ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีเรียนแบบร่วมมือร่วมกลุ่มที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความรับผิดชอบ การมีส่วนร่วมและความพึงพอใจของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

ผู้แต่ง

  • Nongluck Jaichalad

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีเรียนแบบร่วมมือร่วมกลุ่มที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความรับผิดชอบ การมีส่วนร่วมและความพึงพอใจของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษา จำนวน 50 คน ซึ่งได้มาโดยการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 5 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การเรียน แบบสอบถามวัดความรับผิดชอบและการมีส่วนร่วมในการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอน ดำเนินการวิเคราะห์ด้วยการหาค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Division) และการทดสอบค่าที (t - test)

ผลการวิจัย พบว่า 1) คะแนนสอบหลังเรียนของนักศึกษาสูงกว่าก่อนเรียน  2) ความรับผิดชอบในการเรียนของนักศึกษา ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 3) การมีส่วนร่วมในการเรียนของนักศึกษา ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 4) ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอน ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด 

References

กินาริน ตันเสียงสม. (2548). การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ด้านการอ่านจับ
ใจความสำคัญของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่สอนด้วยวิธีสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้
เทคนิค STAD กับวิธีสอนแบบปกติ. ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาหลักสูตร
และการสอน) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

แพรวพรรณ บรรจงศิริทัศน์. (2548). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง ลิลิตตะเลง
พ่ายชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างการจัดกรรมกิจกรรมด้วยกลุ่ม Co-op Co-op กับการจัด
กิจกรรมตามคู่มือครู. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (สาขาหลักสูตรและการสอน)
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ฐิติรัตน์ ศิลาจันทร์. (2543). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษชั้นประถมศึกษาปีที่3โดย
วิธีการสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษาและการเรียนแบบร่วมมือกันเรียนรู้.ปริญญานิพนธ์
ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต (สาขาการสอนภาษาอังกฤษ) คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

บุญชม ศรีสะอาด. 2554. การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

วาสนา สวนสีดา. (2548). การเปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเชิงวิเคราะห์ของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่สอนด้วยวิธีสอนแบบร่วมมือ กับเทคนิค CIRC และวิธีสอนอ่านเพื่อ
การสื่อสาร. ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาหลักสูตรและการสอน) บัณฑิต
วิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

รัชนี มณีโกศล. (2540). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนความรับผิดชอบและความคงทนทางการ
เรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่องการหารที่เรียนโดยวิธีการเรียน
แบบร่วมมือ. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (สาขาการมัธยมศึกษา) บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

ลำดวน ชาวไธสง. (2549). การเปรียบเทียบผลการเรียนเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
(ภาษาอังกฤษ) เรื่อง คำกริยา คำคุณศัพท์ คำบุพบท ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีการเรียน
โดยใช้โปรแกรมบทเรียน และการเรียนร่วมมือแบบ STAD. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (เทคโนโลยี
การศึกษา). มหาสารคาม : บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศึกษาธิการ, กระทรวง. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับ
ที่ 2) พุทธศกราช 2545. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา.

สุนันท์ พรหมประกอบ. (2546). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมของ
นักศึกษาอาชีวศึกษา. ปริญญานิพนธ์คหกรรมมหาบัณฑิต (สาขาการพัฒนาครอบครัวและ
สังคม) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เสาวภาคย์ เศรษฐศักดาศิริ. (2549). การศึกษาผลการรู้คณิตศาสตร์เรื่องเศษส่วนที่สอนด้วยวิธีสอนแบบ
ร่วมมือกันเทคนิคกลุ่มแข่งขัน (TGT) และเทคนิคกลุ่มสัมฤทธิ์ (SAD)ของนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 4. ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาหลักสูตรและวิธีสอน)
บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศิลปากร.

เสาวลักษณ์ พิศนุย. (2546). การพัฒนากิจกรรมประกอบการสอนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษโดยใช้วิธีการ
เรียนรู้ แบบร่วมมือกันสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนพิศาลปุณณวิทยา
จังหวัดขอนแก่น. ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาการสอนภาษาอังกฤษใน
ฐานะภาษาต่างประเทศ) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สมวงษ์ แปลงสพโชค. (2546). ปัญหาการเรียนการสอนคณิตศาสตร์. กรณีศึกษา : ความคิดเห็นของครู
คณิตศาสตร์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เข้ารับการอบรมโครงงานคณิตศาสตร์ วันที่ 23 –
24 ตุลาคม 2546. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุธรรมมา ภูจอมดาว. (2549). การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการกลุ่มความ
ร่วมมือแบบ Co-op Co-op เรื่องสภาพแวดล้อมรอบตัวเรากลุ่มสังคมศึกษา ศาสนาและ
วัฒนธรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2.การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต (สาขาหลักสูตร
และการสอน) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

อนันต์ งามสะอาด. (2551). การพัฒนาคุณลักษณะทึ่พึงประสงค์ของนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคเดชอุดมด้วย
กิจกรรมการเรียนรู้เชิงบูรณาการ.กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-05-2018

How to Cite