ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชนระดับ 5 ดาว จังหวัดลำปาง
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชน ระดับ 5 ดาว จังหวัดลำปาง มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาบริบทด้านการดำเนินการและการบริหารจัดการของวิสาหกิจชุมชน (2) วิเคราะห์ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการดำเนินธุรกิจ และ (3) เสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดลำปางให้มีความยั่งยืน ข้อมูลเก็บรวบรวมจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนใน 5 กลุ่ม ที่กำหนดศึกษาจำนวน 144 ราย จากผู้ประกอบการทั้งสิ้น 233 ราย โดยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นเครื่องมือ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาในรูปของการแจกแจงความถี่ การกระจายร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน กรณีของข้อมูลที่รวบรวมได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึกใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)
ผลการศึกษาสามารถสรุปได้ดังนี้
ทั้ง 5 กลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดลำปางที่กำหนดศึกษา ซึ่งประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการคัดสรรให้เป็นสุดยอดหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย ระดับ 5 ดาว ประจำปี พ.ศ.2556 ได้แก่ 1) ผลิตภัณฑ์เทียนหอมกระบอกไม้ไผ่จิรภาเทียนหอม 2) ผลิตภัณฑ์สบู่เหลวชีวภาพ 3) ผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋นทวีพรรณ 4) ผลิตภัณฑ์ผ้าคลุมเตียงแจ้ซ้อนเสลา และ 5) ผลิตภัณฑ์ผ้าปูโต๊ะน้ำมอญ มีรูปแบบการดำเนินการ และ การบริหารจัดการที่คล้ายคลึงกัน กล่าวคือ มีการเลือกบุคคลที่มีทักษะความสามารถในด้านการสร้างผลิตภัณฑ์และเป็นผู้ที่สมาชิกให้ความเคารพนับถือเป็นประธานกลุ่ม มีการแต่งตั้งบุคคลขึ้นมาเพื่อรับผิดชอบฝ่ายต่างๆ ในโครงสร้างของการบริหารจัดการ กรณีของปัจจัยที่สมาชิกมีความเห็นว่ามีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการดำเนินการมากที่สุดคือปัจจัยด้านการบริหารจัดการ รองลงมาคือ ปัจจัยด้านการตลาด แนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาธุรกิจให้มีความเข้มแข็ง ประกอบด้วย (1) ผู้ประกอบการต้องมีความซื่อสัตย์และมีวินัย (2) การดำเนินการต้องเน้นการมีส่วนร่วมและความเท่าเทียมกันของมวลสมาชิก หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องต้องให้การสนับสนุนช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของการแสวงหาตลาดและการเพิ่มคุณภาพและความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ และ (3) ต้องมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่ออิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการดำเนินการ
References
อย่างยั่งยืน. สืบค้นเมื่อ มิถุนายน 2558, จากhttp://www.moac.go.th/builder/aid/articleupdate.php?id=86.
คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำนักงาน. (2549). แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10: สังคม
ที่มีความสุขอย่างยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร: สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
ใจมานัส พลอยดี. (2542). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จและความล้มเหลวของธุรกิจชุมชน : เปรียบเทียบระหว่างภาพรวมและภาพย่อย (อำเภอคำเขื่อนแก้วจังหวัดยโสธร และอำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช). วิทยานิพนธ์ปริญญาเศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชาย โพธิสิตา. (2547). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ : อัมรินทร์พริ้นติ้ง.
ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ และ พิทยา ว่องกุล. (2554). วิสาหกิจชุมชน กลไกเศรษฐกิจฐานราก. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : เอดิสันเพลส โปรดักส์.
ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ. (2542). แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับปัจจัยความสำเร็จ. กรุงเทพฯ : เอดิสันเพลส โปรดักส์.
ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ (2542). ธุรกิจชุมชน : เส้นทางที่เป็นไปได้. กรุงเทพฯ. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : สุวีริยาศาสน์.
ไพรัตน์ ฤทธิ์ประเสริฐ. (2540). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลขององค์กรประชาชนในการประกอบ ธุรกิจขนาดย่อมนอกภาคเกษตรกรรม. กรุงเทพฯ: วิทยานิพนธ์ สส.ม., มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
มูลนิธิชัยพัฒนา. “เศรษฐกิจพอเพียง”, สืบค้นจาก www.chaipat.or.th เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2559.
วิน เชื้อโพธิ์หัก. (2546). การพัฒนาบุคคลและการฝึกอบรม. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์
ศุภวุฒิ สายเชื้อ. “คิดแบบเศรษฐกิจกระแสหลัก”. สืบค้นจาก www.sarut-homesite.net เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2559
เสรี วงษ์มณฑา. (2542). กลยุทธ์การตลาด : การวางแผนการตลาด. กรุงเทพฯ: เพชรจรัสแสงแห่งโลกธุรกิจ.
Krejcie, Robert V. and Morgan, Daryle W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement.
The World Bank Group. “What is Sustainable Development”, Retrieved from www.worldbank.org on June3, 2016