รูปแบบที่เหมาะสมในการกำกับดูแลมหาวิทยาลัยของสภามหาวิทยาลัยราชภัฏ
บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและความคาดหวังที่ควรจะเป็นในการกำกับดูแลมหาวิทยาลัยของสภามหาวิทยาลัยราชภัฏ 2) พัฒนารูปแบบที่เหมาะสมในการกำกับดูแลมหาวิทยาลัยของสภามหาวิทยาลัยราชภัฏ และ 3) ทดสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการกำกับดูแลมหาวิทยาลัยของสภามหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาสภาพปัจจุบันและความคาดหวัง เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัย และผู้บริหารมหาวิทยาลัยตั้งแต่ระดับหัวหน้าหัวหน้าภาควิชาขึ้นไป ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ จำนวน 8 แห่ง 160 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้พัฒนารูปแบบเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญด้านการอุดมศึกษาและมีส่วนเกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏ จำนวน 11 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เพื่อจัดลำดับความสำคัญด้วยวิธี Priority Needs Index (PNI) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปวิเคราะห์ข้อมูล นำเสนอในรูปตารางประกอบคำบรรยาย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จากการสัมภาษณ์ และการวิเคราะห์เอกสารโดยใช้การพรรณนาวิเคราะห์เชื่อมโยง จัดหมวดหมู่ ตรวจสอบข้อมูลและหาข้อสรุปโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพอสรุปได้ดังนี้
- สภาพปัจจุบันและความคาดหวังที่ควรจะเป็นในการกำกับดูแลมหาวิทยาลัยของสภามหาวิทยาลัยราชภัฏ พบว่า ความคิดเห็นของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการกำกับดูแลมหาวิทยาลัยของสภามหาวิทยาลัยราชภัฏ มีความคาดหวังสูงกว่าจากสภาพปัจจุบันในระดับมากที่สุดทุกด้าน
- การพัฒนารูปแบบที่เหมาะสมในการกำกับดูแลมหาวิทยาลัยของสภามหาวิทยาลัย
ราชภัฏ พบว่า ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ ตามเกณฑ์วัดความเหมาะสมที่กำหนดขึ้น 6 ประการ อยู่ในระดับมากที่สุด ทุกรายการ และคุณภาพของคู่มือการใช้รูปแบบอยู่ในระดับมากที่สุด ทำให้ได้รูปแบบที่เหมาะสมในการกำกับดูแลมหาวิทยาลัยของสภามหาวิทยาลัยราชภัฏที่มีองค์ประกอบ 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) บทบาทและหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัย 2) องค์ประกอบและวิธีการได้มาซึ่งนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัย 3) ปัจจัยเกื้อหนุนการกำกับดูแลมหาวิทยาลัย 4) การดำเนินงานกิจการสภามหาวิทยาลัย 5) การเสริมสร้างความเข้มแข็งและพัฒนาสมรรถนะกรรมการสภามหาวิทยาลัย และ 6) การประเมินสภามหาวิทยาลัย - ผลการทดสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการกำกับดูแลมหาวิทยาลัยของสภามหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และการยอมรับจากผู้เชี่ยวชาญด้านการอุดมศึกษาซึ่งมีความคิดเห็นสอดคล้องกัน พบว่า รูปแบบที่เหมาะสมในการกำกับดูแลมหาวิทยาลัยของสภามหาวิทยาลัยราชภัฏที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมและเป็นไปได้ในระดับมากถึงมากที่สุดในทุกด้านและในทุกองค์ประกอบ
References
จดหมายข่าวธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย สถาบันคลังสมองของชาติ, 4(2), 4-5.
กิตติชัย วัฒนานิกร. (2558ก). “การทำหน้าที่ของกรรมการสภามหาวิทยาลัย”.
จดหมายข่าวธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย สถาบันคลังสมองของชาติ, 6(1), 21-22.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ (2554). “บทบาทหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัยที่เกี่ยวข้องกับแผนยุทธศาสตร์”. จดหมายข่าวธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย สถาบันคลังสมองของชาติ, 3(4), 7-8.
เกษม วัฒนชัย (2553ก). “การนำหลักการของธรรมาภิบาลมาใช้ในมหาวิทยาลัย”.
จดหมายข่าวธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย สถาบันคลังสมองของชาติ, 2(2), 4-6.
