การศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการตามหลักการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ ของโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน จังหวัดพิษณุโลก
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรม, การจัดการเรียนรู้, การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน, การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาการบริหารงานวิชาการตามหลักการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ของโรงเรียนเอกชนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน จังหวัดพิษณุโลก โดยนำด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดมาทำแบบสัมภาษณ์ ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยผู้มีประสบการณ์ทำงานไม่ต่ำกว่า 10 ปี และมีคุณวุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาโท จำนวน 7 ท่าน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง และเป็นการเก็บข้อมูลแบบสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า แนวทางในการพัฒนาการบริหารงานวิชาการตามหลักการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ของโรงเรียนเอกชนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนจังหวัดพิษณุโลก สรุปได้ดังนี้ 1) ด้านการวางแผนกลยุทธ์ ผู้บริหารสถานศึกษาทำความเข้าใจกับบุคลากรสร้างความตระหนัก ให้ความรู้อบรมจัดตั้งคณะกรรมการชุมชนเข้ามามีบทบาทในการจัดทำแผนกลยุทธ์นำไปใช้ตรงแผนที่วางไว้มีการติดตาม ตรวจสอบ แนะนำจนเป็นวัฒนธรรม 2) ด้านการกำหนดตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน ผู้บริหารสถานศึกษา จัดอบรม ให้ความรู้ ทำความเข้าใจแต่งตั้งคณะทำงานประชุมจัดทำอนุมัติเพื่อนำไปใช้ 3) ด้านการวัดและการตรวจสอบผลการดำเนินงานผู้บริหารสถานศึกษามีการนิเทศ ภายใน จัดประชุมชี้แจง วางแผน และมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ กำหนดบทบาทหน้าที่ จัดอบรม นำมาวิเคราะห์ได้อย่างถูกต้อง โดยผู้เชี่ยวชาญอย่างเป็นระบบ นำผลการตรวจสอบการวิเคราะห์มาการดำเนินงานไปใช้แก้ไขปรับปรุง 4) ด้านการให้รางวัลตอบแทนผู้บริหารสถานศึกษา ประชุมชี้แจงร่วมกันสร้าง กฎ กติกา แรงจูงใจชื่นชม ยกย่อง คัดเลือกผู้ด้วยความเป็นธรรมและโปร่งใสประกาศชื่นชมและยกย่องสร้างเป็นวัฒนธรรมและอุดมการณ์ร่วมกันเพื่อสร้างสรรค์บุคลากรให้มีขวัญและกำลังใจที่ดี
References
พระนครศรีอยุธยา.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2). (2545). [ออนไลน์].
แหล่งที่มา : https://www.mwit.ac.th/~person/01-Statutes/National Education.pdf. (วันที่สืบค้นข้อมูล :
16 มีนาคม 2558).
วสันต์ ปรีดานันต์. (2553). การบริหารวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดเทศบาลเมืองสมุทร
สงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพฯ.
ข้าราชการพลเรือน, สำนักงาน. (2545). การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ คืออะไร?. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา :
http://www.ocsc.go.th/homepage/Page6/rbmth.htm.3. (วันที่สืบค้นข้อมูล : 25 มีนาคม 2558)
.(2545). ลักษณะความสำคัญของมุ่งผลสัมฤทธิ์. [ออนไลน์].
แหล่งที่มา: https://www.gotoknow.org/posts/519451. (วันที่สืบค้นข้อมูล : 25 มีนาคม 2558).
คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. (2543). รายงานการศึกษาแนวทางการบริหารและจัดการ
การศึกษาของสถานศึกษาในรูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์
คุรุสภา.
คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน, สำนักงาน. (2550). คู่มือการพัฒนาระบบการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์.
กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.
สมพร วงศ์วิธนู. (2555). การบริหารงานแนะแนวโดยใช้วงจรเดมมิ่ง (PDCA) ของโรงเรียนขยายโอกาส
ทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2. (วิทยานิพนธ์
ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยพะเยา. พะเยา.
สมพร วงศ์วิธนู. (2555). การบริหารงานแนะแนวโดยใช้วงจรเดมมิ่ง (PDCA) ของโรงเรียนขยายโอกาส
ทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2. (วิทยานิพนธ์
ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยพะเยา. พะเยา.
สุดารัตน์ พลอยระย้า และนงลักษณ์ ใจฉลาด. (2559, กุมภาพันธ์). การศึกษาแนวทางการพัฒนาการ บริหารงานวิชาการตามหลักการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ของโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาเอกชน จังหวัดพิษณุโลก. วารสาร The 38thNational Graduate Research
Conference. Volume 3.2 : 677-678.
Kaplan R. S. & Norton, D.P. (1996). Using the Balanced Scorecard as a Strategy Management System :
Harvard Business Review.
Schuster, Elsins Marie. (1987). A Study of the Local School Long Range Planning Process in the Arch diocese
of Chicago :Dissertation Abstracts International.