การพัฒนาบทเรียนออนไลน์แบบเปิดสำหรับมหาชนตามทฤษฎีคอนเนคติวิซึม รายวิชา เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาอภิวัฒน์ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนออนไลน์แบบเปิดสำหรับมหาชนตามทฤษฎีคอนเนคติวิซึมที่ส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน รายวิชา เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาอภิวัฒน์ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์แบบเปิดสำหรับมหาชนตามทฤษฎีคอนเนคติวิซึมที่ส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน รายวิชา เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาอภิวัฒน์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เรียนที่ลงทะเบียนเรียนในระบบ PSU MOOC รายวิชา เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาอภิวัฒน์ จำนวน 45 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายด้วยวิธีการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) เนื้อหาบทเรียนออนไลน์ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) บทเรียนออนไลน์แบบเปิดสำหรับมหาชน 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานแบบกลุ่มเดียว t-test dependent ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาบทเรียนออนไลน์แบบเปิดสำหรับมหาชนมีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.83, SD = 0.30) 2) ผลของผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียนออนไลน์แบบเปิดสำหรับมหาชนตามทฤษฎีคอนเนคติวิซึมที่ส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน รายวิชา เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาอภิวัฒน์ พบว่า ผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Journal of Information and Learning ดำเนินการโดยสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ โดยเจ้าของลิขสิทธิ์จะมีสิทธิในการทำซ้ำ ดัดแปลง และเผยแพร่งานบทความ ทั้งรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ การทำฉบับสำเนา การแปล และการผลิตซ้ำในรูปแบบต่างๆ ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนและสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตีพิมพ์ตามความเหมาะสม รวมทั้งการตรวจทานแก้ไข การปรับข้อความ หรือขัดเกลาภาษาให้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด สำหรับผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เขียน
References
Boonkate, W., Pheeraphan, N., & Pradubwate, R. (2022). The development of learning management model and instruments for promoting adversity quotient in the context of the digital age by using the concept of connectivism for undergraduate students with different personalitie. Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology, 7(5), 194-211. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/256651
Jirasophin, L. (2021). The development of a massive open online course on go and business thinking skills development subject. Panyapiwat Journal, 13(3), 213-225. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/251693
Kulpradit, Y., Jiravarapong, B., Sengsri, S., & Bunchongchit, K. (2019). A development of an instructional system on small private online course for general education course for naresuan university. Journal of Education Naresuan University, 21(4), 254-270. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/92350
Napapongs, W. (2009). The research in educational technology and innovation. Pattani Karnchang.
Nitisak, W., & Pattanasit, S. (2014). Development of instructional model via internet on connectivism for student university of life project, Chaiyaphum Rajabhat University. Sripatum Chonburi Academic Journal, 12(2), 104-113. https://www.chonburi.spu.ac.th/journal/booksearch/upload/1470-011_development.pdf
Phayakkhadach, P., & Jongkong, S. (2019). Connectivism a study of learning outcomes on the creativity with globalization unit of grade 11 students by using cippa model and connectivism learning theory. Journal of Education, 30(1), 104-114. https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/education2/article/view/5942
Promta, U., & Wongsa, S. (2018). Effects of the instructional management using the flipped classroom modeltogether with lessons on social networks in the‘self-actualization for teachers’ course. Nakhon Phanom University Journal, 8(3), 34-42. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/npuj/article/view/151761
Rathachatranon, W. (2019). Determining an appropriate sample size for social science research: The myth of using Taro Yamane and Krejcie & Morgan method. Journal of Interdisciplinary Research: Graduate Studies, 8(Special), 11-28. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/243621
Ruamkaew, K., Simmatun, P., & Samavardhanae, K. (2016). Open learning model base on connectivism for enhancing the undergraduate students’ creative thinking. Prae-wa Kalasin Journal of Kalasin University, 3(1), 45-63. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Praewa-ksu_Journal/article/view/89438
Sonseeda, A., & Chanla, W. (2017). Roles of information and communication technology to education. Journal of Kasetsart Educational Review, 32(2), 1-5. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/eduku/article/view/246554
Tinnawas, N., & Thammetar, T. (2016). The study of massive open online course model for thai higher education. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 9(3), 1463-1479. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/75698
Yingpratanporn, H., Pattanasit, S., & Srifa, P. (2021). Learning model based on connectivism and cognitive neuroscience on application to enhance analytical thinking for undergraduate students. Journal of Graduate Studies Valaya Alongkorn Rajabhat University, 15(2), 224-235. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JournalGradVRU/article/view/242825