เกษม สุวรรณกุล. (2552ก). “การดำเนินงานของมหาวิทยาลัยที่สภามหาวิทยาลัยควรให้ความสำคัญเป็นลำดับต้นๆ”. จดหมายข่าวธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย สถาบันคลังสมองของชาติ, 1(2), 5
เกษม สุวรรณกุล. (2552ข). “ข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในมหาวิทยาลัย”. จดหมายข่าวธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย สถาบันคลังสมองของชาติ, 1(2), 5
จรัส สุวรรณเวลา. (2552). “การส่งเสริมธรรมาภิบาลในการกำกับดูแลมหาวิทยาลัย”.
จดหมายข่าวธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย สถาบันคลังสมองของชาติ, 1(3), 4.
จอมจิน จันทรสกุล (2554ก). “การนำธรรมาภิบาลมาใช้ในการดำเนินงานของสภามหาวิทยาลัย”. จดหมายข่าวธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย สถาบันคลังสมองของชาติ, 3(2), 5.
ฉลาด จันทรสมบัติ. (2550). การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้องค์กรชุมชน. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เทียนฉาย กีระนันทน์. (2553). “การกำกับดูแลมหาวิทยาลัย”. จดหมายข่าวธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย สถาบันคลังสมองของชาติ, 2(3), 17-18.
บุญชม ศรีสะอาด. (ม.ป.ป.). “การพัฒนาการวิจัยโดยใช้รูปแบบ” ไฟล์ข้อมูลhttp://www.watpon.com/boonchom/development.pdf 9 กรกฎาคม 2557
เปรื่อง กิจรัตน์ภร. (2554). “สภาสถาบันและผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา”. จดหมายข่าวธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย สถาบันคลังสมองของชาติ, 3(3), 15-16.
พจน์ สะเพียรชัย. (2555ก). “แนวทางที่ดีในการดำเนินงานของสภามหาวิทยาลัย”. จดหมายข่าว
ธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย สถาบันคลังสมองของชาติ, 4(3), 5.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2554). “การปฏิรูปอุดมศึกษาในปัจจุบัน”. จดหมายข่าวธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย สถาบันคลังสมองของชาติ, 3(2), 18–19.
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2557). “มหาวิทยาลัยราชภัฏ” เว็บไซต์ http://th.wikipedia.org/wiki/ 7 พฤศจิกายน 2557
วิจารณ์ พานิช. (2553ก). กลไกการกำกับดูแลสถาบันอุดมศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สถาบันคลังสมองของชาติ.
วิจิตร ศรีสอ้าน. (2554ข). “อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของสภามหาวิทยาลัย”. จดหมายข่าว
ธรรมภิบาลมหาวิทยาลัย สถาบันคลังสมองของชาติ, 3(1), 9–10.
ศักดิ์ทิพย์ ไกรฤกษ์ (2554ค). “แนวความคิดการส่งเสริมธรรมาภิบาลในการกำกับดูแลมหาวิทยาลัย”. จดหมายข่าวธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย สถาบันคลังสมองของชาติ, 3(4), 4.
สถาบันคลังสมองของชาติ. (2552ง). “บทบรรณาธิการ”. จดหมายข่าวธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย สถาบันคลังสมองของชาติ, 1(1), 2.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2551). กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปีฉบับที่ 2
(พ.ศ. 2551–2565). กรุงเทพฯ: แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุเมธ ตันติเวชกุล (2552). “การนำธรรมาภิบาลมาใช้ในการดำเนินงานของสภามหาวิทยาลัย”. จดหมายข่าวธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย สถาบันคลังสมองของชาติ, 1(4), 4.
สุรพล ศรีบุญทรง. (2553). “สภาสถาบันและผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา”. จดหมายข่าวธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย สถาบันคลังสมองของชาติ, 2(3), 15.
สุรสีห์ วัฒนวิกย์กิจ. (2554). “การกำกับดูแลสถาบันการอุดมศึกษา”. จดหมายข่าวธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย สถาบันคลังสมองของชาติ, 3(1), 11.
Eisner E.W. (1976). Educational connoisseurship and criticism : Their form and functions in Educatonal Eavluation. Journal of Aesthetic Educational 65, 7(January): 2669-A.
Emeritus, Ingrid Moses. (2007). “Global Trends in University Governance International Workshop on University Governance” เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการนานาชาติ เรื่องการกำกับดูแลมหาวิทยาลัย ณ โรงแรมสยามซิตี้กรุงเทพฯ วันที่ 22-23 มิถุนายน 2550.
Keeves, John P. (1988). Educational Research, Methodology, and Measurement: An International Handbook. Oxford: Pergamon Press.