S., Asher, S. R., & Derosier, M. E. (2004). Effect of children's perceived rejection on physical aggression. Journal of Abnormal Child Psychology, 32, 551-63. https://doi.org/10.1023/B:JACP.0000037783.88097.69.
Heinig, R. B., & Stillwell, L. (1981). Creative drama for the classroom teacher (2nd ed.). Prentice-Hall.
Hubbard, J. A. (2001). Emotion expression processes in children’s peer interaction: The role of peer rejection, aggression, and gender. Child Development, 72(5), 1426-1438. http://www.jstor.org/stable/3654396
Jiang, J., Zhang, Y., Ke, Y., Hawk, S. T., & Qiu, H. (2015). Can’t buy me friendship? Peer rejection and adolescent materialism: Implicit self-esteem as a mediator. Journal of Experimental Social Psychology, 58, 48-55. https://doi.org/10.1016/j.jesp.2015.01.001
Khammanee, T. (2012). Sātkānsǭn: Ong khwām rū phư̄a kān čhat kra būan kān rīan rū thī mī prasitthiphāp [Pedagogy: Knowledge for effective organization of learning processes]. Chulalongkorn University Press.
Konishi, C., & Wong, T. K. (2018). Relationships and school success: From a social-emotional learning perspective. In B. M. Blandian (Ed.), Health and Academic Achievement. IntechOpen. https://doi.org/10.5772/intechopen.75012
Kowtrakul, S. (2022). Čhitwitthayā kān sưksā [Educational Psychology] (14th ed.). Chulalongkorn University Press.
León-Jiménez, S., Villarejo-Carballido, B., López de Aguileta, G., & Puigvert, L. (2020). Propelling children’s empathy and friendship. Sustainability, 12(18), 72-88. https://doi.org/10.3390/su12187288
McCaslin, N. (1990). Creative dram in the classroom (5th ed). Longman. McCaslin, N. (2000). Creative drama in the classroom and beyond (7th ed). Pearson/Allyn and Bacon.
Panyajan, P., & Wisasa, C. (2001). Lao nithān yāng rai hai sanuk [How to tell stories in a fun way]. Amarin Baby & Kids.
RIDE. (2019). How can SEL skills be taught. IL: Rhode island department of education. https://www.ride.ri.gov/studentsfamilies/healthsafety/socialemotionallearning.aspx#18161726-4-relationship-skills
Saifah, Y. (2014). A transition between kindergarten and elementary grade classrooms: An important step of elementary school students. Journal of Education Studies, 42(3), 143-159. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/26034/22077