การศึกษาเชิงวิเคราะห์คัมภีร์โสตัพพมาลินี
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง การศึกษาเชิงวิเคราะห์คัมภีร์โสตัพพมาลินี มีวัตถุประสงค์การศึกษาวิจัย ๓ ประการ คือ (๑) เพื่อศึกษาประวัติและพัฒนาการของคัมภีร์โสตัพพมาลินีฉบับวัดสูงเม่น อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ (๒) เพื่อปริวรรตตรวจชำระคัมภีร์โสตัพพมาลินี ฉบับวัดสูงเม่น อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ ให้เป็นภาษาบาลีตัวอักษรไทย และแปลเป็นภาษาไทย (๓) เพื่อวิเคราะห์คัมภีร์โสตัพพมาลินี ฉบับวัดสูงเม่น อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่
ผลการวิจัยพบว่า คัมภีร์โสตัพพมาลินีฉบับวัดสูงเม่น จังหวัดแพร่ เป็นคัมภีร์ใบลานที่จารคัดลอกมาจากวัดวิชุนราช เมืองหลวงพระบาง ประเทศลาว โดยครูบากัญจนอรัญวาสีมหาเถรแห่งวัดสูงเม่น ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๓๗๙ โดยมีหลักเกณฑ์การปริวรรตคือ (๑) ปริวรรตตามต้นฉบับ (๒) ยึดตามสำเนียงของการอ่าน และ (๓) สามารถแปลความหมายเป็นภาษาไทยได้ การตรวจชำระ กระทำโดยการเทียบเคียงกับฉบับที่ปริวรรตจากภาษาขอม เพื่อให้สามารถแปลเนื้อหาที่จะนำมาเป็นประโยชน์ในการศึกษาพระพุทธศาสนาและเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตได้
คัมภีร์โสตัพพมาลินีแต่งขึ้นเพื่อแนะนำวิธีการฟังธรรมที่ถูกต้อง ทุกเรื่องในคัมภีร์ล้วนแต่เป็นการตั้งใจฟังพระสัทธรรมโดยความเคารพไม่ว่าผู้ใดจะเป็นผู้แสดงก็ตาม หากฟังด้วยความเคารพและนำไปปฏิบัติย่อมเกิดปัญญา เพื่อการดับทุกข์ได้ ยิ่งไปกว่านั้นยังสะท้อนให้เห็นว่า การจะบรรลุถึงองค์ธรรมที่แท้จริงนั้น ไม่เพียงจะให้ความสำคัญกับผู้แสดงหรือเนื้อหาธรรม แต่ผู้ฟังจะต้องมีศรัทธาในพระรัตนตรัยเป็นเบื้องต้นด้วย การแต่งคัมภีร์มีลักษณะเป็นความเรียงร้อยแก้วล้วนเน้นความชัดเจน เข้าใจง่าย และรัดกุม และนำเสนอไปตามลำดับการแต่งคัมภีร์บาลีโดยทั่วไป คือ อุทเทสนิทเทสและปฏินิทเทสโดยรวบรวมข้อมูลจากคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา เช่น พระไตรปิฎก อรรถกถา รวมถึงนิทานพื้นบ้านศรีลังกามาเล่าประกอบ เมื่อนำหลักเทสนาหาระในคัมภีร์เนตติปกรณ์มาวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียของการฟังธรรมพบว่า การฟังธรรมโดยความเคารพมีข้อดีคือนำมาซึ่งความสุข ปัญญา กระทั่งความหลุดพ้นมาสู่ตน แต่หากตั้งใจฟังธรรมโดยไม่ระวังหรือรอบคอบอาจทำให้เกิดทุกข์แก่ตนเองและคนรอบข้างได้ อย่างไรก็ตามคัมภีร์ได้ชี้ทางออกของปัญหาไว้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับจริตของแต่ละบุคคล แต่ล้วนเริ่มต้นจากการตั้งใจฟังโดยความเคารพและศรัทธา เพื่อใช้ปัญญาที่เกิดขึ้นเป็นกุญแจเปิดประตูสู่ความหลุดพ้นหรืออย่างน้อยให้ได้รับผลตามที่ต้องการ ดังช้างที่สามารถยกตนเองขึ้นจากหล่มได้ฉันใด บุคคลย่อมยกตนขึ้นจากกิเลสได้ฉันนั้น.
References
คัมภีร์โสตัพพมาลินี. คัมภีร์ใบลานฉบับวัดสูงเม่น อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่.
