การประยุกต์ใช้ของเล่นพื้นบ้านล้านนา : เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาเกี่ยวกับการเล่นและของเล่นพื้นบ้านล้านนา เพื่อประยุกต์และพัฒนาของเล่นเด็กพื้นบ้านล้านนาให้เหมาะกับพัฒนาการเด็กปฐมวัย โดยใช้เครื่องมือการวิจัยคือแบบสำรวจและแบบสอบถาม แบบสังเกต ซึ่งมีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและภาคสนาม มาทำการวิเคราะห์แบบอุปนัย และวิเคราะห์โดยการจำแนกชนิดข้อมูล ประชากรที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ ประชาชนที่อยู่อาศัยในจังหวัดลำปางผู้ที่เกี่ยวข้องกับของเล่นพื้นบ้านล้านนา พบว่าเด็กชอบเล่นประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลาตามที่เคยเห็นผู้ใหญ่ทำ ปัจจุบันเด็กจะเล่นของเล่นที่เป็นของสำเร็จรูปแล้วเป็นส่วนใหญ่ ส่วนมากเด็กจะเล่นกับสิ่งต่าง ๆ ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ และกระบวนการประยุกต์และพัฒนาของเล่นพื้นบ้านล้านนาเพื่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยการเล่นส่วนใหญ่ของเด็กล้านนามีการละเล่นและของเล่นหลายอย่างที่สะท้อนถึงการเล่นที่ใช้จินตนาการมีความสอดคล้องกับการพัฒนาความฉลาดด้านต่างๆ เช่น ความฉลาดที่เกิดจากการเล่นเกิดความความเชื่อว่าการเล่นสามารถพัฒนาความฉลาดของเด็กได้หลายด้านทั้งพัฒนาการทางด้านร่างกาย พัฒนาการทางด้านอารมณ์ ความเฉลียวฉลาด ความคิดสร้างสรรค์และพัฒนาทางทางด้านสังคม การละเล่นและของเล่นของเด็กล้านนาที่สามารถประยุกต์กับทฤษฎีความสัมพันธ์ของการ์ดเนอร์คือปัญญาด้านภาษา เป็นความสามารถในการใช้ภาษาอย่างถูกต้องตามหลักไวยากรณ์มีการสื่อสารที่เชื่อมโยงกับภาษาไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัญญาด้านตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ เช่น การจัดลำดับผู้เล่นเกมส์ด้วยวิธีการต่างๆ จะช่วยส่งเสริมให้เด็กได้เข้าใจในการเรียงลำดับความสำคัญ อุปกรณ์การเล่นล้านนาหลายๆอย่างทำให้เด็กๆได้เรียนรู้เรื่องของรูปร่างและรูปทรง ทั้งสองมิติและสามมิติได้เป็นอย่างดีเช่น เต่ากะลา ซึ่งมีรูปร่างครึ่งวงกลมปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ สามารถที่จะเข้าใจได้อย่างชัดเจนและถูกต้อง สามารถที่จะนำข้อมูลด้านมิติให้ออกมาเป็นภาพได้ มีความเฉียบแหลมในการดึงภาพออกจากความคิดมาสร้างเป็นงานศิลปะ ซึ่งการละเล่นพื้นบ้านและของเล่นพื้นบ้านล้านนาที่ส่งเสริมปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ และปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหวการเล่นและของเล่นพื้นบ้านล้านนา สามารถส่งเสริมปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว
References
ธนวรรณ เวียงสีมา. (2546). การเล่นเพื่อดึงความสนใจเฉพาะเด็กออทิสติกของเล่นสามารถ
ประยุกต์ เป็นสื่อในการเรียนรู้ของเด็กออทิสติก. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย
ราชภัฏนครราชสีมา
ธิตินัดดา จินาจันทร์. (2555). การละเล่นพื้นบ้านของเด็กล้านนากับการส่งเสริมพหุปัญญา.
จังหวัดเชียงใหม่. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ทิศนา แขมมณี. (2553). การสอนจิตวิทยาการเรียนรู้เรื่องศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัด
กระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย
ลัดดาวัลย์ กันหสุวรรณ.(2547). ของเล่นและเกมทางวิทยาศาสตร์.กรุงเทพฯ:ไทยวัฒนาพานิช
สมชาย วงศ์สุริยศักดิ์. (2546). พัฒนาเครื่องเล่นเพื่อพัฒนาศักยภาพเด็กพิการทางสายตา.
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ : เชียงใหม่
สุรสิงห์สำรวม ฉิมพะเนาว์. (2520). การเล่นพื้นบ้านล้านนา.มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่:
เชียงใหม่
วราภรณ์ รักวิจัย. (2557). การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย.มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒประสานมิตร.
กรุงเทพฯ
อนัญญา ไทยบุญนาค. (2548). การออกแบบเพื่อพัฒนาชุดทักษะการออกแบบประดิษฐ์ของเล่น
พื้นบ้านสำหรับเด็ก.สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.กรุงเทพฯ