การศึกษาการรู้จักสัญลักษณ์ล้านนาของเยาวชนในจังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • Phawantree Noo-Un

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรู้จักสัญลักษณ์ล้านนาของเยาวชนในจังหวัดเชียงราย โดยยึดข้อมูลสัญลักษณ์ล้านนามาจากหนังสือ “คติความเชื่อพื้นบ้านล้านนา” มีการวิเคราะห์และคัดเลือกสัญลักษณ์ที่จะนำมาทำการศึกษาร่วมกับกลุ่มคนสูงวัย เป็นจำนวน 20 สัญลักษณ์ล้านนา โดยนำทฤษฎีสัญลักษณ์ของเพียร์ซ (Peirce’s sign theory) มาใช้ในการวิเคราะห์ กลุ่มเป้าหมายคือ เยาวชนที่มีอายุระหว่าง 15-25 ปี ซึ่งเป็นคนมีถิ่นฐานอยู่ในจังหวัดเชียงรายจำนวน 100 คน แบบสอบถามที่นำมาใช้นั้น แบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักๆ คือ ข้อมูลทั่วไป การรู้จักสัญลักษณ์ล้านนา และข้อมูลเพิ่มเติมอื่นๆ การศึกษาพบว่าทฤษฎีสัญลักษณ์ของเพียร์ซสามารถนำมาใช้กับสัญลักษณ์ล้านนาได้ และพบว่ามีสัญลักษณ์เพียง 6 ชนิดเท่านั้นที่เยาวชนรู้จักคือ จั๊กกิ้ม เกิบ นกเค้าผีกะ ขวัญ ส้มป่อย และผีเอาเด็กซ่อน ในทางตรงกันข้ามมีสัญลักษณ์ล้านนา 14 ชนิดที่เยาวชนไม่รู้จักคือ แมว แกว่งข้าว ขั้นบันได ครก กาแล จั๊กไคร ฟักหม่น กล้วยแฝด ตากผ้า กินบกจกลง การกวาด ต๊กโต เขม่น และหอยจูบ ในจำนวนนี้มีผู้หญิงเป็นกลุ่มที่รู้จักสัญลักษณ์ล้านนามากที่สุด

References

udrey U.A.A. Swift, J. G. (2008, April). Gender Differences in the Adaptive
Influence of Folk Beliefs : A Longtiudinal Study of Life Satisfaction in Aging. Canadian Journal of Behavioural Science,
Volume 40 (No.2), http://dx.doi.org/10.1037/0008-400X.40.2.104

Deledalle, G. (2000). Charles S. Peirce's Philosophy of Signs : Essays in Comparative
Semiotics. USA: Indiana University Press.

Chetthaphatthanawanit, Khomneth. (1997). The Lanna Beliefs. Chiang Mai: Social Research Institute,
Chiang Mai University. (คติความเชื่อพื้นบ้านล้านนา)

Kulabkhao, Kalaya. (2007). The Development of a Basic Lanna Langauge Curriculum for Higher
Secondary Students (Master of Education). Uttaradit Rajabhat University. http://tdc.thailis.or.th/.
(ป-อต. 495.917072 ก 117 ก)

Rachapiboon, Chanakit. (2010). The Study of Online Social Networks Behavioir and their Impact
on High school students in Bangkok. (Master of Science in Industrial Education). King Mongkut's
University Of Technology Thonburi. http://tdc.thailis.or.th/. (EDT757)

Treeyasorasai, Kunanya. (2005). The Analysis of Thai Believe in Aspect of the Explanation by
Using Science Reasons. (Master of Arts in Thai Language). Naresuan University.
http://tdc.thailis.or.th/. (GR312 ค632บ 2548)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-05-2018

How to Cite