รูปแบบการจัดการวางผังพื้นที่ของชุมชนเพื่อรองรับภัยพิบัติแผ่นดินไหว ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงของรอยเลื่อนแม่จัน
บทคัดย่อ
เหตุการณ์ภัยพิบัติแผ่นดินไหว เป็นเหตุการณ์ที่ยากที่จะคาดเดาว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไร ดังนั้นการเตรียมรับมือกับภัยแผ่นดินไหวเป็นส่วนสำคัญในการที่จะลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้น ซึ่งพื้นที่ศึกษาตั้งอยู่พื้นที่เสี่ยงแผ่นดินไหวบนรอยเลื่อนแม่จัน โดยทำการศึกษาลักษณะการวางผังชุมชน อาคารและสิ่งปลูกสร้าง สำหรับการนำมาออกแบบผังพื้นที่ปลอดภัย เพื่อวางแผนและจัดเตรียมพื้นที่รองรับผู้ประสบภัยเมื่อเกิดเหตุการณ์ การจัดเตรียมเส้นทางอพยพ พร้อมทั้งจัดเตรียมแผนที่และสัญลักษณ์บอกเส้นทางไปยังพื้นที่ปลอดภัย
ผลจากการศึกษาพบว่าในชุมชนมีสิ่งปลูกสร้างทั้ง 1,230 หลัง การใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นการใช้ประเภทอาคารเป็นที่พักอาศัยมากที่สุด งานวิจัยนี้ได้วิเคราะห์ถึงโอกาสที่จะเกิดแผ่นดินไหว ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะเกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.0-6.9 ริกเตอร์ได้ สำหรับเตรียมรับมือกับภัยแผ่นดินไหวได้กำหนดพื้นที่ปลอดภัยทั้งหมด 10 จุด และเส้นทางสัญจรในชุมชนนำมาพิจารณาร่วมกับตำแหน่งของพื้นที่ปลอดภัยเป็นเส้นทางที่สามารถเชื่อมต่อกับชุมชนภายนอก เส้นทางที่สามารถการเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัย และการอพยพไปยังพื้นที่ปลอดภัย
References
ทยากร จันทรางศุ. 2557. ความรู้เกี่ยวกับแผ่นดินไหวและการก่อสร้างอาคารให้มั่นคงแข็งแรงเพื่อรับมือแผ่นดินไหว. [ออนไลน์] [อ้างเมื่อ 28 ต.ค. 2559]. เข้าถึงได้จาก: http://eit.or.th/DownloadDocument/ความรู้เกี่ยวกับแผ่นดินไหวและการก่อสร้างอาคารให้มั่นคงแข็งแรงเพื่อรับมือแผ่นดินไหว_ทยากร%20จันทรางศุ. Pdf.
ศูนย์ประสานงานเพื่อตรวจสอบอาคาร เนื่องจากภัยพิบัติแผ่นดินไหว จังหวัดเชียงราย. 2557. แบบสรุปความเสียหายเหตุภัยพิบัติแผ่นดินไหวประจำวันที่ 30 พ.ค. 2557. สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดภาคเหนือ.
สุคนธ์เมธ จิตรมหันตกุล. (2557). รอยเลื่อนและแผ่นดินไหว จังหวัดเชียงราย 2557. วิชาการธรณีไทย[อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 3 พ.ย. 2558]. เข้าถึงได้จาก: http://www.geothai.net/2014-Chiangrai-earthquake/
อมร พิมานมาศ. (2555). ประเทศไทยเสี่ยงต่อแผ่นดินไหวและสึนามิแค่ไหนและจะรับมืออย่างไร. พิมพ์ครั้งที่ 1 .กรุงเทพมหานคร: สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
