ผลการใช้ชุดกิจกรรมศิลปะ เรื่องการระบายสี ที่ส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาศิลปะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านโคกตา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมศิลปะ เรื่อง การระบายสี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ตามเกณฑ์ 80/80 และเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมศิลปะ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนบ้านโคกตา อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 30 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้มี 3 ชนิด คือ 1) ชุดกิจกรรมศิลปะ จำนวน 3 ชุด 2) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้ชุดกิจกรรมศิลปะ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาศิลปะ เรื่อง การระบายสี สถิติที่ใช้ จำแนกเป็น 2 ประเภท สถิติที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ได้แก่ การหาความเที่ยงตรง การหาค่าความยากง่าย การหาค่าอำนาจจำแนก และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน t-test dependents
ผลการวิจัย พบว่า 1) ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมศิลปะ เพื่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาศิลปะ เรื่อง การระบายสี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.67/83.44 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการใช้ชุดกิจกรรมศิลปะของนักเรียนสูงกว่าก่อนใช้ชุดกิจกรรมศิลปะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Journal of Information and Learning ดำเนินการโดยสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ โดยเจ้าของลิขสิทธิ์จะมีสิทธิในการทำซ้ำ ดัดแปลง และเผยแพร่งานบทความ ทั้งรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ การทำฉบับสำเนา การแปล และการผลิตซ้ำในรูปแบบต่างๆ ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนและสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตีพิมพ์ตามความเหมาะสม รวมทั้งการตรวจทานแก้ไข การปรับข้อความ หรือขัดเกลาภาษาให้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด สำหรับผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เขียน
References
Benjaporn, K. (2018). Study of creative painting by activity for children 7-9 years [Unpublished master's thesis]. Srinakharinwirot University.
Bunchom, S. (2013). Preliminary research (9th ed.). Suwareeyasan.
Butrsemiyn, A. (2020). The development of learning activity package on we love rayong cooperative learning, stad technique for mathayomsuksa 1 students [Unpublished master's thesis]. Burapha University.
Kaewwohan, L. (2019). Development of skills training the color of wood. Art learning group matthayom 2. Songkhla Primary Educational Area Service Office 2. http://www.ska2.go.th/reis/data/research/25640706_192922_1664.pdf
Lowenfeld, V., & Britain, W. (1987). Creative and mental growth. Macmillan.
Oraphinthorn K. (2016). Development of visual arts activity sets according to constructivism [Unpublished master’s thesis]. Dhurakij Pundit University.
Panpotijan, N. (2019). Learning experience by using creative art activity to promote development of creativity for 3rd kindergarten. Journal of Educational Technology and Communications Faculty of Education Mahasarakham University, 3(8), 107-117. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/etcedumsujournal/article/view/244477
Potisut, L., Chanrueang, P., & Chaloeywared, N. (2012). The development of learning activity package on the top of painting for the art learning areas for prathomsuksa 4 students. Journal for Social Sciences Research, 3(1), 49-62. http://dept.npru.ac.th/jssr/data/files/6.ปีที่%203%20ฉบับที่%201%20%283.1%20เรื่องที่%203%29.pdf
Preeyaporn, K. (2015). Development and implementation of using art activity packages for creative thinking of prathomsuksa 4 students [Unpublished master's thesis]. Chiangmai Rajabhat University.
Prin, T. (2009). Development of a visual arts learning model to develop thinking creativity for doctor of philosophy students [Unpublished master’s thesis]. Khon Kaen University.
Rung K., (1999). Revolutionizing Thai education. Matichon.
Sirikanna, J., Phewngam, S., Utawan, S., Klaitong, P., & Taweepong, P. (2023). Innovative process for higher-order thinking skill development in digital classroom management. Journal of MCU Nakhondhat, 10(3), 420-434. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/268635
Srisa-ard, B. (2017). Kanwichai bưangton [Basic research] (10th ed.). Suviriyasarn.
Supaton, B., & Boonsong, S. (2013). Development of art activity sets for grade 4 students: An application of Torrance’s Theory of creativity, Journal of Technical Education Rajamangala University of Technology Thanyaburi, 1(2), 109-116. https://www.teched.rmutt.ac.th/wp-content/uploads/2016/08/13-เบญจมาศ-สุภาทอน-หน้าที่-109-116.pdf
Thipkong, S. (2002). Laksut læ kanso̜n khanittasat [Curriculum and instruction in mathematics]. Institute of Academic Development