การวางแผนทางการเงินก่อนเกษียณอายุของอาจารย์ไทย ในสถานศึกษาเอกชนระดับอุดมศึกษาฝั่งธนบุรี

ผู้แต่ง

  • Aree Peaosakulpun

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการวางแผนทางการเงินก่อนเกษียณอายุของอาจารย์ไทย     ในสถานศึกษาเอกชนระดับอุดมศึกษาฝั่งธนบุรี โดยมีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 300 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามการเตรียมความพร้อมในการวางแผนทางการเงินก่อนเกษียณอายุของอาจารย์ไทย แบ่งออกเป็น 5 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านเศรษฐกิจ 2) ด้านที่อยู่อาศัย 3) ด้านสุขภาพร่างกาย 4) ด้านสังคม และ 5) ด้านทัศนคติ ผู้วิจัยทำการเก็บรวมรวมข้อมูลจากแบบสอบถามแล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

            ผลการวิจัย พบว่า อาจารย์ไทยในสถานศึกษาเอกชนระดับอุดมศึกษาฝั่งธนบุรี มีการเตรียม       ความพร้อมในการวางแผนทางการเงินก่อนเกษียณอายุอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.40 หากพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การเตรียมความพร้อมในการวางแผนทางการเงินด้านทัศนคติ และด้านสุขภาพร่างกาย อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.68 และ 4.66 ส่วนในด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ และด้านที่อยู่อาศัย    มีเตรียมความพร้อมในการวางแผนทางการเงินอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.46 4.13 และ 4.05 ตามลำดับ

            หากพิจารณาในแต่ละด้านที่อาจารย์ไทยในสถานศึกษาเอกชนระดับอุดมศึกษาฝั่งธนบุรี มีการเตรียมความพร้อมในการวางแผนการเงินที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ 1) ด้านเศรษฐกิจ มีการเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับการทำประกันสุขภาพ ประกันชีวิต สะสมทรัพย์ 2) ด้านที่อยู่อาศัย มีการวางแผนเกี่ยวกับการมีบ้าน เป็นของตนเองเพื่อพักอาศัยหลังเกษียณอายุ 3) ด้านสุขภาพร่างกาย มีการเตรียมพร้อมโดยเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี 4) ด้านสังคม มีการเตรียมความพร้อมโดยให้สมาชิกในครอบครัวช่วยเหลือเกื้อกูล ซึ่งกันและกันรวมทั้งใช้เวลาว่างในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกันเสมอ และ 5) ด้านทัศนคติ มีการเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับการวางแผนเตรียมเก็บออมเงินไว้ใช้ เพื่อไม่ให้เป็นภาระกับครอบครัวและสังคม เมื่อเกษียณอายุแล้ว

References

กาญจนา หงส์ทอง. (2551). เข็มทิศการเงิน. กรุงเทพฯ : กรุงเทพธุรกิจ บิสบุ๊ก.

จักรพงค์ สอนอาจ. (2553). การศึกษาการวางแผนการใช้ชีวิตหลังเกษียณอายุของพนักงานการไฟฟ้า
ส่วนนครหลวง เขตบางเขน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์บัณฑิต (การจัดการ) กรุงเทพฯ :
มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เฉลิมศักดิ์ เปรื่องปรีชาศักดิ์. (2557). การผลิตนวัตกรรม : การลงทุนและการออม. สืบค้นเมื่อวันที่
26 กรกฎาคม 2557, จาก http://bankru9.com/Image%208/BUD2.10/1.ECO%202.101.doc.
ธงชัย สันติวงษ์. (2539). หลักการตลาด. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

ธิดารัตน์ อติชาตินันท์ และ แพรวพรรณ มังคลา. (2554). การวางแผนการเงินเพื่อเตรียมการเกษียณอายุของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์บัณฑิต (การจัดการ) กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
บุญชม ศรีสะอาด. (2542). การพัฒนาหลักสูตรและการวิจัยเกี่ยวกับหลักสูตร. กรุงเทพฯ :

สำนักพิมพ์สุวียาสาน์น.
ปรีชา กิจโมกข์. (2557). Personal Risk ความเสี่ยงที่มาพร้อมชีวิต สืบค้นเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2557
จาก http://www.tsi-thailand.org/images/stories/TSI2009_Investor/Article/TSI-Ariticle_RiskMgt_014.pdf .

พัชราภา มนูญ. (2544). การเตรียมการก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุของประชากรในชุมชนขนาดใหญ่พื้นที่
เขตบางซื่อ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ และคณะ. (2547). ระเบียบวิธีการวิจัย. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดีการพิมพ์.

วันชัย แก้วสุมาลี. (2552). ความเชื่อ ทัศนคติ และพฤติกรรมการเตรียมตัวก่อนการเกษียณอายุการทำงาน ของบุคคลทำงานวัยผู้ใหญ่ในเขตกรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต
(จิตวิทยาพัฒนาการ) บัณฑิตวิทยาลัย, กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬา. (2550). ข้อมูลสถิติประชากร. กรุงเทพฯ : ศูนย์สารสนเทศทาง ประชากรศาสตร์. วิทยาลัยประชากรศาสตร์, กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุขใจ น้าผุด. (2545). กลยุทธ์การบริหารการเงินบุคคล. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2551). บำเหน็จบำนาญ. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2558
จาก www.cgd.go.th/impor/พ.ร.บ. ข้าราชการพลเรือน.pdf.

อัมพร เฉลิมฉัตร์. (2542). การเตรียมตัวสำหรับชีวิตหลังเกษียณอายุราชการ : กรณีศึกษาจากข้าราชการครู บำนาญในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ปริญญานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต (จิตวิทยาพัฒนาการ)
บัณฑิตวิทยาลัย, กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-05-2018

How to Cite