การพัฒนารูปแบบกระบวนการนำเข้าสินค้าจากประเทศจีนของธุรกิจค้าปลีกในประเทศไทย กรณีศึกษา : ธุรกิจทเวนตี้ช๊อบ

ผู้แต่ง

  • Teerapat Fukaew
  • Kattiya T. Yangyuen
  • Panita Wannapiroon3

บทคัดย่อ

การพัฒนารูปแบบกระบวนการนำเข้าสินค้าจากประเทศจีนของธุรกิจค้าปลีกในประเทศไทย.กรณีศึกษา.:.ธุรกิจทเวนตี้ช๊อบ.เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องและรูปแบบกระบวนการนำเข้าสินค้าจากประเทศจีนของธุรกิจค้าปลีกในประเทศไทย กรณีศึกษา : ธุรกิจทเวนตี้ซ๊อบ และเพื่อพัฒนารูปแบบกระบวนการนำเข้าสินค้าจากประเทศจีนของธุรกิจค้าปลีกในประเทศไทย และเพื่อประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบกระบวนการนำเข้าสินค้าจากประเทศจีนของธุรกิจค้าปลีกในประเทศไทย วิธีดำเนินการวิจัย 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องและกระบวนการนำเข้าสินค้าจากประเทศจีนของธุรกิจค้าปลีกปลีกในประเทศไทยกรณีศึกษา.:.ธุรกิจทเวนตี้ช๊อบ.ตอนที่.2 ประเมินประสิทธิภาพรูปแบบกระบวนการนำเข้าสินค้าจากประเทศจีนของธุรกิจค้าปลีกในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือผู้ประกอบการร้านค้าปลีกในประเทศไทยบริเวณเขตกรุงเทพและปริมณฑลได้แก่ ร้านทเวนตี้ช๊อบ 30.ร้าน เฟรทฟอร์เวิร์ดเดอร์ จำนวน.10.คนผู้ทรงคุณวุฒิสำหรับประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบ 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์แบบวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาแบบประเมินประสิทธิภาพรูปแบบกระบวนการ.และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้.ค่าเฉลี่ย.และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า 

1./รูปแบบกระบวนการนำเข้าสินค้าจากประเทศจีนของธุรกิจค้าปลีกในประเทศไทยที่พิจารณาว่ามีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย 3 กระบวนการหลัก คือ 1.1 กระบวนการนำเข้าสินค้าผ่านเลตเตอร์ออฟเครดิต.L/C.1.2.กระบวนการนำเข้าสินค้าผ่านเฟรทฟอร์เวิร์ดเดอร์ และ 1.3 กระบวนการนำเข้าสินค้าผ่านกลยุทธ์นำเข้าแบบแฟรนไซส์

2./รูปแบบกระบวนการนำเข้าสินค้าจากประเทศจีนของธุรกิจค้าปลีกในประเทศไทยมีประสิทธิภาพ อยู่ในระดับมากสุด.ค่าเฉลี่ยเท่ากับ.4.52.ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.01 รูปแบบกระบวนการนำเข้าสินค้าผ่านกลยุทธ์นำเข้าแบบแฟรนไซส์ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ.4.74. ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.02.รองลงมา.ได้แก่.รูปแบบกระบวนการนำสินค้าผ่านเฟรทฟอร์เวิร์ดเดอร์ค่าเฉลี่ยเท่ากับ.4.44.ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ.0.05.และรูปแบบกระบวนการนำเข้าสินค้าผ่านเลตเตอร์ออฟเครดิต.L/C.ค่าเฉลี่ยเท่ากับ.4.38.ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ.0.05.ตามลำดับ

References

จรรยา.ดาสา..2553..การประเมินและติดตามผลหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิทยา
ศาสตรศึกษา.(แผน ข)..บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรจน์

ชูเพ็ญ.วิบุลสันติ..2550..การวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อน.(จุดด้อย).โอกาสและอุปสรรค.(ความเสี่ยง)
ขององค์กร.SWOT.Analysis..(ออนไลน์).แหล่งที่มา.:.www.pharmacy.cmu.ac
h/pharmcare/pharad/swot982.htm สืบค้นข้อมูลเมื่อ 5 มิถุนายน 2548


ธัญญ์ธีรา.อภิกุลวราศิษฐ์..2557 นำเข้า-ส่งออกออนไลน์.Alibaba.มือใหม่ก็รวยได้..กรุงเทพฯ.
พิมพ์ครั้งที่ 1 : สำนักพิมพ์ วิตตี๊กรุ๊ป (Witty Group)


นทิสม์ ศิริวัฒนเจริญ. 2550. TRADE@HOME.ไขการค้าข้ามโลกผ่านเว็บ. กรุงเทพฯ. พิมพ์ครั้งที่ 1 สำนักพิมพ์ วิตตี๊กรุ๊ป (Witty Group)

บุญชม.ศรีสะอาด..2543. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.


ปิยนุช.เชยคนชม..2552 การศึกษาผลกระทบการนำเข้าสินค้าจากจีนภายใต้กรอบ.ACFTA
ผลกระทบและการปรับตัวของผู้ผลิตในอุตสาหกรรมกระเป๋าไทย..งานวิจัยตามหลักสูตร. เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต..มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สุพัตรา ห.เพียรเจริญ. 2557.นำเข้าออนไลน์สินค้าจากจีน 2nd Edition.พิมพ์ครั้งที่ 1. สำนักพิมพ์ ไอดีซีพรีเมียร์ จำกัด

ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน..2558..ข้อมูลปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสาธารรัฐประชาชนจีน. (ออนไลน์)..แหล่งที่มา
www.thaibizchina.com/thaibizchina/th.สืบข้อมูลเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2558


อารีย์ เชื้อเมืองพาน และคณะ. 2554. รายงานการวิจัย เรื่องประสิทธิภาพทางเศรษฐศาสตร์ของ
กลุ่มออมทรัพย์ในเขตภาคเหนือตอนบน. สํานักวิจัยส่งเสริมการเกษตร. มหาวิทยาลัยแม่โจ้

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03-06-2017

How to Cite