การพัฒนาสื่อประสมวิชาภาษาอังกฤษระดับปฐมวัย สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก ในเขตพื้นที่ตำบลเวียงชัย

ผู้แต่ง

  • Srinuan Fongmanee

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์สามประการได้แก่ 1) เพื่อพัฒนาสื่อประสมวิชาภาษาอังกฤษระดับปฐมวัย สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์การเรียนโดยใช้สื่อประสมวิชาภาษาอังกฤษระดับปฐมวัย สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการใช้สื่อประสมวิชาภาษาอังกฤษระดับปฐมวัย สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก ประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ นักเรียนระดับชั้นปฐมวัยของโรงเรียนบ้านศรีเวียง หมู่ 3 ตำบลเวียงชัย จำนวน 10  คน และครูผู้สอนระดับชั้นปฐมวัยของโรงเรียนบ้านศรีเวียงหมู่ 3 ตำบลเวียงชัย จำนวน 2 คน รวมทั้งหมด 12 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบไปด้วย 1) แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับเนื้อหาบทเรียนของสื่อประสมวิชาภาษาอังกฤษระดับปฐมวัย สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก 2) แบบทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษ ระดับปฐมวัย และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อสื่อประสมวิชาภาษาอังกฤษระดับปฐมวัย สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก และได้ดำเนินการเก็บข้อมูล และนำมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยปรากฏดังนี้

  1. ผลการตรวจสอบความเหมาะสมของเนื้อหาต้นแบบสื่อประสมวิชาภาษาอังกฤษระดับปฐมวัย สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก พบว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X} = 4.10 , S.D. = 0.74)
  2. ผลการทดสอบการใช้งานของต้นแบบสื่อประสมวิชาภาษาอังกฤษระดับปฐมวัย สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก พบว่า ใช้งานได้ในระดับมาก        (gif.latex?\bar{X} = 3.86 , S.D. = 0.88)
  3. ผลการศึกษาผลสัมฤทธิ์การเรียนโดยใช้สื่อประสมวิชาภาษาอังกฤษระดับปฐมวัย สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก พบว่า มีนักเรียนที่ได้คะแนนทดสอบหลังใช้สื่อประสมเพิ่มขึ้นจากคะแนนทดสอบก่อนใช้สื่อประสม จำนวน 10 คน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 100 ของนักเรียนทั้งหมด
  4. ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ ที่มีต่อสื่อประสมวิชาภาษาอังกฤษ ระดับปฐมวัย สำหรับโรงเรียนขนาดเล็กโดยรวมพบว่าผูใช้มีความพึงพอใจระดับมาก ( gif.latex?\bar{X}= 3.80 , S.D. = 0.95)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2547). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 (สำหรับเด็กอายุ 3-5 ปี). (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

จิรภรณ์ วสุวัต มั่นเศรษฐวิทย์. การพัฒนาความสามารถทางภาษาของเด็กปฐมวัยที่ทำกิจกรรมศิลปะด้วย นิ้วมือ. สืบค้นเมื่อ 4 มิถุนายน 2557
http://www.tnrr.in.th/rir/index.php?page=researching&nid=295745.

ทิศนา แขมมณี. (2552). รูปแบบการเรียนการสอน:ทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน:องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2548). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS.พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร:บริษัท วี.อินเตอร์ พริ้นท์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2543). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย (ครั้งที่ 6).กรุงเทพมหานคร : สุรีวีริยาสาส์น.

บุปผชาติ ทัฬหิกรณ์ และคณะ. (2544). ความรู้เกี่ยวกับสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา. กรุงเทพมหานคร :โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ. (2538). เทคนิตการวิจัยทางการศึกษา.(พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ :สุวีริยาสาส์น.

สุมิตรา ชาตานันท์. (2541). การพัฒนาความพร้อมทางภาษาของเด็กปฐมวัย โดยใช้สื่อประสม.

กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย.

'สพฐ.'แจงปี56ไม่ยุบเลิกร.ร.ขนาดเล็ก. (14 พฤษภาคม 2556). คมชัดลึก.สืบค้นจากhttp://www.komchadluek.net/news/edu-health/158459

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-05-2018

How to Cite