รูปแบบการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา ในโรงเรียนขนาดเล็กในเขตพื้นที่พิเศษภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • Chairin Chaiwisit
  • Anurak Panyanuwat
  • Choocheep Poothaprasert
  • Prapan Thumachai

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็กในเขตพื้นที่พิเศษภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย  มี 3 ระยะ ๆ ละ 2 ขั้นตอน รวม 6 ขั้นตอน ดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาปัจจัยที่สนับสนุนการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็กในเขตพื้นที่พิเศษภาคเหนือตอนของประเทศไทย โดยใช้แบบสอบถามในการศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 60 คนและเข้าศึกษาดูงานในสถานศึกษา จำนวน 2 โรงเรียนโดยใช้แบบสัมภาษณ์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล  ระยะที่  2 สร้างรูปแบบโดยนำปัจจัยที่ได้มากำหนดเป็นองค์ประกอบของรูปแบบ ร่างคู่มือการใช้รูปแบบ  ตรวจสอบความสอดคล้อง ความเหมาะสม ความยืดหยุ่นและความเป็นไปได้  โดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน มีค่า IOC ระหว่าง 0.60-1.00  และทดลองใช้รูปแบบ จำนวน 3 แห่ง  ระยะที่  3  ประเมินผลการใช้รูปแบบและปรับปรุงรูปแบบโดยใช้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 15 คน  ผลการวิจัย พบว่า

  1. ปัจจัยที่สนับสนุนการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กในเขตพื้นที่พิเศษภาคเหนือตอนของประเทศไทย ได้แก่ 1) การเป็นผู้นำทางวิชาการ 2)การบริหารบริบทสถานศึกษา  3)การจัดหางบประมาณ 4) การบูรณาการการเรียนการสอน
  2. รูปแบบการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็กในเขตพื้นที่พิเศษภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลักได้แก่ 1)กลยุทธ์  2)มาตรการ  3)วิธีการ 4)เครื่องมือ   และ 16 องค์ประกอบรอง ได้แก่ 1) สร้างความตระหนักในบทบาทหน้าที่ 2)มีการศึกษาเยี่ยมชม  3)ระดมความคิดพัฒนา  4) สรรหาความเข้มแข็งทางวิชาการ 5) ศึกษาหาความรู้ 6) ดูงานสถานศึกษา  7) ปรึกษาหารือ 8) ร่วมมือการทำงาน 9) SWOT 10) Best practices 11) Meeting 12)P-D-C-A  13) แบบวิเคราะห์ตนเอง 14) แบบบันทึกศึกษาดูงาน 15) บันทึกการประชุม 16) แผนปฏิบัติการ
  3. ผลการทดลองใช้รูปแบบ พบว่า เมื่อผู้บริหารสถานศึกษา ได้ดำเนินตามขั้นตอนในรูปแบบอย่างครอบคลุม มีผลการพัฒนา 4 ดังนี้ 1)สมรรถนะของผู้บริหาร มีศักยภาพเพิ่มมากขึ้น มีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเป็นที่ยอมรับของครูและชุมชนในระดับมากที่สุด  2) ความพร้อมของสถานศึกษา มีการปรับสภาพแวดล้อมให้สอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอน ในระดับมากที่สุด  3)การระดมทุนทรัพย์ ผู้ปกครองนักเรียนให้การสนับสนุนและองค์กรท้องถิ่นให้การสนับสนุนทุนทรัพย์และงบประมาณในการพัฒนาสถานศึกษา ในระดับมากที่สุด  4)แผนการเรียนรู้แบบบูรณาการ  ครูผู้สอนมีการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการในเนื้อหาสาระและนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ในระดับมากผล

References

ระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ.
2550. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 124 ตอนที่ 24 ก หน้า 29-36 ลงวันที่ 16 พฤษภาคม 2550

กมล ภู่ประเสริฐ. (2545). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ :
เมธีทิปส์.

เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 . สำนักงาน (2554). รายงานการประชุม
คณะกรรมการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ พ.ศ. 2554-2557. เชียงราย:สำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2.
. (2555). ข้อมูลสารสนเทศ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2
เชียงราย:สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2.

เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 . สำนักงาน (2555). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา
ประสิทธิภาพโรงรียนขนาดเล็กที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่พิเศษ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 พ.ศ.2555-2557 . เชียงราย:สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาเชียงราย เขต 2.

สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา, กระทรวงศึกษาธิการ.(2550). รายงานการ
ประเมินผลโครงการพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจ.
กรุงเทพฯ:สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักงาน. (2550).แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและ
การจัดการศึกษาให้คณะกรรมการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ตามกฏ
กระทรวง. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.
. (2556).แนวทางการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ :
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

ปางมะกาดวิทยา,โรงเรียน.(2557). รายงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษาประจำปีการศึกษา 2557.
เชียงราย: โรงเรียนปางมะกาดวิทยา.

บ้านขุนลาว,โรงเรียน.(2557). รายงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษาประจำปีการศึกษา 2557.
เชียงราย: โรงเรียนบ้านขุนลาว.

บ้านทุ่งยาว,โรงเรียน.(2557). รายงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษาประจำปีการศึกษา 2557.
เชียงราย: โรงเรียนบ้านทุ่งยาว.

รังสรรค์ มณีเล็ก. แนวทางการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก. <http://www.obec.go.th/new /
show_news.php?article_id=3321 >

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-05-2018

How to Cite