การพัฒนาระบบข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการตรวจสอบ นิเทศ ติดตาม และประเมินผลการเรียนรู้ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพ ปัญหา และความต้องการใช้ระบบข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศฯ (2) ศึกษาองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศฯ (3) พัฒนาระบบข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศฯ และ (4) ศึกษาผลการใช้ระบบข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการตรวจสอบ นิเทศ ติดตาม และประเมินผลการเรียนรู้ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน วิธีดำเนินการวิจัย ใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนาการศึกษาตามวงจรของวอลเตอร์ อาร์ บอร์ก (Walter R. Borg, 1965) ซึ่งมีขั้นตอนการดำเนินการ 10 ขั้นตอน ประชากรที่ศึกษาคือผู้บริหาร ครูผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษาที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สุ่มกลุ่มตัวอย่างหรือเลือกตัวอย่างจำแนกตามขั้นตอนในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาระบบฯ ได้แก่ ฐานข้อมูล (Database) ภาษาวิชวลเบสิก 6 (Visual Basic 6) สำหรับพัฒนาโปรแกรมประยุกต์และภาษาพีเฮทพี (PHP) สำหรับพัฒนาเว็บไซต์สารสนเทศ และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยแบบสอบถาม แบบบันทึก แบบตรวจสอบรายการ แบบสอบสัมภาษณ์ แบบประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของระบบฯ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและสัมประสิทธิ์การกระจาย ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
- 1. ผลการศึกษาสภาพปัญหา และความต้องการใช้ระบบข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศฯ
1.1 ผลการศึกษาระดับปัญหาด้านระบบข้อมูลสารสนเทศฯ พบว่าในภาพรวมปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง จำแนกออกเป็น 3 ด้านคือ ปัญหาด้านฮาร์ดแวร์ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ปัญหาซอฟท์แวร์ภาพรวมอยู่ในระดับมาก และปัญหาด้านพีเพิลแวร์ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง
1.2 ผลการศึกษาความต้องการด้านระบบข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศฯ พบว่า ภาพรวมความต้องการทั้ง 3 ด้านคือด้านฮาร์ดแวร์ ด้านซอฟท์แวร์ และด้านพีเพิลแวร์อยู่ในระดับมาก
- 2. ผลการศึกษาองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบ ฯ พบว่าหลักการจัดทำระบบข้อมูลและสารสนเทศในสถานศึกษา ต้องประกอบด้วย 1) การจัดทำฐานข้อมูลของสถานศึกษา (Database) เพื่อเก็บข้อมูลและสารสนเทศทุกอย่างของสถานศึกษา 2) การจัดทำเครือข่ายคอมพิวเตอร์(Computer Network) เพื่อให้แต่ละหน่วยงานในสถานศึกษาทำงาน แลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารร่วมกัน 3) การทำงานร่วมกันของครูผู้สอนในการบันทึกข้อมูลและผลการประเมินผู้เรียน ฝ่ายวิชาการในการจัดวิชาให้ครูสอนและลงทะเบียนเรียน และฝ่ายทะเบียนในการบันทึกข้อมูลผู้เรียน ประมวลผลและจัดทำเอกสารหลักฐานทางการศึกษา เพื่อให้ได้สารสนเทศในการตรวจสอบ นิเทศ ติดตาม และประเมินผลการเรียนรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
- 3. ผลการพัฒนาระบบข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศฯ ผู้วิจัยดำเนินการพัฒนาระบบฯ ตามขั้นตอนของการวิจัยและพัฒนา 10 ขั้นตอน ทำให้ได้ระบบฯ โดยสรุปดังนี้
3.1) ฐานข้อมูล (Database) เพื่อใช้ในการจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศ ต่างๆ ในสถานศึกษา โดยในฐานข้อมูลประกอบด้วยตาราง (Table) ที่สำคัญได้แก่ ตารางเก็บข้อมูลนักเรียน ตารางเก็บข้อมูลครูและบุคลากรในสถานศึกษา ข้อมูลรายวิชาเรียน จำแนกฐานข้อมูลตามลักษณะการใช้งาน 2 ระบบคือฐานข้อมูล Access สำหรับระบบการทำงานอิสระใช้กับโรงเรียนขนาดเล็กและขนาดกลาง และฐานข้อมูล SQL Server สำหรับการทำงานในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์รองรับข้อมูลขนาดใหญ่ใช้กับโรงเรียนขนาดใหญ่และโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ
3.2) โปรแกรมประยุกต์เพื่อใช้ในการบันทึกข้อมูล ประมวลผลข้อมูล และผลิตสารสนเทศตามความต้องการของผู้ใช้งานและสถานศึกษา ประกอบด้วย โปรแกรมงานด้านการวัดและประเมินผล โปรแกรมงานวิชาการ โปรแกรมงานทะเบียน เว็บไซต์นำเสนอข้อมูลและสารสนเทศ และคู่มือการใช้โปรแกรมระบบข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศฯ
3.3) สารสนเทศเพื่อใช้ในการตรวจสอบ นิเทศ ติดตาม และประเมินผลการเรียนรู้ จำแนกตามงานในสถานศึกษา ประกอบด้วย งานวัดและประเมินผลการเรียนรู้ งานวิชาการ งานทะเบียน และอื่นๆ - การศึกษาผลการใช้ระบบฯ พบว่า 1) ค่าเฉลี่ยรวมด้านประสิทธิภาพของระบบฯ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.75) 2) ประสิทธิผลของระบบฯอยู่ในระดับมากที่สุด( = 4.60) เช่นกัน 3) ผลการนำระบบฯ ไปใช้ในเพื่อการตรวจสอบ นิเทศ ติดตาม และประเมินผลการเรียนรู้ พบว่า ผู้ใช้งาน ต้องบันทึกข้อมูลเข้าสู่ระบบ แล้วโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมา จะดำเนินการประมวลผลข้อมูล ทำให้เกิดสารสนเทศเพื่อใช้ในการตรวจสอบ นิเทศ ติดตาม และประเมินผลการเรียนรู้ ทั้งในงานด้านการวัดและประเมินผล งานวิชาการ และงานทะเบียน
References
กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
ชัยพจน์ รักงาม. (2549). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา
ในระดับเขตพื้นที่ การศึกษา. วิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.
นิตยา ภัสสรศิริ และกัญญา ปุโรทกานนท์. (2548). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร
โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร.
พัชรินทร์ แซ่แฮ. (2544). การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับวิเคราะห์อภิมานตามแนวคิดของกลาส. ครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2549). ผลการติดตามและประเมินการดำเนินงานปฏิรูปการศึกษา.
กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
ไอลดา คล้ายสำริด. (2551). การพัฒนาระบบงานประเมินผลระดับสถานศึกษา
กรณีศึกษาโรงเรียนวัดอัยยิการาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 2.
วิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิต สาขาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Borg, Walter R. and Gall, Meredith D. (1983). Educational research. (4th ed).
New York : Longman , Inc .
Brian K. Williams and Stacey Sawyer.(2010). Using Information Technology 9e Complete Edition :
A Practical Introduction to Computer & Communication. Amazon Digital Publishing.