ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3

ผู้แต่ง

  • Wanna Jaengsawang

คำสำคัญ:

แอนิเมชัน 2 มิติ ; คุณธรรมจริยธรรม ; ศีล ๕

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3  กลุ่มตัวอย่างการวิจัยในครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  จากโรงเรียนขนาดเล็ก  ขนาดกลาง  และขนาดใหญ่  จำนวน  327  คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ  แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่  การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน  และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน 

ผลการวิจัยพบว่า  ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .01  มี  4  ปัจจัย  โดยเรียงลำดับจากปัจจัยที่ส่งผลมากที่สุดไปหาปัจจัยที่ส่งผลน้อยที่สุด  ได้แก่  อิทธิพลของพ่อแม่ / ผู้ปกครอง  สัมพันธภาพระหว่างผู้บริหาร ครู และนักเรียน  แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์  และสภาพแวดล้อมด้านกายภาพในโรงเรียน และอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05  มี  1  ปัจจัย  ได้แก่  การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ซึ่งปัจจัยทั้ง 5 ปัจจัยนี้สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวน ได้ร้อยละ  74.40

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). แนวทางการนิเทศเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.
กอปรทิพย์ พร้อมเพรียง. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับตัวของนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 โรงเรียนบ้านค่าย อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

ชลธิชา สุวรรณสา, มัลลิกา เพาะเจริญ และ อนุชา สมรภูมิ. (2550). การศึกษาพฤติกรรมตาม
แนวเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการแนะแนว มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ปรียานุช พิบูลสราวุธ. (2550). การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์
ประสานงานกลางการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

พรรณี ชูทัยเจนจิต. (2545). จิตวิทยาการเรียนการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: เสริมสินพรี
เพรสซิสเท็ม.

พระเชวง โสภาจร. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อทัศนคติต่อการอบรมจริยธรรม ของนักเรียนช่วงชั้น
ที่ 2 โรงเรียนอุดมศึกษา เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

พัชราภา เกตวัลห์. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความรับผิดชอบในการทำงานของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนมัธยมบ้านบางกะปิ เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

ภาวิณี โสธายะเพ็ชร. (2549). การศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริมคุณธรรมเกี่ยวกับความมีระเบียบวินัยและ
ความรับผิดชอบให้กับนักเรียนประถมศึกษาโรงเรียนในเครือเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พัชรินทร์ รุจิรากูล. (2551). การปลูกฝังคุณธรรมนำความรู้ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่
นักเรียนระดับขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิชาญ กาญจนพัฒน์. (2550). สภาพแวดล้อมที่พึงประสงค์ตามความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องของ
โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.

ศรุดา โตษยานนท์. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับตัวกับเพื่อนของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 โรงเรียน
เซนต์ดอมินิก เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). แนวทางการประกันคุณภาพภายใน
สถานศึกษาเพื่อพร้อมรับการประเมินภายนอก. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2551). นานาคำถาม
เกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: กลุ่มงานเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ.

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2545). จิตวิทยาการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3).กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.

Astin, A.W. (1968). The Methodology of Research on College Impact: Part II. Sociology of
Education, 43, 437-450.

Cogan, Morris L. (1975). Studies of Teacher Behavior. The Journal of Experimental
Education, 12(2), 135-139

Cronbach, Lee J. (1970). Essential of Psychological Testing. New York : Harper and Row.

Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). “Detemining Sample Size for Research Activities”.

Educational and Psychological Measurement. New York: Mc Graw-Hill.

Nawill, G.J. (1994). Factors of School Environment Impacting on Learning and student
Behaviors. New Jersey: Pentice-Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-05-2018

How to Cite