ศึกษาการจัดการเรียนการสอนแบบทวิภาคีกับการเรียนรู้ตามคุณลักษณะ แรงงานระดับอาชีวศึกษาของสถาบันอาชีวศึกษาเอกชน ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความคิดเห็นของการจัดการเรียนการสอนแบบ
ทวิภาคีกับการเรียนรู้ตามคุณลักษณะแรงงานระดับอาชีวศึกษาของสถาบันอาชีวศึกษาเอกชนในจังหวัด
กรุงเทพมหานคร 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของอาจารย์กับครูฝึกของการจัดการเรียนการสอนแบบ
ทวิภาคีกับการเรียนรู้ตามคุณลักษณะแรงงานระดับอาชีวศึกษาของสถาบันอาชีวศึกษาเอกชนในจังหวัด
กรุงเทพมหานคร 3) ความสัมพันธร์ ะหวา่ งการจัดการเรียนการสอนแบบทวิภาคีกับการเรียนรูต้ ามคุณลักษณะ
แรงงานระดับอาชีวศึกษาของสถาบันอาชีวศึกษาเอกชนในจังหวัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการ
วิจัยจำนวน 328 คน เป็นอาจารย์สถาบันอาชีวศึกษาเอกชนในจังหวัดกรุงเทพมหานครที่มีการจัดหลักสูตร
ทวิภาคี จำนวน 278 คน ทำการสุ่มตัวอย่างวิธีการสุ่มอย่างง่าย และกลุ่มตัวอย่างครูฝึกจากสถานประกอบการ
คู่ทวิภาคี จำนวน 50 คน โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม
มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ และการทดสอบความสัมพันธ์ด้วยวิธีการของเพียร์สัน
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. ระดับความคิดเห็นของอาจารย์สถาบันอาชีวศึกษาศึกษาเอกชนที่มีการจัดหลักสูตรทวิภาคีและ
ครูฝึกสถานประกอบการเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนแบบทวิภาคีในภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อ
พิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านการจัดการเรียนการสอนมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือด้านการวัดผลและ
ประเมินผล ด้านการจัดหลักสูตร และด้านการนิเทศการศึกษามีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด และระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับ
การเรียนรู้ตามคุณลักษณะแรงงานระดับอาชีวศึกษาในภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน
พบว่าด้านพุทธิพิสัยมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือด้านจิตพิสัย และด้านทักษะพิสัยมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด
2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของอาจารย์ของสถาบันอาชีวศึกษาเอกชนและครูฝึกสถาน
ประกอบการที่มีระดับการสอนแตกต่างกัน มีระดับความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนการสอนแบบทวิภาคี
โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีระดับความคิดเห็นต่อการเรียนรู้
ตามคุณลักษณะแรงงานระดับอาชีวศึกษาโดยรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
3. ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการเรียนการสอนแบบทวิภาคีกับการเรียนรู้ตามคุณลักษณะแรงงาน
ระดับอาชีวศึกษา พบว่าการจัดการเรียนการสอนแบบทวิภาคีมีความสัมพันธ์กับการเรียนรู้ตามคุณลักษณะ
แรงงานระดับอาชีวศึกษาในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01
คำสำคัญ: การจัดการเรียนการสอนแบบทวิภาคี, การเรียนรู้ตามคุณลักษณะแรงงานระดับอาชีวศึกษา,
สถาบันอาชีวศึกษาเอกชนในจังหวัดกรุงเทพมหานคร
References
หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาเทคนิคการผลิตในนิคมอุตสาหกรรมจังหวัด
พระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ
เทพสตรี.
กิตติพศ เพชรสุทธิ์. (2553). “ทัศนะของสถานประกอบการต่อการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาทวิภาคี
ของวิทยาลัยการอาชีพตรัง”. เอกสารเผยแพร่การวิจัย. วิทยาลัยการอาชีพตรัง.
ธีระชัย จุฑาเทพ. (2546). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตร
วิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สายช่างอุตสาหกรรมตามความต้องการของสถานประกอบการในจังหวัด
สุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ
เทพสตรี.
พิมนศิลป์ ทัพนันตกุล. (2552). ศึกษาประสิทธิผลของการจัดอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถาน
ศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการ
บริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.
โรงเรียนพายัพเทคโนโลยีและบริหารธุรกิจ. (2553). “การศึกษาสมรรถนะของแรงงานอาชีวศึกษา
ที่ผู้ประกอบการต้องการ”. รายงานการวิจัย. ฝ่ายวิจัยและพัฒนา โรงเรียนพายัพเทคโนโลยีและ
บริหารธุรกิจ.
วิชัย กงพลนันท์. (2554). การพัฒนารูปแบบการจัดอาชีวศึกษาทวิภาคีของวิทยาลัยเทคนิคเชียงราย
สู่ความเป็นเลิศ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา.
วิสิทธิ์ งามเลิศชัย. (2552). “การดำเนินงานจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีโรงเรียนปัญญาภิวัฒน์
เทคโนธุรกิจ”. รายงานการวิจัย. ฝ่ายวิชาการ โรงเรียนปัญญาภิวัฒน์ เทคโนธุรกิจ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553). การศึกษาความต้องการกำลังคน เพื่อวางแผนการผลิต
และพัฒนากำลังคนของประเทศ. กรุงเทพฯ: สกศ. กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2551). วิสัยทัศน์ พันธกิจ สำนักงานคณะกรรมการ
การอาชีวศึกษา. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2554). รายงานการประเมินคุณภาพภายนอก
ประจำปีการศึกษา 2553. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ.
สิริ พวงสอน. (2545). ความคิดเห็นของครูฝึกในสถานประกอบการต่อการฝึกงานของนักศึกษา
สาขาวิชาช่างยนต์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารอาชีวศึกษา
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
สุธารี เปาวิมาน. (2545). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตร
วิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ ตามทัศนะของผู้บริหารสถานประกอบการ
ในจังหวัดลพบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัย
ราชภัฏเทพสตรี.