แนวทางการใช้สารสนเทศบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรศิลปศึกษา

Main Article Content

ทอฝัน หวานชะเอม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการใช้สารสนเทศบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรศิลปศึกษา 2) เพื่อนำเสนอแนวทางการใช้สารสนเทศบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรศิลปศึกษา กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรศิลปศึกษา จำนวน 300 คน และอาจารย์ผู้สอนในหลักสูตรศิลปศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 16 ท่าน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์


ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นของนักศึกษาเกี่ยวกับการใช้สารสนเทศบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้โดยภาพรวม มีการปฏิบัติและความสำคัญในระดับมาก แนวทางการใช้สารสนเทศบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรศิลปศึกษา สรุปได้ดังนี้


ด้านการประเมินแหล่งข้อมูล ได้แก่ อาจารย์ควรแนะนำเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือ ใช้วิธีการสะท้อนคิด ควรเป็นกลาง นักศึกษาควรตรวจสอบและเลือกใช้ข้อมูลจากเว็บไซต์ที่แสดงวันเผยแพร่ข้อมูล ใช้ภาษาถูกต้องและอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล ค้นหาข้อมูลจากเว็บไซต์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ และตรวจสอบชื่อผู้เรียบเรียงเนื้อหา


ด้านการประยุกต์สู่การเรียนรู้ ได้แก่ อาจารย์ควรให้นักศึกษานำเสนอข้อมูลและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ให้ประเด็นการหาข้อมูลแล้วให้วิเคราะห์และเรียบเรียงเป็นภาษาของตนเอง หรือประยุกต์ในการสร้างสรรค์งาน จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นการสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต สอนกระบวนการวิเคราะห์พร้อมวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกันในชั้นเรียน พิจารณาความแตกต่างของข้อมูลจากเว็บไซต์ต่าง ๆ และเลือกใช้ข้อมูลที่ตรงตามวัตถุประสงค์ของการค้นหา


ด้านจริยธรรมการใช้ข้อมูล ได้แก่ อาจารย์ควรสอนนักศึกษาให้มีความรู้เรื่องลิขสิทธิ์และสัญญาอนุญาตแบบเปิด ควรอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่นำมาใช้สอน และให้นักศึกษาประมวลเนื้อหาแล้วเรียบเรียงใหม่แต่ยังต้องอ้างอิงแหล่งข้อมูล

Article Details

How to Cite
หวานชะเอม ท. (2023). แนวทางการใช้สารสนเทศบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรศิลปศึกษา. Journal of Information and Learning [JIL], 34(3), 11–23. https://doi.org/10.14456/jil.2023.30
บท
บทความวิจัย

References

Anderson, L. W., Krathwohl, D. R., Airasian, P. W., Cruikshank, K. A., Mayer, R. E., Pintrich, P. R., Raths, J., & Wittrock, M. C. (2001). A taxonomy for learning, teaching, and assessing: A revision of Bloom’s taxonomy of educational objectives. Longman.

Chumintarajak, P. A. (2015). Information literacy behavior for research of undergraduate student of Dhurakij Pundit University. Dhurakij Pundit University.

Department of Intellectual Property, Ministry of Commerce. (2017). Khwāmrū bư̄angton dān sapsin thāng panyā [Introduction to intellectual property]. Konmek publishing. https://www.ipthailand.go.th/images/Promote/2_book_DIP.pdf

Dobbs, S. M. (1992). The DBAE handbook: An overview of discipline-based art education. Getty Center for Education in the Arts.

Khamsombat, K. (2019). Information literacy and perceive self-efficacy of student Rajabhat University northeast. Rajabhat Maha Sarakham University. http://fulltext.rmu.ac.th/fulltext/2562/M127640/Khamsombat%20Kanjana.pdf

Khorphon, S., Pankeaw, J., Sarobol, T., Choopun, K., Chomchan, S., & Boonlue, N. (2019). Promoting of critical thinking skills in nursing students through reflective thinking. Nursing Journal, 46(1), 87-101. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/180710/128268

Kijpaisalratana, N. (2014). Inquiring-selecting-reading-writing: Skills for learning in social sciences. Chulalongkorn University Press.

Maitaothong, T. (2020). Thaksa kān rū sārasonthēt nai satawat thī 21 [Information literacy skills in the 21st century]. Greenlife printing house.

Naretorn, W. (2017). Kān rū sārasonthēt nai satawat thī 21 [Information literacy in the 21st century]. Nakhonratchasima Rajabhat University.

Nasongkhla, J. (2014). © vs public domain knowledge on a cyberspace. In P. Koraneekit, N. Songkram, & J. Khlaisang (Eds.), Rūam bot khwām ʻong thēknōlōyī læ sư̄sān kānsưksā: nawatkam kānrīanrū bǣp phasomphasān [Collected articles of educational technology and communications: Blended learning innovation]. Chulalongkorn University Press.

Nasongkhla, J. (2018). Digital learning design. Chulalongkorn University Press.

Panleow, J. (2019). Improving students’ information literacy skills in senior project in Information Science course at faculty of Informatics, Mahasarakham University [Master’s thesis, Mahasarakham University]. Mahasarakham University Intellectual Repository. http://202.28.34.124/dspace/bitstream/123456789/793/1/59011280501.pdf

Pawinun, P. (2022). Guidelines for information and digital literacy skills development of secondary education students. TLA Bulletin, 66(1), 87-103. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/tla_bulletin/article/download/253225/173078

Saengloetuthai, J., Thongnin, P., Booncherdchoo, N., Maneerat, C., Srisopha, Y., & Takomsane, M. (2020). Action learning. Academic Journal of Phetchaburi Rajabhat University, 10(3), 155-163. https://journal.pbru.ac.th/admin/upload/article/5729-2021-04-05.pdf

Saengumnat, Z., Suksangprasit, J., & Patsat, A. (2021). Promoting the acknowledgement of copyright law of Rambhai Barni Rajabhat University students using multimedia. Rambhai Barni Rajabhat University.

Sintapanon, S., Sukying, F., Weerakiatsunthorn, J., & Naparat, P. (2019). Lāklāi withī sō̜n . . . phư̄a phatthanā khunnaphāp yaowachon Thai [Variety of teaching methods to develop the quality of Thai youth]. 9119 Technic Printing.

Techataweewan, W. (2019). Information literacy for project writing (3rd ed.). Faculty of Humanities, Srinakharinwirot University.