คุณารักษ์ นพคุณ. เนตติปกรณ์แปล และ เนตติสารัตถทีปนี. กรุงเทพฯ : หจก.ทิพยวิสุทธิ์, ๒๕๔๔.
จำรูญ ธรรมดา, บรรยาย. เนตติฏิปปนีศึกษาเชิงวิเคราะห์พระไตรปิฎก. กรุงเทพฯ : ไทยรายวันการพิมพ์, ๒๕๔๖.
พระมหากัจจายนเถระ. เนตติปกรณ์. แปลโดย พระคันธสาราภิวงศ์. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ไทยรายวันการพิมพ์, ๒๕๕๐.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ ๒๕๐๐. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๕.
พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
อรรถกถาภาษาบาลี. ฉบับมหาจุฬาอฏฺกถา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๒.
เนตฺติอฏฺกถา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์วิญญาณ, ๒๕๓๙.
เนตฺติ - เปฏโกปเทสปกรณํ. ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๐.
ข. ข้อมูลทุติยภูมิ
(๑) หนังสือ :
คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ : ไทยรายวันการพิมพ์, ๒๕๕๓.
ประคอง นิมมานเหมินท์. “พุทธศาสนากับวรรณคดีลานนา”, ลานนาไทยคดี. เชียงใหม่ : ศูนย์หนังสือเชียงใหม่, ๒๕๒๑.
พรรณเพ็ญ เครือไทย, บรรณาธิการ. วรรณกรรมพุทธศาสนาในล้านนา. เชียงใหม่ : สุริวงศ์บุ๊คเซ็นเตอร์, ๒๕๔๐.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. กรุงเทพฯ : บริษัท สื่อตะวัน จำกัด, ๒๕๔๕.
พระธรรมมหาวีรานุวัตร. พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๓.
เพนธ์, ฮันส์. ประวัติความเป็นมาของล้านนาไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๒. เชียงใหม่ : สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ๒๕๓๒.
มณี พยอมยงค์. ประวัติวรรณคดีลานนา. พิมพ์ครั้งที่ ๒. เชียงใหม่ : สุริวงศ์บุ๊คเซนเตอร์, ๒๕๑๖.
ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมศัพท์ปรัชญาอังกฤษ - ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๓๒.
ลมูล จันทร์หอม. วรรณกรรมท้องถิ่นล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ ๔. เชียงใหม่ : สุริวงศ์บุ๊คเซนเตอร์, ๒๕๓๘.
วัดสูงเม่น อ.สูงเม่น จ.แพร่. คัมภีร์ใบลานกับงานประเพณีตากธรรม. แพร่ : โรงพิมพ์ธุรกิจแพร่, ๒๕๕๒.
สมควร ถ้วนนอก, ปริวรรต. พระมหาไพโรจน์ ญาณกุสโล, รุ่งอรุณ จันทร์สงคราม และ จำรูญ ธรรมดา, ตรวจชำระ. โสตัพพมาลินี. กรุงเทพฯ : หจก. ประยูรสาส์นไทยการพิมพ์, ๒๕๕๔.
สมหมาย เปรมจิตต์ และคณะ. โครงการปริวรรตพระคัมภีร์ล้านนา : ปริวรรตและแปลพร้อมกับความนำ. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา, ๒๕๔๖.
สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. เชียงใหม่ : โรงพิมพ์ช้างเผือก, ๒๕๒๙.
สุชีพ ปุญญานุภาพ. พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน. พิมพ์ครั้งที่ ๑๒. กรุงเทพฯ : มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๓๓.
แสง มนวิทูร, แปล. ศาสนวงศ์หรือประวัติศาสนา. กรุงเทพฯ : รุ่งเรืองธรรม, ๒๕๐๖.
(๒) วิทยานิพนธ์:
นวชัย เกียรติก่อเกื้อ. “การประเมินการตีความตัวบทตามแนวทางพระพุทธศาสนาเถรวาท”. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๔.
ปริญญา กายสิทธิ์. “ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในล้านนาไทยตั้งแต่ พ.ศ. ๑๙๑๒ – ๒๑๐๑”.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, ๒๕๒๘.
ปรุตม์ บุญศรีตัน. “รูปแบบการตีความคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร- ดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๐.
พระมหาสุทิตย์ อาภากโร (อบอุ่น). “การศึกษาองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ปรากฏในวรรณกรรมพระพุทธศาสนาเรื่องอานิสงส์และคัมภีร์ที่ใช้เทศน์ในเทศกาลต่างๆของล้านนา”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๘.