การพัฒนารูปแบบสร้างเสริมศักยภาพครูนวัตกรด้วยกลยุทธ์เชิงบูรณาการสำหรับครูสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

Main Article Content

สุภาณี เส็งศรี
ธงชัย เส็งศรี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการสร้างเสริมศักยภาพครูนวัตกรด้วยกลยุทธ์เชิงบูรณาการสำหรับครูสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2) เพื่อทดลองใช้รูปแบบดังกล่าวในสภาพจริง และ 3) เพื่อจัดทำแนวทางในการสร้างเสริมศักยภาพครูนวัตกร รูปแบบที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหาการออกแบบและพัฒนาครูนวัตกร 4) กิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเป็นครูนวัตกร และ 5) การวัดและประเมินผล ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูจากโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคเหนือตอนล่าง โดยเลือกตัวอย่างแบบสุ่ม จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสอบถาม และแบบวัดผลการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์เชิงพรรณนาและการทดสอบ t-test ผลการวิจัย พบว่า ครูที่เข้าร่วมการฝึกอบรมมีคุณลักษณะการเป็นนวัตกรสูงกว่าก่อนการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การพัฒนาทักษะดังกล่าวช่วยให้ครูสามารถออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นการสร้างนวัตกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ การส่งเสริมการเรียนรู้และการพัฒนานวัตกรรมผ่านชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ช่วยให้ครูสามารถแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ร่วมกัน และสร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการทดลองและการสร้างสรรค์ การใช้เทคโนโลยีและสื่อการสอนที่ทันสมัย พร้อมทั้งการจัดหาทุนสนับสนุนสำหรับครูในการพัฒนาและทดลองนวัตกรรมการสอน ช่วยให้การเรียนการสอนมีความน่าสนใจและมีประสิทธิภาพมากขึ้น การพัฒนาระบบประเมินและติดตามผลการพัฒนาครูอย่างต่อเนื่องช่วยให้สามารถปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการสอนได้ตามความต้องการ การส่งเสริมการวิจัยและการพัฒนาวิชาชีพช่วยให้ครูสามารถเรียนรู้และปรับปรุงการสอนของตนเองได้อย่างต่อเนื่อง

Article Details

How to Cite
เส็งศรี ส., & เส็งศรี ธ. (2024). การพัฒนารูปแบบสร้างเสริมศักยภาพครูนวัตกรด้วยกลยุทธ์เชิงบูรณาการสำหรับครูสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. Journal of Information and Learning [JIL], 35(3), 13–24. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jil/article/view/274318
บท
บทความวิจัย

References

Blendata. (2021, April 25). Big data + AI kāntham ngā nō̜rō̜wō̜ nakha ʻong sutyō̜t theknōlōyī thī chūai yok radap thurakit hai phrō̜m thuk kān khǣng khan [Big data + AI: The synergy of cutting-edge technologies for business advancement in a competitive world. https://www.blendata.co/big-data-ai-การทำงานร่วมกันของ-2-สุ

Blendata. (2024, April 25). Yuk Society 5.0 khư̄ ʻarai ? theknōlōyī mī botbāt kap chīwit khǣ nai ? thammai ? thura kit tō̜ ʻong rē ngō̜ prap tūa trīam rap kān plīanplǣng [What is the Society 5.0 era? How much does technology play a role in life? Why? Businesses must quickly adapt and prepare for change]. https://www.blendata.co/ยุค-society-5-0-คืออะไร-เทคโนโลยีจ

Burns, T., & Gottschalk, F. (2020). Education in the digital age: Healthy and happy children, educational research and innovation. OECD.

Chambers, R. (1997). Whose reality counts? Putting the first last. Intermediate Technology Publications.

Chumphae, T. N. (2021). Nawattakō̜n [Innovator]. Knowledge Sharing. https://www.thailibrary.in.th/2021/04/07/innovator

Dewey, J. (1938). Experience and education. Kappa Delta Pi.

Fullan, M., & Langworthy, M. (2014). A rich seam: How new pedagogies find deep learning. Pearson.

Gardner, H. (1983). Frames of mind: The theory of multiple intelligences. Basic Books.

Jantuem, T., & Srivichain, T. (2019). Development a program to enhance teacher's to use and develop innovative technologies for learning of school local administration organization. Sisaket Rajabhat University Journal, 13(2), 13-25. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sskrujournal/article/view/210624

Kolb, D. A. (1984). Experiential learning: Experience as the source of learning and development. Prentice Hall.

Kurusapha: Secretariat Office of the Teachers’ Council of Thailand. (2018). Report on professional development for teachers. Kurusapha.

Masaharu, K. (2021, March). Smart mobility challenge. Public Relations Office Government of Japan. https://www.gov-online.go.jp/eng/publicity/book/hlj/html/202103/202103_01_en.html

Piaget, J. (1969). Science of education and the psychology of the child. Viking Press.

Stasewitsch, E., Dokuka, S., & Kaufeld, S. (2022) Promoting educational innovations and change through networks between higher education teachers. Tertiary Education and Management, 28(1), 61-79. https://doi.org/10.1007/s11233-021-09086-0

Thipsuwun, N., Boonchit, Y., & Jaroensuk, B. (2022). Teacher development in creating learning management innovation at Maharat Ban Sangaroon School under Suratthani Primary Education Service Area Office 2. SRU Intellectual Repository. http://www.ir.sru.ac.th/bitstream/123456789/943/1/is_adm_65nuntida.pdf

Trilling, B., & Fadel, C. (2009). 21st century skills: Learning for life in our times. Jossey-Bass.