ปัจจัยที่ส่งผลต่อการประเมินคุณภาพภายนอก ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนสังกัดเทศบาล ในกลุ่มการศึกษาท้องถิ่นที่ 5

ผู้แต่ง

  • Srisuda Prakenree

คำสำคัญ:

การจัดการศึกษาแบบยึดพื้นที่เป็นฐาน, ทรัพยากรมนุษย์เชิงบูรณาการ, การจัดหลักสูตร

บทคัดย่อ

วิจัยนี้มีวัตถุประสงคเ์ พื่อ 1) ศึกษาระดับปจั จัยการดำเนินงานตามเกณฑก์ ารประเมินคุณภาพภายนอก
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนสังกัดเทศบาลในกลุ่มการศึกษาท้องถิ่นที่ 5 2) วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผล
ต่อการประเมินคุณภาพภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในกลุ่มการศึกษาท้องถิ่นที่ 5 การวิจัยนี้เป็น
วิทยาการวิจัยแบบผสม การวิจัยเชิงปริมาณเก็บรวบรวมข้อมูลกับครูผู้สอน และผู้บริหารสถานศึกษา 432 คน
เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานด้วยสถิติพรรณนาและวิเคราะห์แบบจำลองสมการ
โครงสรา้ ง ทดสอบสมมติฐานเสน้ ทางสัมพันธร์ ะหวา่ งตัวแปร ดว้ ยโปรแกรม AMOS 16 การวิจัยเชิงคุณภาพนั้น
สัมภาษณ์เชิงลึกด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างกับผู้ประเมินคุณภาพภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดเทศบาล และครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระรวม 15 คน แล้วทำการวิเคราะห์
เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยในการดำเนินงาน ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา การประเมินคุณภาพ
ภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน การจัดการเรียนรู้ของครู และการมีส่วนร่วมของชุมชน มีค่าเฉลี่ย
ระดับมากทุกตัวแปร การวิเคราะห์ปัจจัยด้วยแบบจำลองโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุนั้น มีค่าดัชนี
ความกลมกลืนอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่ดี และสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ คือการประเมินคุณภาพ
ภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนสังกัดเทศบาล ในกลุ่มการศึกษาท้องถิ่นที่ 5 จะมีคุณภาพ
เพิ่มสูงขึ้น เมื่อผู้บริหารสถานศึกษามีภาวะผู้นำที่ดี ครูจัดการเรียนรู้เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และชุมชน
มีส่วนร่วมพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษาเพิ่มขึ้น ผลวิจัยเชิงคุณภาพพบว่าสอดคล้องกัน คือผู้บริหาร
ส่งเสริมศักยภาพของครู ครูควรมีการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่นักเรียนมีส่วนร่วม ชุมชนมีส่วนร่วม
ประชุม สนับสนุนและพัฒนาสถานศึกษา ทำให้งานวิจัยมีความชัดเจนขึ้น

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2551). สถิติข้อมูลการศึกษาท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: อาสารักษาดินแดน.
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (ม.ป.ป.). การจัดการศึกษาท้องถิ่นตามที่กฎหมายกำหนด และ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สำนักประสานและพัฒนาการจัดการการศึกษา
ท้องถิ่น.
ชัชวาล หนองนา. (2550). การเปรียบเทียบสภาพปัจจุบันและปัญหาในการใช้ผลการประเมินคุณภาพ
ภายนอกเพื่อพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดขอนแก่น.

วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นครชัย ชาญอุไร. (2554). การพัฒนารูปแบบการใช้ผลการประเมินคุณภาพภายนอกเพื่อพัฒนา
คุณภาพโรงเรียนขนาดเล็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: การประยุกต์ใช้แนวคิดการวิจัยเพื่อ
พัฒนาองค์การ. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พาที เกศธนากร. (2553). การพัฒนาระบบการประเมินผู้บริหารมืออาชีพของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน.
วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัย
นเรศวร.

สถาบันทดสอบการศึกษาแห่งชาติ. (2551). ผลการทดสอบการศึกษาระดับชาติพื้นฐาน (O-NET)
ปีการศึกษา 2551 ระดับสถานศึกษา. กรุงเทพฯ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2543). ความเป็นเลิศทางการศึกษา: แนวนโยบายแห่งรัฐ
ของสหราชอาณาจักร. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2547). หลักเกณฑ์และวิธีการประเมิน
คุณภาพภายนอกของสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2553). คู่มือการประเมินคุณภาพภายนอก
รอบสาม. สมุทรปราการ: บริษัท ออฟเซ็ท พลัส จำกัด

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2554). คู่มือการประเมินคุณภาพภายนอก
รอบสาม (พ.ศ.2554-2558) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนาการ
ประกันคุณภาพการศึกษา สมศ.

สิทธิกร อ้วนศิริ. (2552). การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการประเมินคุณภาพ
ภายนอกของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา. เลย: สำนักงานพระพุทธศาสนา
จังหวัดเลย.

สุรศักดิ์ หลาบมาลา. (2549). คุณภาพของครูสู่คุณภาพแห่งการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: พันนี่พับบลิชชิ่ง.

อรจิรา ธรรมไชยางกูร. (2551). การศึกษาเปรียบเทียบกระบวนการประกันคุณภาพในสถานศึกษา
ระหว่างโรงเรียนที่ผ่านและไม่ผ่านการประเมินในรอบที่ 2: พหุกรณีศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.

อรณิชชา ทศตา. (2552). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตาม
ระบบการประเมินคุณภาพภายนอก. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัย
มหาสารคาม.

Atria, Joseph P. “The Effect of the Illinois Quality Assurance and Improvement Planning
Process on Chicago Public School Teacher Attitudes Toward School Improvement”
Dissertation Abstracts International. 60(20): 4254-A: June, 2000.

Harper, John Raymond. “The Rde of Teams in Quality Assurance and Improvement
Plaaning In Two Illinois Middle School UMP Pre Quest Digital,” Dissertion Abstracts
International. 61(1): 41; July, 2000.

Hoy, W.K., & C. G. Miskel. (2005). Educational Administration: Theory, Research, and
Practice. New York: McGraw-Hill.

Leithwood, K. & Jantzi, D. (2000), The effects of transformational leadership on organizational
conditions and student engagement with school. Journal of Educational Administration.
38(2), 112-119.

Preskill, H. and V. Caracelli. Current and Developing Conceptions of Use: Evaluation Use
TIG Survey Result. 2003. <http://web.l.epnet.com> November, 2006.

Winter D. & Yackel D.A. (2000). Novice instructors and student-centered instruction:
Understanding perception and responses to challenges of classroom authority.

BNET Research Center. Retrieved November 17. 2007 From http://findarticles.com/p/
articles/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-05-2018

How to Cite