ความพึงพอใจของผู้ต้องขังชายที่มีต่อการจัดสวัสดิการ ด้านการพัฒนาจิตใจของกรมราชทัณฑ์ศึกษาเฉพาะกรณีเรือนจำกลางเขาบิน จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • Siripen Junniyom

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้ต้องขังชายที่มีต่อการจัดสวัสดิการด้านการพัฒนาจิตใจของกรมราชทัณฑ์ ศึกษาเฉพาะกรณีเรือนจำกลางเขาบิน จังหวัดราชบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ในการวิจัย ได้แก่ ผู้ต้องขังชายแดน 5 ในรือนจำกลางเขาบิน จังหวัดราชบุรี จำนวน 279 คน โดยวิธีการสุ่มอย่างมีระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ต้องขังชาย ต่อการจัดสวัสดิการด้านการพัฒนาจิตใจของ เรือนจำกลางเขาบิน จังหวัดราชบุรี เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ โดยแบ่งออกเป็น 3 ด้าน ประกอบด้วย ด้านความเสมอภาคและเท่าเทียม ด้านปริมาณและคุณภาพที่เพียงพอ และด้านความสอดคล้องกับความต้องการของผู้ต้องขัง และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

            ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นผู้ต้องขังชายส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 36 – 45 ปี คิดเป็นร้อยละ 37.30 มีระดับการศึกษาสูงสุด คือ ประถมศึกษา คิดเป็นร้อยละ 36.60 ซึ่งก่อนต้องโทษส่วนใหญ่ มีอาชีพรับจ้างทั่วไป คิดเป็นร้อยละ 44.10 โดยมีรายได้ประมาณ 4,000 บาทและต่ำกว่า คิดเป็นร้อยละ 35.10  สถานภาพส่วนใหญ่สมรสแล้ว คิดเป็นร้อยละ 60.60 ซึ่งมีกำหนดโทษจำคุกตลอดชีวิต คิดเป็นร้อยละ 59.10

            ความพึงพอใจของผู้ต้องขังชายที่มีต่อการจัดสวัสดิการด้านการพัฒนาจิตใจ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.86 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ทุกด้านมีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลางเช่นกัน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านปริมาณและคุณภาพที่เพียงพอ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.16 รองลงมา คือ ด้านความเสมอภาคและเท่าเทียม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.08 และด้านความสอดคล้องกับความต้องการของผู้ต้องขัง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.84 ตามลำดับ

References

กรมราชทัณฑ์. (2545). แผนทิศทางกรมราชทัณฑ์ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2546-2550) " เปิดเรือนจำสู่สังคม" DEPARTME4NT OF CORRECTIONS, กรุงเทพฯ : กระทรวงยุติธรรม.

__________. (2546). กระบวนทัศน์ใหม่ของกระบวนการยุติธรรมในการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิด.
กรุงเทพฯ : กระทรวงยุติธรรม.

จันทร์แจ่ม สถานานนท์. (2544). โครงการฝึกอบรมจิตตภาวนา. กรุงเทพมหานคร : กรมราชทัณฑ์.

นัทธี จิตสว่าง. (2547). โปรแกรมแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิด. กรุงเทพมหานคร : กรมราชทัณฑ์.

เรือนจำกลางเขาบิน. (2553). พันธกิจ. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กรกฏาคม 2553,
จาก http://www.correct.go.th/tdcratc/ob.html

สุมาลี ประเสริฐประศาสน์. (2542). สวัสดิการและการสงเคราะห์ผู้ต้องขัง. กรุงเทพฯ: สำนักพัฒนาพฤตินิสัย กรมราชทัณฑ์.

สุวิทย์ชัย คำโทน. (2547). การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและบุคลิกภาพของผู้ต้องขังที่เข้าร่วมโครงการ ฝึกอบรมจิตตภาวนา : ศึกษาเฉพาะกรณีเรือนจำกลางคลองเปรม.วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร
มหาบัณฑิตสาขาบริหารงานยุติธรรม คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Millet, John D. (1954). Management in the Public Service. New York : McGraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-05-2018

How to Cite