การพัฒนาสมรรถนะการสอนคิดอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้แนวทางการเรียนรู้ร่วม และการวิจัยเชิงปฏิบัติการของครูในโรงเรียนเอกชนขนาดใหญ่

ผู้แต่ง

  • Dusit Phromchana

คำสำคัญ:

The Development to Develop Classroom Research

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับการเรียนรู้ร่วมของครูผู้สอนในด้านความสามารถในการวิเคราะห์เนื้อหาสาระที่เอื้อต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณ การวางแผนการจัดการเรียนการสอน การนำแผนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นไปใช้ และด้านพฤติกรรมการคิดอย่างมีวิจารณญาณที่พัฒนาขึ้นของนักเรียน 2) เพื่อวิเคราะห์ ปัญหา อุปสรรค และการแก้ไขการจัดการเรียนการสอนคิดอย่างมีวิจารณญาณของครู กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และภาษาอังกฤษ ในระดับชั้นมัธยมศึกษา     ปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 15 คนได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงครูที่สอนอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และนักเรียน 119 คน ซึ่งเป็นห้องเรียนที่ครูทั้ง 5 กลุ่มสาระจัดการเรียนการสอนอยู่ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ 5 คน เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ คู่มือส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการคิดอย่างมีวิจารณญาณ  แบบสอบถามความสอดคล้องเนื้อหาสาระที่เอื้อต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณ แบบประเมินแผนการจัดการเรียนการสอนที่เอื้อต่อการสอนคิดอย่างมีวิจารณญาณ แบบสังเกตการจัดการเรียนการสอน แบบสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน และแบบบันทึกผลการสะท้อนคิดของครูผู้สอน การวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยใช้การหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความถี่ ร้อยละ และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้

  1. ความสามารถของครูในการวิเคราะห์เนื้อหาสาระที่เอื้อต่อการสอนคิดอย่างมีวิจารณญาณ การวางแผนการจัดการเรียนการสอน และการนำแผนการจัดการเรียนการสอนที่ร่วมกันกำหนดขึ้นไปใช้ ในภาพรวมมีความเหมาะสมมาก ครูผู้สอน สามารถพิจารณารายละเอียด มาตรฐาน ตัวชี้วัด เนื้อหาสาระ กำหนดชิ้นงาน ที่สอดแทรกมาตรฐานการคิด คุณลักษณะที่เอื้อต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และสามารถนำแผนการเรียนการสอนที่ร่วมกันกำหนดขึ้นไปใช้ในการส่งเสริมให้นักเรียนได้ฝึกการคิด รวมถึงการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างสอนหรือปรับแผนให้สอดคล้องกับสภาพบริบทขณะสอน โดยพิจารณาอย่างไตร่ตรอง รอบคอบ และสมเหตุสมผล
  2.   2. พฤติกรรมในการคิดอย่างมีวิจารณญาณที่พัฒนาขึ้นของนักเรียน โดยภาพรวมมีการปฏิบัติมาก เมื่อพิจารณาพฤติกรรมการใช้แผนการเรียนการสอนครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3 พบว่า ค่าเฉลี่ยพฤติกรรมในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนสูงขึ้นตามลำดับ
  3. ปัญหาอุปสรรค และการแก้ไขเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนคิดอย่างมีวิจารณญาณของครูพบว่า ครูผู้สอนยังไม่ชัดเจนเกี่ยวกับมาตรฐานการคิดและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณ อีกทั้งความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ ตัดสินใจ และการแก้ปัญหาของครูผู้สอนแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ครูผู้สอนยังมุ่งเน้นการจัดกิจกรรมเนื้อหาสาระโดยที่การสอดแทรกคุณลักษณะที่เอื้อต่อการคิดยังมีไม่หลากหลาย ครูผู้สอนบางท่านขาดทักษะการจัดการชั้นเรียน การจัดให้มีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างครูผู้สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ ทำให้ครูผู้สอนความรู้ ความเข้าใจในการคิดประเภทต่าง ๆ ดีขึ้นและช่วยให้ครูผู้สอนสามารถกำหนดกิจกรรมได้สอดคล้องเหมาะสมกับมาตรฐานการคิด คุณลักษณะที่เอื้อต่อการคิดมากขึ้น การได้สะท้อนคิดเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การจัดการชั้นเรียน และเสนอแนะให้ฝ่ายวิชาการปรับตารางสอนของครูผู้สอนในกลุ่มสาระเดียวกันมีเวลาว่างตรงกันทุกสัปดาห์ทำให้ครูสามารถจัดการชั้นเรียนได้ดีขึ้น

