การพัฒนาบุคลากรครูในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน

ผู้แต่ง

  • Ascharaporn Keawjan
  • Phubet Poungkaew

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการพัฒนาบุคลากรครูในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหาร
ส่วนจังหวัดลำพูน และเพื่อเสนอวิธีการพัฒนาบุคลากรครูในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ รองปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูนผู้อำนวยการกองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม หัวหน้างานฝ่ายกองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน บุคลากรครูทั้ง 3 โรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน ปีการศึกษา 2558 รวมทั้งสิ้น 49 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย (1.) แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้องของข้อความและเนื้อหาที่ต้องการวัดอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา เท่ากับ 0.981 (2.) แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และ (3.) แบบตรวจสอบความเหมาะสม สถิติใช้ประกอบด้วย ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพมาวิเคราะห์เนื้อหาสรุปเป็นความเรียง

ผลการวิจัย พบว่า สภาพการพัฒนาบุคลากรครูในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ สมรรถนะการพัฒนาผู้เรียน รองลงมา คือ สมรรถนะการสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชนเพื่อการจัดการเรียนรู้ และรองลงมา คือ สมรรถนะการบริหารจัดการชั้นเรียน ตามลำดับ วิธีการพัฒนาบุคลากรครูในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน พบว่า วิธีการพัฒนาบุคลากรครูในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ ฝึกปฏิบัติตนตามนโยบายขององค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน “วิถีครูบา งานหน้าหมู่” รองลงมา คือ การสอนงานโดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมของสถานศึกษาที่จัดขึ้น รองลงมา คือ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการจัดกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน รองลงมา คือ การสอนงาน (Coaching) และ
การเป็นพี่เลี้ยง (Mentoring) กับชุมชน และรองลงมา คือ การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาสมรรถนะและศักยภาพของบุคลากรครูทั้งภายในและภายนอกองค์กร ตามลำดับ

            ความเหมาะสมของวิธีการพัฒนาครูในในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน พบว่า “วิถีครูบา งานหน้าหมู่” มีความเหมาะสมมากที่สุด รองลงมามีความเหมาะสมในระดับมาก คือ การสอนงานโดยให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมของสถานศึกษา และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการจัดกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน ตลอดจนการสอนงานและการเป็นพี่เลี้ยงการพัฒนาสมรรถนะของครู

References

กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักประสานและพัฒนาการจัดการการศึกษาท้องถิ่น. (2550). คู่มือแนวทาง
การจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริม การปกครองส่วนท้องถิ่น.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2558.
จาก : http://www.banprak-nfe.com/doc/edu-2542-1.pdf.

คณะกรรมการดำเนินการจัดการความรู้ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชธานี (2558). การวิจัยในชั้นเรียน.
สืบค้นเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2558. จาก : http://graduate.rtu.ac.th/pdf.

ถวิล อรัญเวศ. (2558). ผู้บริหารกับการครองตน ครองคน และครองงาน : สุดยอดนักบริหาร. สืบค้นเมื่อวันที่ 31
มีนาคม 2558. จาก : http://km.obec.go.th/main/research/201303180004482137994.pdf.

ธวัช กงเติม. (2554). รายงานการศึกษาส่วนบุคคล เรื่อง แนวทางการพัฒนาสมรรถนะครู สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2. สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ

นฤมล จันทร์ต๊ะฝั้น. (2554). การใช้แหล่งเรียนรู้ในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนทุ่งกว๋าว

วิทยาคม จังหวัดลำปาง. (การค้นคว้าแบบอิสระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปฏิวัติ บุนประสิตร์ และคณะ. (2551-2552,ตุลาคม-มกราคม). การจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของ
นักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยรา
ราชภัฏวไลยอลงกรณ์ พระบรมราชูปถัมภ์ ปีที่ 2 ฉบับที่ 3 สืบค้นเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2558.
จาก : http://grad.vru.ac.th/pdf-journal/JourTs23/11-Patiwat.pdf.

พัฒนา ว่องธนาการ. (2551). การดำเนินการด้านการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ของโรงเรียน
โกวิทธำรงเชียงใหม่. (การค้นคว้าแบบอิสระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย).
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

รัตนา กาญจนพันธุ์. (2546). ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน. พิมพ์ครั้งที่ 1. มหาวิทยาลัยรามคำแหง
วรรณ์ชัย จองแก. (2554). การปฏิบัติตามสมรรถนะประจำสายงานของครู โรงเรียนวังเหนือวิทยา
อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. (การค้นคว้าแบบอิสระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วีระชัย จิวะชาติ. (2558). ยุทธศาสตร์การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา. สืบค้นเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2558. จาก : https://www.gotoknow.org/posts/17754

ศศิธร ขันติธรางกูร. (2551,มีนาคม). การจัดการชั้นเรียนของครูมืออาชีพ. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 สืบค้นเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2558. จาก : http://www.km.ictbk.net/download/1319102120_
book12.pdf.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ. 2555-2559. สำนักนายกรัฐมนตรี

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2556). บทวิเคราะห์สถานภาพการพัฒนาครูทั้งระบบและข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาครู เพื่อคุณภาพผู้เรียน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด

สุรพันธ์ สินลี้. (2552). การปฏิบัติงานความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนขยาย
โอกาสทางการศึกษา ในอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน. (การค้นคว้าแบบอิสระ
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เผยแพร่แล้ว

25-05-2018

How to Cite