References

กิตติพร ปัญญาภิโญผล. (2549). วิจัยปฏิบัติการ : แนวทางสำหรับครู. กรุงเทพฯ : นันทพันธ์พริ้นติ้ง.

เกรียงศักด์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2549). การคิดเชิงวิพากษ์.กรุงเทพฯ : ซัคเซส มีเดีย จำกัด.

กรุงเทพธุรกิจ. (2555). การเมือง : การศึกษา. เรื่อง เด็กไทยรั้งท้ายผลสอบ"PISA" นักวิชาการชี้ขาดคิดวิเคราะห์.
http://www.bangkokbiznews.com/h 28 สิงหาคม 2555 )

บัญชา แสนทวี. (2545). วิจัยในชั้นเรียน: จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : วัฒนาพานิช.

ผ่องพรรณ ตรัยมงคลกูล. (2553). การวิจัยในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วิจิตร์พร หล่อสุวรรณกุล. (2544). การพัฒนาหลักสูตรเสริมเพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
ในกระบวนการพยาบาล. วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต,สาขาวิชาวิจัยและพัฒนา
หลักสูตร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา .(2552). สรุปผลการดำเนินงาน 9 ปีของการปฏิรูปการศึกษา(พ.ศ.2542 -
2551).กรุงเทพฯ : วี.ที.วี. คอมมิวนิเคชั่น.

Anuradha, G. A. (1995). Collaborative Learning Enhances Critical Thinking. (Online). Available :
http://www.borg.lib.vt.edu/ejournals/JTE/jte-v7n1/gokhale.jte- v7n1.html (searched on 25 August 2009).

Bassey, M. (1986). “Does Action Research Require Sophisticated Research Methods”. p18-24. :
Action Research in Classroom and School. London : Allen & Unwin Publishers Ltd.

Case, B. (1994). A Critical-thinking Strategy for Decision Making. The Journal of Continuing
Education in Nursing . 25 (May/June), p101-107.

Dennis & Marry. (1990). Cooperative Learning : Critical Thinking and Collaboration Across the
Curriculum. Springfield : Charles C. Thomas.

Ennis. R.H (1990). The Extent to Which Critical Thinking in Subject-Specific: Furth Clarification.
Education Research. Janine, H. (1998 ). Understanding Thought Processes for Improved Teaching of
Thinking, The Learning Resource. (Online). Available: http:// www.fox.nstn.ca/huot/generic
(searched on 5 December 2010).

Johnson, R. T. and Johnson, D. W. (1986). “Action Research: Cooperative Learning in
the Science Classroom”. Science and Children, 24 : 31-32.

Myers, J.(1991). Cooperative Learning.(Online). Available http://www.city.londonmet.ac.uk/
(searched on 25 July 2010).

McTaggart. (1990). The Action Research Planner. Geelong : Deakin University Press.
McCutcheon & Jurg. (1990). “Alternative perspectives on action research”. Theory into Practice. 24 (3),
Summer, p148.

Norris, S.P. (1985). “Synthesis of Research on Critical Thinking”. Education Leadership, p 40-45.

Paul. (2006). Critical Thinking: Learn the Tools the Best Thinker Used. Ohio: Pearson Prentice Hall.

Watson & Glaser. (1964). Critical Thinking. (Online). Available: http//:www. Criticzl-reading.com/,htm
(searched on 18 October 2010).

Zuber-Skerritt. (1996). New Direction in Action Research. Bristol, PA : Falmer Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-05-2018

How to Cite